ชื่อเรื่อง : รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2
ชื่อผู้ศึกษา : พวงรัตน์ ขัดวาน
สถานศึกษา : โรงเรียนเทศบาลวัดไชยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์)
อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
ปีที่วิจัย : 2562
บทคัดย่อ
ในการศึกษารายงานผลการการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกด ไม่ตรงมาตรา
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มประชากรที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนเทศบาลวัดไทยชุมพล (ดำรงประชาสรรค์) อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ทั้งหมด จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราของผู้เรียนจากการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 20 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่ใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา E1 และ E2 เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนแต่ละคนด้วยค่าเฉลี่ยและร้อยละ การวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกด ไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
สรุปผลการศึกษา
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่สร้างขึ้นทั้ง 4 เล่ม ตามเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าได้ค่าเฉลี่ยของเกณฑ์มีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 87.10 : 85.74 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มีประสิทธิภาพเชื่อถือได้
2. ความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ของนักเรียนพบว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.32 แต่หลังจากที่นักเรียนได้ใช้แบบแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกด ไม่ตรงมาตรา ปรากฏว่านักเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.15 และคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เท่ากับ 6.82 คิดเป็นร้อยละ 34.12 และเมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราระหว่าง 2 ถึง 10 แสดงว่า แบบฝึกทักษะ การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีคุณภาพทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนจริงและแบบฝึกทักษะ การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิผลสามารถนำไปใช้ในการสอนได้ อย่างมีประสิทธิภาพทำให้นักเรียนมีความรู้และทักษะในการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยภาพรวมนักเรียนพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48