ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนวัดโบสถ์ ปีการศึกษา 2561
ผู้ประเมิน นายทูลใจ ศรีพรหม ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโบสถ์
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนวัดโบสถ์ ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome) ของโครงการ โดยใช้กรอบการประเมินตามรูปแบบการประเมินไอปู้ (IPOO Model) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบประเมิน แบบสำรวจข้อมูล และศึกษาจากข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยแหล่งข้อมูล ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ครู/บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายศิษย์เก่า และนักเรียน โรงเรียนวัดโบสถ์ ปีการศึกษา 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่และร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเมิน 4 ประเด็น ได้แก่ ความพร้อมด้านบุคลากร ความพร้อมด้านงบประมาณ ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ และความพร้อมด้านการบริหารจัดการ โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความพร้อมด้านบุคลากร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ อยู่ในระดับมาก และความพร้อมด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก เช่นกัน
1.1 ความพร้อมด้านบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ คณะกรรมการกิจกรรมเป็นผู้มีความพร้อม และกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีและนาฏศิลป์ให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด และครูผู้รับผิดชอบดนตรีนาฏศิลป์มีความสามารถเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับครูผู้รับผิดชอบดนตรีนาฏศิลป์มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถด้านดนตรีนาฏศิลป์ อยู่ในระดับมาก
1.2 ความพร้อมด้านงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์นาฏศิลป์อย่างเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างเพียงพอ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ มีงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องดนตรีอย่างเพียงพอ อยู่ในระดับมาก และมีงบประมาณในการสนับสนุนและพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรอย่างเพียงพอ อยู่ในระดับมาก
1.3 ความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ และอาคารสถานที่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ห้องนาฏศิลป์มีความเหมาะสมเอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ เครื่องดนตรี และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับดนตรีนาฏศิลป์ มีจำนวนเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด และห้องดนตรีมีความเหมาะสมเอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
1.4 ความพร้อมด้านการบริหารจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการประสานความร่วมมือด้านดนตรีนาฏศิลป์กับหน่วยงานภายนอก โดยอาศัยเครือข่ายความร่วมมือในระดับต่างๆ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบที่มีความสามารถเหมาะสมกับแต่ละกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และมีการจัดทำแผนกลยุทธ์ดนตรีนาฏศิลป์ ที่เป็นเป้าหมายการพัฒนาอย่างชัดเจนเหมาะสม อยู่ในระดับมาก
2. ด้านกระบวนการ (Process) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเมิน 4 ประเด็น ได้แก่ การวางแผน การดำเนินงาน การติดตามตรวจสอบและการประเมินผล และการปรับปรุงพัฒนา ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การวางแผน อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ การติดตามตรวจสอบและการประเมินผล อยู่ในระดับมากที่สุด และการปรับปรุงพัฒนา อยู่ในระดับมาก
2.1 การวางแผน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สำรวจ ความพร้อมด้านบุคลากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัสดุอุปกรณ์ เครื่องดนตรีและวัสดุอุปกรณ์นาฏศิลป์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ มีการจัดทำหลักสูตรและโครงสร้างเวลาเรียนดนตรีนาฏศิลป์โดยความร่วมมือของวิทยากรท้องถิ่นและคณะครูเครือข่าย อยู่ในระดับมากที่สุด และกำหนดกิจกรรมโครงการดนตรีนาฏศิลป์ทั้งกิจกรรมตามหลักสูตร และกิจกรรมสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 การดำเนินงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ นักเรียนชมรมดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์ร่วมกิจกรรมกับชุมชนและหน่วยงานภายนอกตามโอกาสต่างๆ อยู่ในระดับ มากที่สุด รองลงมา ได้แก่ สนับสนุนนักเรียนที่มีความสามารถดนตรีนาฏศิลป์ เข้าร่วมประกวดแข่งขัน ในเวทีต่างๆ อยู่ในระดับมากที่สุด และส่งเสริมนักเรียนทุกคนให้มีความสามารถด้านนาฏศิลป์ อยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 การติดตามตรวจสอบและการประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเพื่อการปรับปรุงการดำเนินโครงการดนตรีนาฏศิลป์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ผู้บริหารให้ความสำคัญกับการสะท้อนผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการนิเทศติดตามงาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 การปรับปรุงพัฒนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการนำผลการวิเคราะห์ไปวางแผนพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ แจ้งผลการดำเนินงานโครงการ ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัด ให้ทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ อยู่ในระดับมากที่สุด และมีการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมของโครงการทุกครั้ง อยู่ในระดับมาก
3. ด้านผลผลิต (Output) จำแนกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ 2) ผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดดนตรีนาฏศิลป์ และ 3) ผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
3.1 ผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ซึ่งจากผลการประเมินความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ทุกกิจกรรมมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3.1.1 กิจกรรมที่ 1 การจัดทำหลักสูตรดนตรีนาฏศิลป์ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด ได้แก่ ประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์: คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ จุดมุ่งหมายหลักสูตร: เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม อยู่ในระดับมากที่สุด และเป้าหมายหลักสูตร: มีสุนทรียภาพ เสริมสร้างจุดเด่น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เชื่อมั่นในตนเอง เป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับจุดมุ่งหมายหลักสูตร: ผู้เรียนแสดงออกทางดนตรีนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมากที่สุด
3.1.2 กิจกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีนาฏศิลป์ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด ได้แก่ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีขั้นตอนการฝึกปฏิบัติชัดเจนต่อเนื่อง อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ จัดการเรียนการสอนดนตรีเพิ่มเติมจากหลักสูตร คือ การร้องเพลง จำนวน 9 เพลง ที่เหมาะสมตามระดับชั้น เช่น เพลงแขกบรเทศชั้นเดียว เพลงลาวจ้อย ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับจัดการเรียนการสอนนาฏศิลป์เพิ่มเติมจากหลักสูตร คือ การรำ จำนวน 13 ชุด ที่เหมาะสมตามระดับชั้น เช่น ระบำกรับ ฟ้อนอวยพร รำวงมาตรบาน ระบำอยุธยา อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนกระตือรือร้นในการเรียนดนตรีนาฏศิลป์, นักเรียนมีความสุขในการเรียนดนตรีนาฏศิลป์, นักเรียนได้ฝึกคุณลักษณะจากการเรียนและการฝึกซ้อมดนตรีนาฏศิลป์ เช่น ความอดทน ความรับผิดชอบ ความมีวินัย ฯลฯ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน อยู่ในระดับมากที่สุด
3.1.3 กิจกรรมการฝึกทักษะดนตรีนาฏศิลป์ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด ได้แก่ นักเรียนชมรมดนตรี มีทักษะทางดนตรีในระดับดีเยี่ยม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ นักเรียนชมรมนาฏศิลป์ มีทักษะทางนาฏศิลป์ ในระดับดีเยี่ยม อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนทุกคนมีทักษะทางดนตรีนาฏศิลป์เป็นไปตามเป้าหมายของโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
3.1.4 กิจกรรมการสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด พบว่า ข้อที่มีความเหมาะสมสูงสุด ได้แก่ นักเรียนชมรมดนตรี ร่วมแสดงเพื่อสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ในวันสำคัญและการการแสดงเพื่อเปิดกิจกรรม งานต้อนรับ งานพิธี ของทางโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ นักเรียนชมรมนาฏศิลป์ ร่วมแสดงเพื่อสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ ในวันสำคัญและการการแสดงเพื่อเปิดกิจกรรม งานต้อนรับ งานพิธี ของทางโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ นักเรียนสืบสานดนตรีนาฏศิลป์โดยเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันความสามารถทางดนตรีนาฏศิลป์ในเวทีต่าง ๆ อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนทุกคน มีโอกาสสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ ในโอกาสต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น วันเด็ก ปีใหม่ วันอาเซียน, ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านดนตรีนาฏศิลป์ร่วมถ่ายทอดเพื่อสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ให้แก่นักเรียน, นักเรียนชมรมอังกะลุงร่วมแสดงเพื่อสืบสานดนตรีนาฏศิลป์ในวันสำคัญและการการแสดงเพื่อเปิดกิจกรรม งานต้อนรับ งานพิธี ของทางโรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานอื่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน อยู่ในระดับมากที่สุด
3.2 ผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดดนตรีและนาฏศิลป์ พบว่า จำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียนรู้แต่ละตัวชี้วัด อยู่ในระดับดีขึ้นไปสูงกว่าร้อยละ 80 ทุกระดับชั้น
3.3 ผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการ ในระดับดีขึ้นไป สูงกว่าร้อยละ 80
4. ด้านผลลัพธ์ (Outcome) พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความความพึงพอใจต่อโครงการ ในระดับมากที่สุด โดยโรงเรียนมีผลงาน/รางวัลเชิงประจักษ์ที่เกิดขึ้น อาทิ รางวัลนักเรียนเยาวชนดีเด่น รางวัลการประกวดแข่งขันกิจกรรมดนตรีนาฏศิลป์ ทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนมีเครือข่ายการเรียนรู้ดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์ ทั้งระดับอำเภอ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับจังหวัด มีหน่วยอื่นมาศึกษาดูงานดนตรีนาฏศิลป์สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้โรงเรียนวัดโบสถ์ ได้ร่วมเป็นวิทยากร การจัดนิทรรศการเผยแพร่ความรู้ การร่วมการแสดงในกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน เช่น งานสมโภชสมเด็จพระนเรศวรมาหาราช งานประจำปีของอำเภอวัดโบสถ์