ชื่อเรื่องวิจัย การพัฒนาทักษะการเสิร์ฟเทเบิลเทนนิสสำหรับนักเรียน
โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ปีการศึกษา 2562
ผู้ทำการวิจัย จ่าสิบตรีทศธรรม สารคำ
ทำการวิจัยเมื่อ ภาคเรียนที่ 1/2562
ประเภทงานวิจัย การวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research)
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการพัฒนาทักษะการเสิร์ฟเทเบิลเทนนิสสำหรับนักเรียน โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อพัฒนานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาคเรียนที่ 1/2562
โดยใช้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนในรายวิชา เทเบิลเทนนิส อายุระหว่าง 12-14 ปี ปีการศึกษา 2562 ประชากรจำนวนทั้งหมด 480 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีปัญหาทางด้านทักษะกลไก จำนวนทั้งสิ้น 10 คน ทำการฝึกตามโปรแกรมการฝึกทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ตามตารางการฝึกครั้งละ 30 นาที ดังต่อไปนี้ (1 วันจันทร์ ฝึกการเสิร์ฟลูกหน้ามือ (2 วันพุธ ฝึกการเสิร์ฟลูกหลังมือ และ (3 วันศุกร์ ฝึกการเสิร์ฟลูกหน้ามือ ลูกหลังมือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการเสิร์ฟเทเบิลเทนนิสด้านหน้ามือ และ ด้านหลังมือ โดยทดสอบความสามารถในการเสิร์ฟเทเบิลเทนนิสด้านหน้ามือ และ ด้านหลังมือ จำนวนอย่างละ 10 ครั้งหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 ของกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ทำการเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการฝึกโดยใช้ matched pair t-test ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความสามารถในการเสิร์ฟลูกหน้ามือ ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 4 สัปดาห์ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ความสามารถในการเสิร์ฟลูกหน้ามือก่อนการฝึก 6.7 ± 1.204159 ครั้ง และหลังการฝึก 4 สัปดาห์ 7.7 ± 1.187434 ครั้ง การพัฒนาทักษะเสิร์ฟลูกหน้ามือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 14.93 ก่อนการฝึก และพบว่าค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความสามารถในการเสิร์ฟลูกหลังมือ ก่อนการฝึกและหลังการฝึก 4 สัปดาห์ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ความสามารถในการเสิร์ฟลูกหลังมือก่อนการฝึก 5.2 ± 1.886796 ครั้ง และหลังการฝึก 4 สัปดาห์ 7.4 ± 1.118034 ครั้ง การพัฒนาทักษะเสิร์ฟลูกหลังมือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 44.23 ก่อนการฝึก
ภายหลังการฝึก 4 สัปดาห์พบว่าค่าเฉลี่ยของเสิร์ฟลูกหน้ามือและการเสิร์ฟลูกหลังมือมีการพัฒนาทักษะการเสิร์ฟลูกหน้ามือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 14.93 ก่อนการฝึก และ การพัฒนาทักษะเสิร์ฟลูกหลังมือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 44.23 ก่อนการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น .05