การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนในทางที่ดีขึ้น ครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ
มีทักษะ และความสามารถในการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มีเทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูในโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองเมืองพล ให้มีความรู้ความสามารถใน
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการเรียนการสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยมีกรอบในการพัฒนา 3 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจ 2) ด้านความสามารถการเขียนแผนการสอน และ 3) ด้านความสามารถดำเนินการจัดกิจกรรมการสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยการประยุกต์ตามแนวคิดของเคมมิสและแม็กแท็กการ์ท (Kemmis และ Mc Taggart) โดยดำเนินการเป็นวงรอบประกอบด้วยการวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation)
การสะท้อนผล (Reflection) และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Sharing) กลยุทธ์ที่ใช้ในการพัฒนาครู คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 56 คน ได้แก่ 1) ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ ในสังกัดเทศบาลเมืองเมืองพล จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียน การสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความยากง่ายเท่ากับ 0.45 – 0.61 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 2) แบบสัมภาษณ์จำนวน 4 ฉบับ 3) แบบสังเกต จำนวน 2 ฉบับ 4) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 5) แบบสอบถาม จำนวน 2 ฉบับ มีค่าความสอดคล้องเฉลี่ย เท่ากับ 1.00, 0.96, 0.97 และ 0.96 ตามลำดับ 6) แบบบันทึกหลังการปฏิบัติ (AAR) และ 7) แบบบันทึกการประชุม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติร้อยละ (P) และค่าเฉลี่ย (μ) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีพรรณนาเนื้อหา (Content Analysis) ตรวจสอบข้อมูลใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique)
ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จากการใช้กลยุทธ์ 2 กลยุทธ์ในครั้งนี้ ผลการพัฒนาโดยใช้กลยุทธ์ที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัด การเรียนการสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้นจากผล การทดสอบก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการผลการทดสอบมีคะแนนเฉลี่ย (μ) 11.04 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 55.18 ผลการทดสอบหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการมีคะแนนเฉลี่ย (μ) 18.30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 91.52 จากการสังเกตด้วยแบบสังเกตการณ์มีส่วนร่วมใน
การประชุมกลุ่มเป้าหมาย มีการแสดงพฤติกรรมการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด มีความถี่การแสดงพฤติกรรมการมีส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ 92.68 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายมีความตรงต่อเวลาในการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ มีความกระตือรือร้น ไม่มีการหลบเลี่ยงออกไปนอกห้องประชุม มีการเตรียมความพร้อมโดยการศึกษาเอกสารล่วงหน้า ก่อนเข้าร่วมประชุม มีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม มีการซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการปฏิบัติ มีการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เป็นผู้ฟังและผู้เสนอแนะที่ดี เสนอแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น มีความตั้งใจจริงที่จะนำผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนด้านความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนการสอนเชิงรุก จากการประเมินแผนการจัดการเรียน การสอน พบว่า ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนการสอนภาพรวม มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ย (μ) 103.25 คิดเป็นร้อยละ 82.63 กลยุทธ์ที่ 2 การนิเทศภายใน มีการประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพบว่า ผลการประเมินภาพรวมมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ย (μ) 3.9 คิดเป็นร้อยละ 78.4 จากการสอบถามกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอน มีระดับความสามารถ ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (μ) 3.71 คิดเป็นร้อยละ 74.1 จากการสอบถามนักเรียนในชั้นเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคการเรียนการสอนเชิงรุก พบว่า ระดับการปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (μ) 4.06 คิดเป็นร้อยละ 81.60
สรุปได้ว่าการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองเมืองพลในครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ มีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนการสอน และสามารถนำแผนการจัดการเรียนการสอนไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนได้ และทำให้กลุ่มเป้าหมายได้พัฒนาตนเอง และปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพมากยิ่งขึ้น ในการพัฒนาครูในครั้งนี้ได้นำกระบวนการพัฒนามาสรุปเป็นกระบวนการการพัฒนาครูด้านการการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกที่ส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองเมืองพล เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ในการพัฒนาครูในโรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ ต่อไป