บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 4) เพื่อหาประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) และ 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะครูที่สอนคณิตศาสตร์เท่านั้น 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนห้วยข่าพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 38 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 1 ฉบับ 23 ข้อ ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.61 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง
0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.9537 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 5.00 3) แบบฝึกทักษะ จำนวน 10 ชุด ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.31 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.80 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8237 และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ 21 ข้อ ค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.52 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.8727 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยสอบถามปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group Pre-test Post-test Design ทดสอบกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียน (Pre-test) ทำการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ทดสอบย่อยระหว่างเรียน และทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Post-test) สอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ IOC วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของแบบทดสอบ ใช้สถิติหาค่าอำนาจจำแนก (B) ค่าความยากง่าย (p) ตามวิธีของแบรนแนน (Brennan) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ (rcc) ตามวิธีของโลเวท (Lovett) ใช้สถิติ E1/ E2 หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ ใช้สถิติหาค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามปัญหาการสอนคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ แบบสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) ใช้สถิติหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับวิธี Itemtotal Correlation ใช้สูตรสหสัมพันธ์อย่างง่ายของ Pearson ใช้สถิติ t-test วิเคราะห์สมมติฐานเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบความพึงพอใจก่อนเรียนและหลังเรียน ใช้สถิติ E.I. วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะ และใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ( x-ba) ร้อยละ (P) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่า
1. การศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า โดยรวมทุกสถานะมีปัญหาอยู่ในระดับมาก ( =4.00) เมื่อพิจารณาเป็นรายสถานะ พบว่า สถานะที่มีปัญหามากที่สุดได้แก่ ครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี ( =4.48) รองลงมาได้แก่สถานะครูเพศชาย ( =4.13) ส่วนสถานะที่มีปัญหาน้อยที่สุดได้แก่ สถานะครูเพศหญิง ( =3.52)
โดยรวมของทุกด้านมีปัญหาอยู่ในระดับมาก ( =4.01) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครูเพศชายมีปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านหลักสูตร มากที่สุด ( =4.15) ครูเพศหญิงมีปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านประเมินผลการเรียนรู้มากที่สุด ( =3.62) ครูที่จบปริญญาตรีมีปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านสื่อการเรียนรู้/เทคโนโลยี/นวัตกรรมมากที่สุด ( =4.35) ครูที่จบสูงกว่าปริญญาตรีมีปัญหาการจัดการเรียนการสอนทุกด้าน ( =4.20) ครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี มีปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านประเมินผลการเรียนรู้มากที่สุด ( =4.20) ครูที่มีประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปี มีปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านหลักสูตรมากที่สุด ( =4.68) โรงเรียนขนาดเล็กมีปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านสื่อการเรียนรู้/เทคโนโลยี/นวัตกรรมมากที่สุด ( =3.85) โรงเรียนขนาดกลางมีปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านสื่อการเรียนรู้/เทคโนโลยี/นวัตกรรมมากที่สุด ( =4.02) ครูที่เคยได้รับรางวัลมีปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านประเมินผลการเรียนรู้มากที่สุด ( =4.00) และครูที่ไม่เคยได้รับรางวัลมีปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านการจัดการเรียนรู้/การจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด( =3.96)
2. การพัฒนาแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 พบว่า
2.1 โดยรวมแผนการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80.11 คิดเป็นร้อยละ 78.05 เมื่อพิจารณาเป็นรายแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.16 คิดเป็นร้อยละ 79.49 รองลงมาได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.11 คิดเป็นร้อยละ 78.79 ส่วนแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1, 2 และ 4 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.89 คิดเป็นร้อยละ 76.92
2.2 ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ E1 = 78.84/E2 =76.32 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาเป็นรายแบบฝึกทักษะ พบว่า แบบฝึกทักษะที่นักเรียนได้คะแนนมากที่สุด ได้แก่ แบบฝึกทักษะชุดที่ 3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.97 คิดเป็นร้อยละ 79.74 รองลงมาได้แบบฝึกทักษะชุดที่ 10 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.95 คิดเป็นร้อยละ 79.47 ส่วนชุดที่นักเรียนได้คะแนนต่ำสุดได้แก่แบบฝึกทักษะชุดที่ 6 และชุดที่ 9 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.82 คิดเป็นร้อยละ 78.16 เท่ากันทั้ง 2 ชุด
2.3 ประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะเท่ากับ 0.6607 แสดงว่าแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชุดนี้ทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 66.07 สูงกว่าเกณฑ์ที่ยอมรับได้
3. การทดลองใช้แบบฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้จากการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนทดสอบนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้
4. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการเรียนการสอน เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร โดยใช้แบบฝึกทักษะแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
พบว่า โดยรวมความพึงพอใจของนักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.24)และโดยรวมความพึงพอใจของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ ปานกลาง (x-ba =2.88) เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งเอาไว้