เรื่อง รายงานผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริม
ทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย นางสาวบัวสร วุฒิศักดิ์ชัยกุล
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ( R&D ) 4 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR
ขั้นสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรม เป็นการสร้างรูปแบบการจัดกิจกรรม และเครื่องมือประกอบ การใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR ได้แก่ 1.แผนการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย 2. สื่อผสม ประกอบด้วย เพลงประกอบภาพเคลื่อนไหวสำหรับเด็กปฐมวัย คำคล้องจอง เกม และหนังสือนิทานประกอบภาพ 3. แบบประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดสำหรับเด็กปฐมวัย 4.แบบสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย โดยการวิเคราะห์เอกสาร ผลงานวิจัย และประเมินคุณภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ ที่เป็นนักวิชาการทางการศึกษา จำนวน 2 ท่าน นักการศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 2 ท่าน ศึกษานิเทศก์ จำนวน 1 ท่าน และครูปฐมวัย จำนวน 2 ท่าน รวมทั้งหมด 7 ท่าน
ขั้นที่ 2. ขั้นปรับปรุงคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR
ขั้นปรับปรุงคุณภาพรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR โดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ( Action Research ) ผู้วิจัยนำรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR ที่ปรับปรุงแล้ว ไปทดลองใช้กับกลุ่มที่คล้ายกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 ห้องเรียน คือ เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหัวหมอน จำนวน 20 คน เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 โรงเรียนวัดกุฎีเตี้ย จำนวน 12 คน รวมจำนวน 32 คน ทดลองห้องเรียนละ 1 หน่วยการเรียน โดยแบ่งเป็น 2 วงจร ดังนี้
วงจรที่ 1 จัดกิจกรรมตามรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR กับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 โรงเรียนบ้านหัวหมอน เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 จำนวน 20 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก 1 หน่วยการเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรมในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ สังเกตและประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย
วงจรที่ 2 นำผลการปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR จากการทดลองใช้ระยะที่ 1 มาเป็นแนวทางในการเขียนแผนการจัดกิจกรรมกับเด็กกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มที่ 2 โรงเรียนวัดกุฎีเตี้ย เด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 2 จำนวน 12 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR กับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 1 หน่วยการเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรมในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ สังเกตและประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย
การศึกษานำร่อง ( Pilot study ) ผู้วิจัยดำเนินการอธิบายให้ครูปฐมวัย ที่เป็นโรงเรียนนำร่อง เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยทดลองจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR จำนวน 1 หน่วยการเรียน ดำเนินการจัดกิจกรรมในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ พร้อมกับสังเกตและประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ครูปฐมวัยประเมินการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย หลังการทดลอง ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย ผู้วิจัยนำผลที่ได้จากการประเมินทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย และผลจากการสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย มาใช้ปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR ให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำไปทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมต่อไป
ขั้นที่ 3 ขั้นทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR
ขั้นทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เป็นการทดลองใช้
รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย กับกลุ่มทดลอง คือ โรงเรียนบ้านดอนกลาง ( กิดารีศึกษาคาร ) เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 9 คน หญิง 9 คน รวม 18 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ส่วนกลุ่มควบคุม คือ โรงเรียนบ้านหัวหมอน เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 10 คน หญิง 10 คน รวม 20 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก โดยการวิจัยเชิงทดลอง แบบ Nonrandomized Control Group Pretest Possttes Design ( เกียรติสุดา ศรีสุข. 2548 : 23 ) เป็นเวลา 12 สัปดาห์ รวม 36 วัน วิเคราะห์ผลการทดลองด้วยสถิติ t-test for dependent และสถิติ one way ANOVA
ขั้นที่ 4 ขั้นขยายผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR
ขั้นขยายผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR จุดประสงค์ในการขยายผลของรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ดำเนินการโดย นำรูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ทดลองใช้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1. ครูปฐมวัยที่เป็นครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 2 จาก 6 โรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน ประกอบด้วย โรงเรียนขนาดใหญ่ 2 โรงเรียน ได้แก่ 1.โรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 18 คน หญิง 11 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 2.โรงเรียนอนุบาลตรัง จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 16 คน หญิง 14 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง โรงเรียนขนาดกลาง 2 โรงเรียน ได้แก่ 1. โรงเรียนภูห่านศึกษา จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 9 คน หญิง 8 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 2. โรงเรียนบ้านหนองแสลบ จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 17 คน หญิง 10 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 4 โรงเรียนขนาดเล็ก 2 โรงเรียน ได้แก่ 1. โรงเรียนวัดกุฎีเตี้ย จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 7 คน หญิง 5 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก 2. โรงเรียนอนุบาลเมืองนครนายก ( ศรีประชานุกูล ) จำนวนเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 ชาย 5 คน หญิง 5 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก รวมครูปฐมวัย จำนวน 6 คน และเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 รวมจำนวน 125 คน เด็กอนุบาลที่ได้รับเลือกให้เป็นกลุ่มขยายผล รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR ในครั้งนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับเด็กอนุบาลกลุ่มทดลอง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 หน่วยการเรียนรู้ ดำเนินการจัดกิจกรรมในวันจันทร์ พุธ และศุกร์ และวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นของครูปฐมวัย
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1.รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสม แบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟัง
และการพูดของเด็กปฐมวัย ที่สร้างและพัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 4 ขั้น ดังนี้
1.ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ ( Stimulus ) เป็นกระบวนการที่ส่งเสริม สนับสนุนด้วยกิจกรรม
ที่หลากหลาย โดยใช้กระบวนการ ออกมาเต้นเล่นแล้วฉลาด ผ่านการเคลื่อนไหวประกอบเพลง เกมและคำคล้องจอง
2.ขั้นกระบวนการสอน ( Teaching ) เป็นกระบวนการใช้นวัตกรรม เพิ่มพลังการเรียนรู้
ผ่านกิจกรรมนิทานพาเพลิน และกิจกรรมช่วยกันคิดช่วยกันตอบ
3. ขั้นปฏิบัติงานเพื่อฝึกทักษะ ( Active learning ) เป็นกระบวนการให้เด็กลงมือปฏิบัติ
ออกแบบชิ้นงาน แสดงความสามารถและทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการนำเสนองานร่วมกันทั้งครูและเด็ก ผ่านกิจกรรมภาษาพาสนุก กิจกรรมจินตนาการสร้างได้ และออกแบบชิ้นงานศิลปะสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมพาคิดชวนทำ
4. ขั้นตรวจสอบ ( Recheck ) เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประเมิน
ความสามารถของเด็กปฐมวัยจากการร่วมกิจกรรมและนำเสนอผลงาน
2.ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสม แบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า
2.1คะแนนเฉลี่ยทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ไม่แตกต่างกัน
2.2คะแนนเฉลี่ยทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม หลังการทดลอง ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
2.3คะแนนเฉลี่ยทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย กลุ่มทดลอง
ก่อนและหลังการทดลอง ใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริมทักษะ ทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.4 ครูปฐมวัยที่ทดลองใช้ รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR เพื่อส่งเสริม ทักษะทางภาษาด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัย พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมประกอบสื่อผสมแบบ STAR มีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด