ชื่อผลงาน การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนสังคมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย นายวินัย สว่างเรือง
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๑ (บุรวิทยาคาร)
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/2) พัฒนารูปแบบการสอนสังคมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3) ทดลองใช้รูปแบบการสอนสังคมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนสังคมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีขั้นตอนในการดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วิจัย (Research) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนา (Development) การพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 วิจัย (Research) การทดลองใช้รูปแบบ และขั้นตอนที่ 4 พัฒนา (Development) ประเมินผลรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลเมืองขลุง ๑ (บุรวิทยาคาร) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอนสังคมศึกษา แบบสัมภาษณ์นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบสัมภาษณ์เพื่อการทำ Focus group ของผู้เกี่ยวข้อง รูปแบบการสอนสังคมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนฯ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกขั้นตอนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนารูปแบบการสอนสังคมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6พบว่า รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ขั้นตอนการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนสังคมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า เมื่อนำรูปแบบการสอนฯ ไปใช้ทดลองกับนักเรียน จำนวน 30 คน ผลปรากฏว่า นักเรียนให้ความสนใจ กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม เสาะแสวงหาความรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกันภายในกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นรายบุคคล หลังการใช้รูปแบบนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ประเมินผลรูปแบบการสอนสังคมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ผลการประเมินพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนสังคมโดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามทฤษฎี
คอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก