ผู้วิจัย นางสาวปิยะวรรณ มุลาลี
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง สมดุลเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง สมดุลเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ E1/E2 ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ 80/80 2) เพื่อศึกษาทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง สมดุลเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง สมดุลเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง สมดุลเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง สมดุลเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม จำนวน 45 คน ที่เรียนรายวิชาเคมีเพิ่มเติม 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะการคิดแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม แบบสอบถาม ความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีแบบไม่อิสระ (T-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL ร่วมกับกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) เพื่อ
ส่งเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เรื่อง สมดุลเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีชื่อเรียกว่า กิจกรรมการเรียนรู้ แบบ PICTAE มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation) 2) ขั้นการตรวจสอบ (Investigation) โดยใช้เทคนิค KWDL 3) ขั้นการร่วมมือ (Cooperation) 4) ขั้นการทดสอบรายบุคคล (Test) 5) ขั้นประเมินผล (Evaluation) 6) ขั้นให้รางวัล (Award) มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 81.58/80.50 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
ทักษะการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ PICTAE ก่อนเรียนและ
หลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทักษะการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ PICTAE ก่อนเรียนและ
หลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
พฤติกรรมการทำงานกลุ่มโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ PICTAE ก่อนเรียนและ
หลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพฤติกรรมการทำงานกลุ่มหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ แบบ
PICTAE พบว่าอยู่ในระดับมาก ("X" ̅= 4.49, S.D.= 0.77) เมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่านักเรียนมีความพึงพอใจ ในระดับ มากที่สุด 2 ด้าน คือ อันดับที่ 1 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อประโยชน์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากที่สุด ("X" ̅= 4.55, S.D.= 0.71) อันดับที่ 2 นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการวัดและประเมินผล ("X" ̅= 4.51, S.D.= 0.76) ส่วนความพึงพอใจของนักเรียน ในระดับมาก มีสองด้าน คือ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อตัวครูผู้สอน ("X" ̅= 4.49, S.D.= 0.76) และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ ("X" ̅= 4.43, S.D.= 0.85)