บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทโครงการ 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการโครงการ 4) เพื่อประเมินผลผลิตโครงการ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมิน ครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน 5 คน นักเรียน จำนวน 36 คน และผู้ปกครอง จำนวน 36 คน รวมกลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ จำนวน 78 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบประเมินโครงการแบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งผู้ประเมินสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น ฉบับที่ 1 เท่ากับ 0.86 ฉบับที่ 2 เท่ากับ 0.81 ฉบับที่ 3 เท่ากับ 0.80 ฉบับที่ 4 เท่ากับ 0.85 และฉบับที่ 5 เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบทของโครงการ พบว่า ผู้บริหาร และครู ประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในภาพรวมมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผู้บริหาร และครู ประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในภาพรวมมีระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า ผู้บริหาร และครู ประเมินโครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านผลผลิตของโครงการ
4.1 ผลการจัดกิจกรรมตามโครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ครู และนักเรียน ประเมินผลการจัดกิจกรรมตามโครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ครู นักเรียนและผู้ปกครอง มีความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมากที่สุด
4.3 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านอ้ายลิ่ม (ลิ่มราษฎร์สามัคคี)พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ใน 2562 สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใน ปีการศึกษา 2561 และจะเห็นได้ว่า ร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาใน ปีการศึกษา 2562 ผ่านเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายสาระการเรียนรู้ พบว่า สาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีค่าเฉลี่ย 3.72 คิดเป็นร้อยละ 94.44 รองลงมา ได้แก่ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ มีค่าเฉลี่ย 3.64 คิดเป็นร้อยละ 91.67 ส่วนสาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ มีค่าเฉลี่ย 3.07 คิดเป็นร้อยละ 75.00