ชื่องานวิจัย การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียน
เทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง
จังหวัดอุดรธานี
ชื่อผู้วิจัย นายกฤษณ์ กลิ่นกลาง
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีจุดมุ่งหมายของการวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อพัฒนาร่างระบบและหาประสิทธิภาพการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อทดลองใช้ระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธสนี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 4) เพื่อประเมินผลและปรับปรุงแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 คน พนักงานครู 56 คน พนักงานจ้างตามภารกิจ(ผู้ช่วยครู) 6 คน ผู้ปกครองนักเรียน 1012 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 1092 คน การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) ดำเนินการจัดประชุมกลุ่ม โดยแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ครูผู้รับผิดชอบการดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า จำนวน 5 คน คณะกรรมการสถานศึกษาที่มาจากบุคคล ภายนอก 5 คน ผู้ปกครองเด็กชั้นประถมปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายชั้นละ 3 คน รวม 36 คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากผู้มีส่วนเกี่ยวของ 5 คน รวมทั้งสิ้น 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 2 ฉบับ โดยแบบประเมินประสิทธิภาพผลการดำเนินงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ระดับ 0.9591 และ แบบประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องที่ระดับ 0.9228 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากการศึกษาปัญหาและกำหนดแนวการดำเนินงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สรุปได้ว่าปัญหาที่สำคัญในการดำเนินงานของโรงเรียน คือการจัดกิจกรรมขาดความต่อเนื่อง การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ผู้ปกครองและชุมชนไม่มีส่วนร่วมเท่าที่ควร งบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ไม่เพียงพอขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านการดูแลงานสารสนเทศขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ จึงควรดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วม ในรูปแบบ CLIP ใน 6 แผนงานคือ แผนงานบุคลากร แผนงานวิชาการ แผนงานอาคารสถานที่ แผนงานกิจการนักเรียน แผนงานความสัมพันธ์ชุมชน และแผนงานธุรการ การเงิน พัสดุ
2. ประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จากการศึกษาประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พบว่าประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมโดยรวมและรายแผนงานอยู่ในระดับมากแผนงานที่ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดคือแผนงานความสัมพันธ์ชุมชน รองลงมาคือ แผนงานบุคลากร แผนงานวิชาการ แผนงานอาคารสถานที่ แผนงานกิจการนักเรียน และที่มีประสิทธิภาพน้อยสุดคือ แผนงานธุรการ การเงิน พัสดุ
3. ความพึงพอใจของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พบว่าความพึงพอใจของการดำเนินงานตามแผนงานพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมโดยรวมและรายแผนงานอยู่ในระดับมากแผนงานที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ แผนงานบุคลากร และรองลงมาคือ แผนงานความสัมพันธ์ชุมชน แผนงานธุรการ การเงิน พัสดุ แผนงานอาคารสถานที่ แผนงานกิจการนักเรียน และความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ แผนงานวิชาการ
4. แนวทางแก้ปัญหาด้านการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมของโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ใช้ผลจากการประเมินมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดกิจกรรม การปรับปรุงการจัดกิจกรรมต้องดำเนินการทั้งระหว่างการจัดกิจกรรมและสิ้นสุดการจัดกิจกรรม ดำเนินการแก้ไขจุดอ่อนและพัฒนาจุดเด่น และนำแนวทางใหม่ๆ มาพัฒนาและปรับปรุงการจัดกิจกรรมร่วมกับแนวทางที่ดำเนินการประเมินผลและปรับปรุงแผนงาน ได้แก่ จัดให้มีคณะกรรมการฝ่ายการประเมินผล นิเทศ กำกับ ติดตาม การดำเนินการของแผนงานหลัก 6 งานได้แก่ แผนงานวิชาการ แผนงานบุคลากรแผนงานธุรการ การเงิน พัสดุ แผนงานอาคารสถานที่ แผนงานกิจการนักเรียน แผนงานความสัมพันธ์ชุมชน มีการนำผลการนิเทศ กำกับติดตาม มาประเมินผลถึงข้อบกพร่อง ข้อดี หรือข้อที่ต้องการแก้ไข ให้ได้รับการแก้ไข และมีการดำเนินงานทุกแผนงานให้เป็นปัจจุบันมีการรายงานผลอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง
Title: The Development of School Administrative System by Using Participation
Techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality,
Muang District, Udon Thani Province
Researcher: Mr. Krit Klinklang
Year: 2018
Abstract
The Development of School Administrative System by Using Participation Techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality, Muang District, Udon Thani Province was purposed 1) to study the basic information of the development of school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality, Muang district, Udon Thani province, 2) to develop the tentative system in order to meet the efficiency of the development of school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality, Muang district, Udon Thani province, 3) to try out the school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality, Muang district, Udon Thani province, and 4) to evaluate and to improve the development plan of school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality, Muang district, Udon Thani province.
The total of 1,092 sample were 3 school administrators, 15 basic school council committees, 56 teachers, 6 teacher assistants, and 1,012 parents. The implementation was focus group discussion. The 51 participants were divided to 4 groups: 5 teachers who were responsible for the development of school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, 5 external committees of basic school council, 3 of each level of Prathom Suksa 1 to Matthayom Suksa 6 students parents (36 in total), and 5 advisory of participants. The instruments employed five rating scale to evaluate the development plan of school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality, Muang district, Udon Thani province which the Index of Item-Objective Congruence: IOC was at 0.9591. The Index of Item-Objective Congruence: IOC of questionnaire for satisfaction on the implementation of the development of school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School. The Index of Item-Objective Congruence: IOC was at 0.9228. The data were analyzed for mean and standard deviation.
The findings showed as follows:
1. The result of focus group discussion that study the basic information of the development of school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality, Muang district, Udon Thani province showed the problems i.e. lacked for continuity in activities implementation, uncovered public relation, lacked for participation of parents and communities, inadequate budget, material and equipment included personnel to in charge of information work and supported from other agencies. The development of school administrative system should be implemented by using participation techniques through CLIP in 6 frameworks: personnel, academic, premise, student affair, community relation and general administration, finance and supplies.
2. The study result of the development of school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality, Muang district, Udon Thani province revealed the efficiency at a high level for overall and each aspect. A community relation was at the highest level then personnel, academic, premise, student affairs respectively while a general administration, finance and supplies was at the lowest level.
3. The study result of the development of school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality, Muang district, Udon Thani province revealed the satisfaction at a high level for overall and each aspect. Personnel was at the highest level then community relation, general administration, finance and supplies, premise, student affairs respectively while academic was at the lowest level.
4. The improvement guidelines for the development plan of school administrative system by using participation techniques of Thetsaban 3 Ban Lao School, Udon Thani City Municipality, Muang district, Udon Thani province were to apply the evaluation results as a source for the activities management. The improvement should be implemented while and at the end of the activities. The distinctive point would be strengthen while the weak point would be improved and also bring new strategy to improve and develop the activity together with assessment and improving plan which needed to have an assessment committee to evaluate, supervise and follow up. The six main plans were academic, personnel, general administration, finance and supplies, premise, student affairs and community relation. The result of supervision and follow up was used to assess a weakness and good point or where needed to improve. All plans needed to be up to date and set the report at least one time per semester.