ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว(ประชาสรรค์)
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 1
ผู้รายงาน นางสาวเรียมน้อย กาศเกษม
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว(ประชาสรรค์) สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาแพร่ เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม
ซึ่งแบ่งการประเมินออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) การประเมินสภาวะแวดล้อม 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า
3) การประเมินกระบวนการดำเนินงาน 4) การประเมินผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน จำนวนทั้งสิ้น 87 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าเฉลี่ย (x ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D )
ผลการประเมินพบว่า
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านหนองเสี้ยว(ประชาสรรค์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร เขต 1 ผลการประเมินโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านผลผลิต ด้านกระบวนการดำเนินงาน และด้านปัจจัยนำเข้า
การประเมินสภาวะแวดล้อม ผลการประเมินพบว่า มีความสอดคล้องอยู่ในระดับ
มาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง หลักการและเหตุผลของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความสอดคล้องกับนโยบายในการจัดการศึกษาของโรงเรียนและกิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ในด้านทักษะพื้นฐานด้านการเกษตร การดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
การประเมินปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินพบว่ามีความพอเพียง เหมาะสม อยู่ใน
ระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมตามโครงการเป็นผู้มีความรู้ ความสนใจ ความสามารถเหมาะสมและเพียงพอ จำนวนบุคลากรที่ดำเนินโครงการมีความเหมาะสม เพียงพอสำหรับการดำเนินโครงการ และสถานที่สำหรับใช้ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสม และเพียงพอ
การประเมินกระบวนการดำเนินงาน ผลการประเมินพบว่า มีประสิทธิภาพ อยู่ใน
ระดับมาก เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ การกำหนดขั้นตอนการจัดทำโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความชัดเจน สาระเนื้อหาตามองค์ประกอบของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมีความชัดเจน การปฏิบัติกิจกรรมช่วยให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
การประเมินผลผลิต ผลการประเมินพบว่ามีประสิทธิผลอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ
คะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ผลการดำเนินกิจกรรมปลูกผักตามฤดูกาล ทำให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานในการปลูกพืช ผลการดำเนินกิจกรรมปลูกผักสวนครัวและสวนสมุนไพร ทำ
ทำให้นักเรียนได้รู้จักและเรียนรู้ถึงสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด และผลการดำเนินกิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพ และทำให้นักเรียนมีทักษะพื้นฐานงานอาชีพที่เหลากหลาย