บทที่ 1
บทนำ
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษาในปัจจุบันเป็นที่ทราบและยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ในช่วงต้นชีวิตตั้งแต่การปฏิสนธิจนกระทั่งอายุ 6 ปี เป็นระยะที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็ก ทั้งร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญา เนื่องจากเด็กวัยนี้เป็นวัยที่สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว กล่าวคือประสบการณ์ที่เด็กได้รับในช่วงนี้จะมีอิทธิพลและเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการส่งเสริมความพร้อมทางด้านร่างกายด้านต่าง ๆ ต่อไป การได้วางรากฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ได้อย่างถูกต้อง และในการพัฒนาเด็กปฐมวัยนั้นควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน
จากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในยุคไร้พรมแดนของโลกปัจจุบันมีสื่อจำนวนมากที่ ดึงดูดเวลาและความสนใจในการเรียนรู้ของเด็กไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องการที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ไม่มีเวลาอบรมเลี้ยงดูและไม่เข้าใจธรรมชาติ ของเด็กในวัยนี้ ทำให้เด็กขาดโอกาสในการพัฒนาอย่างถูกต้องและเหมาะสมซึ่งธรรมชาติของเด็กในวัยนี้เป็นวัยที่ไม่อยู่นิ่ง ชอบลองผิด ลองถูก อยากรู้อยากเห็น ดังที่ พัชรี ผลโยธิน (2552) กล่าวว่า เมื่อกล่าวถึงเด็กย่อมหมายถึง การเคลื่อนไหว โดยเฉพาะลักษณะธรรมชาติ ของเด็กปฐมวัยต้องการการเคลื่อนไหวด้วยการ ออกกำลังกาย การให้เด็กได้ออกกำลังกายผ่าน การเล่นกลางแจ้งนั้นเป็นการพัฒนาเด็กทาง ด้านร่างกาย ซึ่งช่วยให้เด็กเกิดประสบการณ์ ความคิดรวบยอด อันเป็นกระบวนการนำไปสู่การพัฒนาสติปัญญา อีกทั้งการเคลื่อนไหวยัง ช่วยให้เด็กได้พัฒนาสมรรถภาพทางร่างกาย ซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นใจในตนเองเกิดการเรียนรู้ ในการแก้ไขปัญหาเกิดทักษะ การคิด ความคิด สร้างสรรค์ และมีแนวโน้มจะเกิดคุณลักษณะที่ ดีทางสังคมอีกด้วยเช่นเดียวกับ พิสินี อมรกานต์ (2556) ที่กล่าวว่าถ้าหากเด็กได้แต่กินๆนั่ง ๆ แล้วก็นอน ร่างกายอาจจะไม่ แข็งแรงเท่าที่ควรหรือมีการเจริญเติบโตช้า โดยจะสังเกตเห็นได้ชัดจากการเปลี่ยนแปลงที่ ปรากฏให้เห็นทางร่างกาย เช่น ขนาด รูปร่าง สัดส่วน โครงสร้างของกระดูก กล้ามเนื้อ และ สมองซึ่งจะมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการ ด้านทักษะช้ากว่าเด็กที่ได ้ออกกำลังกายและมี การเล่นในกิจกรรมต่างๆอย่างเหมาะสมกับวัย เมื่อเด็กได้เล่นหรือออกกำลังกายจะส่งผลให้ จิตใจร่าเริงแจ่มใสและมีสุขภาพจิตดีตามไปด้วย
ธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาย่อมมีการเคลื่อนไหว จะอยู่นิ่งไม่ได้ยิ่งเป็นเด็กแล้วจะต้องมี การเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ทั้งนี้เพื่อบริหารร่างกายให้มีการเจริญเติบโต การเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย นับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งของมนุษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตลอดถึงผู้สูงอายุและมนุษย์มีนิสัยชอบสังคม คือ ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มจึงต้องมีการคบหาสมาคมกันและมีการระบายออกทางจิตใจเพื่อให้มี ความสบายทั้งกายและใจด้วย การละเล่นจึงเป็นการแสดงออกของการเชื่อมความสามัคคีของคนทำ ให้คนคบหากันได้อย่างสนิทสนม จึงนับเป็นนันทนาการอย่างหนึ่งนอกจากนี้การละเล่นเมื่อมีการ จัดเป็นระบบหรือแบบแผน มีกติกาให้คนในกลุ่มปฏิบัติย่อมเป็นการแสดงถึงความเจริญงอกงามของ คนในกลุ่มนั้นและเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งด้วยอันแสดงถึงความเป็นผู้มีวัฒนธรรมของคนกลุ่มนั้น ด้วย การละเล่นจึงเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนาทั้งกายและจิตใจของคน ทำให้คนได้มี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความสามัคคีกลมเกลียวก้าวหน้านับเป็นวัฒนธรรมได้อย่างหนึ่ง ดังนั้น หากได้มีการฟื้นฟู แก้ไขเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการละเล่นของคนในกลุ่มในแต่ละหมู่บ้านให้คงมีอยู่ ผลที่ตามมาก็คือนอกจากประชาชนได้ออกกำลังกายและทำให้จิตใจสบายแล้ว ยังทำให้คนในกลุ่มอยู่ ด้วยกันด้วยความรักใคร่กลมเกลียวกันและมีความสุขด้วย การละเล่นกิจกรรมเกมพื้นบ้านจึงนับมีความสำคัญ ซึ่งเราควรจะได้มีการอนุรักษ์ให้คงมีอยู่และหาทางส่งเสริมหรือพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น (วารุนีย์ พันธ์ศรี, 2551: 45-46)
เด็กอายุ3-5 ปี เป็นช่วงวัยที่มีความ สำคัญในการวางพื้นฐานชีวิต เนื่องด้วยเป็นวัย กำลังพัฒนาในทุกๆ ด้าน การเตรียมความพร้อมและการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กวัยนี้ ผู้ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก ซึ่งสุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ และอารมณ์ สุวรรณปาล (2552) ได้กล่าวว่า เด็กแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา แต่สิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนที่สุด คือ ความแตกต่างทางด้านร่างกาย ซึ่งสามารถ สังเกตได ้จากลักษณะทางกายโดยทั่วไป ดังที่ แทนเนอร์ (Tanner, 1978 อ้างถึงในสุจินดา ขจรรุ่งศิลป์ และอารมณ์ สุวรรณปาล, 2552) ได้กล่าวว่า เนื่องจากการเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ ของร่างกายสุกงอมเป็นอันดับแรก ความสามารถในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใหญ่เกิดก่อนการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเล็กและพัฒนาการของภาษา ดังนั้น การเล่นทางกายภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็ก นอกจากนี้ การพัฒนาด้านร่างกายและอารมณ์จิตใจ และการเล่นทางกายภาพยังเป็นประตูทางเข้าที่ตรงที่สุดและเป็นพาหนะธรรมชาติที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็ก ถ้าเด็กมีสุขภาพร่างกายดีจะส่งผลให้พัฒนาการด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคมดีด้วย
การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยถือเป็นหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของครูที่ จะต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาทางด้านร่างกายที่แข็งแรง เมื่อร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ แล้วพัฒนาการด้านอื่น ๆ จะสมบูรณ์ตามไปด้วย พัฒนาการทางด้านร่างกายประกอบด้วยกล้ามเนื้อ ใหญ่สามารถประเมินได้จากพฤติกรรม การยืน การเดิน การวิ่ง การกระโดด การโยนและการเตะลูกบอล ส่วนกล้ามเนื้อเล็กประเมินได้จากพฤติกรรมการร้อยการตัดกระดาษการวาดภาพอย่างอิสระ เป็นต้น (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541) เด็กที่มีพัฒนาการทั้งกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กสมบูรณ์ตามวัย สามารถเคลื่อนไหวอย่างคล่องแคล่วช่วยตัวเองในการบังคับและควบคุม กล้ามเนื้อได้หลาย ๆ อย่างเช่น กระโดดข้ามเขย่งปลายเท้ายืนขาเดียวเรียนรู้การออกกำลังกาย พัฒนาการทางกล้ามเนื้อจึงเป็นสิ่งสำคัญและครูควรส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย การส่งเสริมพัฒนาด้านร่างกายนั้นสามารถกระทำได้หลายกิจกรรม เช่นกิจกรรมการเล่นกลางแจ้ง กิจกรรมการเคลื่อนไหว และจังหวะกิจกรรมเสริมประสบการณ์และกิจกรรมสร้างสรรค์เนื่องด้วย กิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับพัฒนาและความสนใจของเด็ก เพราะทำให้เด็กได้เล่น การนำการเล่นในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าและเหมาะสมกับวัยของเด็ก
การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กด้านร่างกายสามารถจัดได้อย่างหลากหลาย เช่น การเล่นกลางแจ้ง (Outdoor play) การเล่นใน ร่ม (Indoor play) การออกกำลังกาย (Exercises) และการเคลื่อนไหวร่างกาย (Physical Movement) โดยทั่วไปแล้วการจัดกิจกรรมในโรงเรียน เพื่อพัฒนาเด็กด้านร่างกาย ให้เด็กเล่นอิสระและเล่นกับอุปกรณ์ เช่น เล่นลูกบอล เล่นเครื่อง เล่นปีนป่าย รวมไปถึงการเล่นเกมการละเล่นพื้นบ้านล้วนเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาด้านร่างกายของเด็กทั้งสิ้น แต่ที่น่าสนใจคือ ในขณะที่เด็กกำลังเล่นและเคลื่อนไหว ร่างกายนั้นสมองของเด็กทำงานตามไปด้วย จากผลงานวิจัยของ เพ็นฮูน (Penhune n.d. อ้างถึงใน พรพิไล เลิศวิชา,2552) ที่พบว่า เมื่อ เด็กเคลื่อนไหวร่างกายจะมีวงจรเซลล์สมองที่สำคัญ 3 แห่งร่วมกันทำงาน คือ บนผิวสมอง ใต้ผิวสมอง และสมองน้อยเพื่อให้ร่างกายของเด็กเกิดสมดุลในการเคลื่อนไหวกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่เด็กได้เคลื่อนไหวล้วนส่งผลและกระตุ้น การทำงานของสมองทั้ง 3 ส่วน โดยเฉพาะการ เล่น เพราะการเล่นของเด็กสามารถตอบสนอง ความต้องการตามธรรมชาติในการเคลื่อนไหว ของเด็กได้ดีที่สุด ดังนั้น การจัดกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อพัฒนาด้านร่างกายจะทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวและช่วยในการพัฒนาด้านร่างกายจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจและควรได้รับการพัฒนา
ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการวางพื้นฐานการศึกษาที่ดีให้กับเด็กปฐมวัยดังที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น ผู้ศึกษาซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับปฐมวัยจึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญาด้านคุณธรรม จริยธรรมและพฤติกรรมของนักเรียน ในระดับปฐมวัย ซึ่งจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาการเคลื่อนไหวร่างกายช้า การทรงตัวการยืดหยุ่นร่างกาย การกระโดดข้ามสิ่งกีดขวางและการประสานสัมพันธ์ของอวัยวะต่าง ๆ ยังไม่มีความพร้อมทางด้านร่างกายมากนัก ผู้ศึกษาเห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมเกมกลางแจ้งระดับปฐมวัย โดยได้ศึกษา วิเคราะห์แผนการจัดประสบการณ์ชั้นปฐมวัย ไม่มีเนื้อหาการจัดกิจกรรม เล่นกลางแจ้ง ที่เป็นรูปแบบที่แน่นอน ไม่มีแบบทดสอบในการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัย ยังไม่มีผู้ให้ความสนใจในการสร้างมากนัก พัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก จึงมีสมรรถภาพทางกลไกไม่ดีเท่าที่ควรในฐานะผู้ศึกษาจึงได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรมการเล่นเกมกลางแจ้ง ที่มีความหลากหลายในแต่ละกิจกรรม เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
จากความสำคัญและสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อพัฒนาด้านร่างกายสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองแกนเมืองแกนพัฒนา ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครู ผู้บริหาร ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเกมกลางแจ้งสำหรับเด็กปฐมวัยและยังช่วยปลูกฝังให้เด็กได้ตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญและรักในการออกกาลังกายแบบยั่งยืนสะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายที่สูงในการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมนำไปสู่การเป็นพลเมืองที่ดีมีสมรรถภาพทางกลไกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งผลจากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพทาง กลไกให้แก่เด็กปฐมวัยต่อไป
2. วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. สร้างกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อพัฒนาด้านร่างกายสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา
2. เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์กิจกรรมกลางแจ้งเพื่อพัฒนาด้านร่างกายสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา
๓. เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางด้านร่างกายของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังทำกิจกรรมเกมกลางแจ้ง
3. ขอบเขตของการศึกษา
กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย หญิง อายุ 4- 5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเมืองเมืองแกนพัฒนา จำนวน 22 คน
ขอบเขตเนื้อหา
เนื้อหาและกิจกรรมที่ใช้ในการจัดกิจกรรมเกมกลางแจ้งสำหรับนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลสานสายใยรักเทศบาลเมืองแกนเมืองแกนพัฒนา ระยะเวลาที่ใช้ทดลองเกมกลางแจ้ง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมเกมแข่งขี่ม้าก้านกล้วย
2. กิจกรรมเกมตีไข่เข้ารัง
3. กิจกรรมเกมขนลูกแก้ว
4. กิจกรรมเกมม้าแข่ง
5. กิจกรรมเกมแข่งปั่นยางรถ
6. กิจกรรมเกมกระต่ายกระโดด
7. กิจกรรมเกมแข่งวิ่งข้ามรั้ว
8. กิจกรรมเกมวิ่งวิบาก
9. กิจกรรมเกมเดินตัวหนอน
10. กิจกรรมเกมลูกบอลของฉัน
11. กิจกรรมเกมเสือล่าเหยื่อ
12. กิจกรรมเกมกบกระโดด
13. กิจกรรมเกมงูกินหาง
14. กิจกรรมเกมเก็บบอลสี
15. กิจกรรมเกมโยนบอลสี
16. กิจกรรมเกมรถลากทางมะพร้าว
17. กิจกรรมเกมขว้างบอลแม่น
18. กิจกรรมเกมคีบไม้ขีดไฟ
ขอบเขตระยะเวลา
การจัดกิจกรรมเกมกลางแจ้งในครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้จัดกิจกรรมกลางแจ้งในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 กิจกรรม