ชื่อผลงาน การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนโดยใช้กลยุทธ์ BLUE MODEL
โรงเรียนวัดวารีวง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2561 - 2562
ชื่อผู้วิจัย นายสุวิทย์ ฤทธิ์เสนี
ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดวารีวง
ปีการศึกษา ปีการศึกษา 2561 -2562
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนโดยใช้กลยุทธ์ BLUE MODEL
โรงเรียนวัดวารีวง จังหวัดตรัง ปีการศึกษา 2561 - 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียน ของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์BLUE MODEL โรงเรียนวัดวารีวง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 2 ) เพื่อศึกษาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียน ของนักเรียนโรงเรียนวัดวารีวง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 3 ) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียน โรงเรียนวัดวารีวงหลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 4. ) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียน ของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ BLUE MODEL โรงเรียนวัดวารีวง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 โดยประยุกต์หลักการวิจัยเพื่อการพัฒนา 3 ระยะ 7 ขั้นตอน ประกอบด้วยระยะที่ 1การวิเคราะห์ ปัญหาความต้องการและความจำเป็นในการพัฒนา ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1การวิเคราะห์สภาพปัญหาความต้องการและ ความจำเป็นในพัฒนา ขั้นตอนที่ 2การกำหนดปัญหาในการวิจัย ขั้นตอนที่ 3การกำหนดกรอบกิจกรรมในการวิจัยการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิด ของนักเรียน ระยะที่ 2 การดำเนินการวิจัยการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดของนักเรียน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 4 ดำเนินการวิจัยการพัฒนาทักษะ การอ่าน การเขียนและการคิดของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ BLUE MODEL ดังนี้ B : BLOOM กิจกรรมทั่วไปสำหรับนักเรียนทุกคน L : LEARNUP กิจกรรมสำหรับนักเรียนกลุ่มเก่ง
U : UPRISE กิจกรรมสำหรับนักเรียนกลุ่มปานกลาง E : EDIT กิจกรรมสำหรับนักเรียนกลุ่มปรับปรุง ระยะที่ 3 การประเมินผลการวิจัยการพัฒนาการอ่าน การเขียนและการคิดของนักเรียน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 5ประเมินผลการวิจัยการพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนและการคิดของนักเรียนขั้นตอนที่ 6วิเคราะห์ผลการประเมิน ขั้นตอนที่ 7การสรุปรายงานผลและเผยแพร่ผลงาน ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาต่อเนื่อง 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1 2 ปีการศึกษา 2561- 2562 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างนักเรียนในปีการศึกษา 2561 จำนวน 64 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 58คน ประชากรครู ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 9 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 7 คน และ กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองในปีการศึกษา 2561 จำนวน 107คนปีการศึกษา 2562 จำนวน 102คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย ทั้งสิ้น 5 ฉบับ มี 2 ลักษณะ ได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ที่มีการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง .86 - .92 และแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริง จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แบบบันทึกทักษะการอ่าน การคิดและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6และแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัยการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนโดยใช้กลยุทธ์ BLUE MODEL โรงเรียนวัดวารีวง ปีการศึกษา 2561 2562 ปรากฏผลดังนี้
1. ระดับคุณภาพการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียนโดยใช้กลยุทธ์ BLUE MODEL โรงเรียนวัดวารีวง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562 พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยรวม ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.69 , S.D. = .10) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( = 3.56 , S.D. = .15)
ปีการศึกษา 2562 โดยรวม ทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 4.69 , = .06) มีค่าพัฒนา = +1.01 รองลงมา คือ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67 , S.D. = .09) มีค่าพัฒนา = +.98 ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด( = 4.60 , S.D. = .12) มีค่าพัฒนา = +1.04 สอดคล้องตามสมมติฐาน
2. การคัดกรองทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนตามสภาพจริงของนักเรียน โรงเรียนวัดวารีวงก่อนการพัฒนาปีการศึกษา 2560กับหลังการพัฒนาปีการศึกษา2561-2562
ปีการศึกษา 2560 ได้ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 36.26 ได้ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 30.77 ได้ระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ17.58 ได้ระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 15.38
ปีการศึกษา 2561 ได้ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 41.18 นักเรียนมีพัฒนาการระดับดีมากเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 4.91 ได้ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 31.76 นักเรียนมีพัฒนาการระดับดีเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 1.01ได้ระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 18.82 นักเรียนมีพัฒนาการระดับพอใช้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ1.24ได้ระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ8.24นักเรียนได้ระดับปรับปรุงมีจำนวนลดลง คิดเป็นร้อยละ7.15
ปีการศึกษา 2562 ได้ระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 47.62 นักเรียนมีพัฒนาการระดับดีมากเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.36 ได้ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 33.33 นักเรียนมีพัฒนาการระดับดีเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 2.56ได้ระดับพอใช้ คิดเป็นร้อยละ 19.05 นักเรียนมีพัฒนาการระดับพอใช้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ1.47 ได้ระดับปรับปรุง คิดเป็นร้อยละ 0นักเรียนได้ระดับปรับปรุงมีจำนวนลดลง คิดเป็นร้อยละ15.38 แสดงว่ามีการพัฒนาทักษะการอ่านการคิด และการเขียนดีขึ้น ตลอด 2 ปีการศึกษาที่ดำเนินการพัฒนา สอดคล้องตามสมมติฐาน
3. ทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ BLUE MODEL โรงเรียนวัดวารีวง ปีการศึกษา 2561-2562 ความคิดเห็นของครู ผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.61 , S.D. = .17) ส่วนกลุ่มครู อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.58 ,  = .14)
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.71, = .08) มีค่าพัฒนา = +1.13ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.60 , S.D. = .12) มีค่าพัฒนา = +.99 สอดคล้องตามสมมติฐาน
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนโรงเรียนวัดวารีวง ปีการศึกษา2561และปีการศึกษา 2562พบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับสถานศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 โรงเรียนวัดวารีวง โดยภาพรวมทุกระดับชั้นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2560
ปีการศึกษา 2560 โดยรวมผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 69.74 ปีการศึกษา 2561 โดยรวมผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 71.56 และปีการศึกษา 2562 โดยรวมผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 75.04 แสดงให้เห็นว่า ปีการศึกษา 2561-2562 มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่า ปีการศึกษา 2560 สอดคล้องตามสมมติฐาน
5. ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียน โดยใช้กลยุทธ์ BLUE MODELโรงเรียนวัดวารีวง หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2561-2562พบว่า
ปีการศึกษา 2561 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มครู มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 3.65 ,  = .15) รองลงมา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก ( = 3.64 , S.D. = .20) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 3.59 , S.D. = .18)
ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมิน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.80 , S.D. = .08) มีค่าพัฒนา =+ 1.16 รองลงมา กลุ่มครู มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.65 ,  = .15) มีค่าพัฒนา =+ 1.07 ส่วนกลุ่มผู้ปกครองมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.60 , S.D. = .15) มีค่าพัฒนา =+ 1.01สอดคล้องตามสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะการนำผลวิจัยไปประยุกต์ใช้
1. การพัฒนาทักษะการอ่าน การคิด การเขียน ของนักเรียน จะประสบผลสำเร็จได้นั้น โรงเรียนต้องศึกษา หรือคัดกรอง ศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล แล้วจึงคิดกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมพัฒนา หรือแก้ไขปัญหาเฉพาะกลุ่มจึงจะได้ผล และเป็นการแก้ปัญหาที่สอดคล้องกับศักยภาพผู้เรียนอย่างแท้จริง
2. ในการดำเนินการพัฒนาทักษะ การอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนจะประสบผลสำเร็จได้ ผู้บริหารโรงเรียนต้องให้ความสำคัญในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่จะช่วยกันดูแล ส่งเสริมแก้ปัญหาร่วมกัน อีกทั้งการนิเทศ กำกับติดตาม การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และจริงจังจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
3. ในการดำเนินการพัฒนาทักษะ การอ่าน การคิด และการเขียนของนักเรียนถือเป็นภารกิจสำคัญของผู้บริหารสถานศึกษา ครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และผู้ปกครอง ทางโรงเรียนไม่ควรมอบภารกิจดังกล่าวให้ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย ดำเนินการไปโดยลำพัง แต่ควรให้ครูภาษาไทยรับผิดชอบในฐานะคณะกรรมการ และเลขานุการดำเนินการพัฒนา
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียน ของนักเรียนระดับประถมทุกสังกัด
2. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาทักษะการอ่าน การคิดและการเขียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในมิติ O - NET และ NT