ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยขบวนการกลุ่ม STAD ประกอบแบบฝึกทักษะเพื่อบูรณาการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางเอมอร ถิ่นจันดา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนหนองบัวปิยนิมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
ปีที่พิมพ์ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองบัวปิยนิมิตร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 15 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบตามสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้ามี 4 ชนิด คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ จำนวน 8 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 1 ฉบับ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบปรนัย 3 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 และแบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยปรากฏว่า
1. ปัญหาการสอนภาษาไทย ทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =2.84, S.D.=.64) เมื่อจำแนกตามรายด้านพบว่า ด้านที่มีระดับปัญหามากที่สุด ได้แก่ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ( =3.17,S.D.=.83) รองลงมา คือด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ( =2.79, S.D.=.60) และด้านที่มีระดับ ปัญหาน้อยที่สุดได้แก่ ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ ( = 2.70, S.D.=.73)
2. ประสิทธิภาพของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้เทคนิค STAD ประกอบแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 85.03/83.44 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 /80
3. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยขบวนการกลุ่ม STAD ประกอบแบบฝึกทักษะเพื่อบูรณาการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.6924 ซึ่งแสดงว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6924 หรือคิดเป็นร้อยละ 69.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 0.50 หรือร้อยละ 50
5. ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ ด้วยขบวนการกลุ่ม STAD ประกอบแบบฝึกทักษะเพื่อบูรณาการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.73 อยู่ในระดับ พึงพอใจมากที่สุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.23 แสดงว่านักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันค่อนข้างสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อนักเรียนมีความพึงพอใจในระดับ พึงพอใจมาก