รูปแบบ LAIAD MODEL
เพื่อบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
ระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖
๑. ชื่อรูปแบบ
รูปแบบการบริหาร LAIAD MODEL เพื่อบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ระดับปฐมวัย โรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖
๒. หลักการและความสำคัญ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ไดพระราชทานการศึกษาทางไกล
ผานดาวเทียม โดยมีพระราชประสงคใหการศึกษาแกปวงชนชาวไทยอยางทั่วถึงทุกหมูเหลา ทรงเนนใหนักเรียนไดรูจักชวยเหลือตนเอง และยึดเปนแนวปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แกปญหาการขาดแคลนครูและยกระดับความเสมอภาคของผูเรียนใหไดรับโอกาสทางการศึกษา ที่มีคุณภาพใกลเคียงกัน ดังนั้นจึงได้พัฒนาคุณภาพการศึกษาดวยเทคโนโลยีทางไกล (Distance Learning Internet Solution) ของสถานีวิทยุโทรทัศนการศึกษาทางไกลผานดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) ที่กอตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
ต่อมา หัวหนาคณะรักษาความสงบแหงชาติ จึงสั่งการให้เรงรัดดําเนินการในประเด็นดานการศึกษาเรื่องการขาดแคลนครูในโรงเรียนพื้นที่หางไกล รวมทั้งการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา ใหแกเด็ก สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงไดนอมนําการศึกษาทางไกลผานดาวเทียม ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร มาใชในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยไดมีการศึกษาและขยายผลโครงการการศึกษาทางไกลผานดาวเทียม ไปยังพื้นที่อื่นๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
โรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี) มีนักเรียน ๑๖๘ คน มีครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน
๑๕ คน เป็นโรงเรียนที่ขาดแคลนครูบางสาขาวิชาเอก เพราะทั้งโรงเรียนไม่มีครูสาขาวิชาเอกคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และการศึกษาปฐมวัย และครูบางส่วนสอนโดยไม่ใช้สื่อ ไม่คำนึงถึงทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับปฐมวัย ที่สอนโดยครูที่จบสาขาเกษตรศึกษา และการประถมศึกษา ซึ่งไม่ตรงสาขาวิชาเอก อันเป็นเหตุให้เด็กนักเรียนในโรงเรียนขาดโอกาสและความเท่าเทียมกับเด็กนักเรียนในโรงเรียนที่ขนาดใหญ่หรือโรงเรียนที่อยู่ในเมืองที่มีความพร้อม ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ชุมชนขาดความเชื่อมั่นในคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
จากเหตุผลและความจำเป็นดังกล่าว ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารสถานศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญใน
การพัฒนาสถานศึกษาตามภารกิจของการบริหารสถานศึกษาจึงหาแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนได้เรียนรู้ครบตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของหลักสูตร จึงสร้างและพัฒนานวัตกรรมบริหารสถานศึกษา รูปแบบ LAIAD MODEL ภายใต้วงจรคุณภาพ P-D-C-A มาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television: DLTV) ในระดับปฐมวัย ที่ขาดแคลนครูตรงสาขาวิชาเอกให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ครูได้พัฒนาทักษะการสอน และลดภาระการเตรียมการสอน ครูเกิดความมั่นใจ และมีความสุขในการสอน มีเด็กปฐมวัยได้เรียนกับครูตรงสาขาวิชาเอกจากโรงเรียนต้นทาง และยังมีครูปลายทางที่คอยเป็นโค้ช ทำให้เด็กมีการพัฒนาการตามหลักสูตร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง และชุมชน
๓. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ LAIAD MODEL
๓.๑ เพื่อพัฒนารูปแบบ LAIAD MODEL ในการบริหารและจัดการเรียนการสอนตามกระบวนการ
เรียนกรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ระดับปฐมวัย ของโรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖
๓.๒ เพื่อยกระดับผลพัฒนาการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์เด็กปฐมวัย ของโรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี)
๔. องค์ประกอบของรูปแบบ LAIAD MODEL
การบริหารโรงเรียนตาม รุ)แบบ LAIAD MODEL เพื่อบริหารและจัดการกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ระดับปฐมวัย ของโรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี) เน้นการปฏิบัติงานให้เกิดการดำเนินงานใน ๕ ขั้นตอน สอดคล้องกับแนวทางการนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารการศึกษา ๕ ขั้นตอน ของ
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ (๒๕๖๑) ซึ่งการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนจะมีองค์ประกอบและรูปแบบที่แตกต่างกัน ตามบริบทและลักษณะของวิธีการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้
L : Learn หมายถึง การเรียนรู้ ศึกษาแนวคิด หลักการใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย ๔ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) สร้างความตระหนักแก่บุคลากรในโรงเรียนให้เห็นความจำเป็น และสำคัญในการสอนโดยใช้สื่อ DLTV
๒) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ด้านการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
๓) พัฒนาความรู้ความเข้าใจระบบ วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ DLTV อย่างชัดเจน
๔) ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือใน
การดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ
๕) โรงเรียนศึกษาแนวทางเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการใช้ DLTV
A : Activators หมายถึง การริเริ่ม ค้นหา คิดค้น สร้างและเลือก แนวคิดเพื่อวางแผนดำเนินงาน ประกอบด้วย ๕
ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) โรงเรียนจัดสภาพห้องเรียน บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยใช้ DLTV
๒) จัดหาคู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำหรับโรงเรียนปลายทางให้เพียงพอ
๓) โรงเรียนปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาและโครงสร้างเวลาเรียนให้สอดคล้องกับการใช้ DLTV
๔) โรงเรียนจัดตารางสอนให้สอดคล้องกับการใช้ DLTV
๕) โรงเรียนจัดทำแผนการเรียนรู้รายชั่วโมงให้สอดคล้องกับการใช้ DLTV
๖) โรงเรียนออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะแก่ผู้เรียนตามแนวทางการใช้ DLTV
๗) โรงเรียนการเลือกใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
๘) โรงเรียนบูรณาการเนื้อหาที่จำเป็นให้สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
I : Implementation หมายถึง การลงมือดำเนินงาน ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) ครูใช้แผนการเรียนรู้ตามกำหนดและบันทึกผลหลังการสอนทุกครั้ง
๒) โรงเรียนจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามแผนและแนวทางการใช้ DLTV
๓) โรงเรียนดูแล กำกับ ช่วยเหลือนักเรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
๔) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนเพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอนการใช้ DLTV
๕) ครูส่งเสริมให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน
๖) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติและร่วมกิจกรรมตามที่กำหนด
๗) ครูส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning)
๘) โรงเรียนจัดกระบวนการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
A : Avail หมายถึง นำผลงานไปใช้โดยต้องผ่านการประเมินผลก่อน ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) โรงเรียนมีการประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน
๒) โรงเรียนมีการประเมินและใช้ข้อมูลผลการเรียนมาวางแผนพัฒนา
๓) โรงเรียนใช้ข้อมูลผลระหว่างเรียนมาพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
๔) โรงเรียนมีการประเมินผลหลังเรียนเพื่อตรวจสอบสัมฤทธิผลการจัดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด
๕) โรงเรียนใช้เครื่องมือและวิธีการตรวจสอบประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสม
๖) ครูสอนเสริมรายบุคคลให้กับนักเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้
๗) โรงเรียนปรับการวัดผลและเกณฑ์การวัดให้สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
๘) ผู้บริหารตรวจสอบการปฏิบัติงานของครูจากบันทึกการสอน เพื่อเป็นแนวทางช่วยเหลือและพัฒนา
การเรียนรู้ของผู้เรียน
D : Development หมายถึง การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) โรงเรียนวิเคราะห์ผลจากรายงานประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูที่สอนโดยใช้ DLTV
เพื่อพัฒนาให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
๒) ผู้บริหารให้คำปรึกษา แก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนแก่ครู ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ DLTV
๓) โรงเรียนใช้สื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
๔) โรงเรียนมีเครือข่ายออนไลน์ในการนิเทศ/การจัดการเรียนการสอน
๕) โรงเรียนนำสื่อเทคโนโลยี EDLTV (Electronic distance learning television) มาช่วยในการจัด
การเรียนรู้นอกตารางเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
๖) ครูนำผลจากการบันทึกการสอน ไปปรับปรุงการเรียนการสอน
๗) โรงเรียนประยุกต์ใชันวัตกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
๘) โรงเรียนมีการพัฒนาระบบ DLTV อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
DLTV SCHOOL : โรงเรียนที่จัดกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
NB SCHOOL : โรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี) เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมยุคใหม่ ที่สามารถบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ระดับปฐมวัย สู่ความเป็นเลิศและเป็นแบบอย่างได้
๕. แผนภาพของรูปแบบและการนำไปใช้
รูปแบบ "LAIAD MODEL" เป็นรูปแบบการบริหารที่จัดการเรียนการสอนตามกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม ภายใต้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และทฤษฎีระบบ (System Theory) การมีส่วนร่วม (Participation) ใช้ระบบดิจิทัล (Digital) นวัตกรรม (Innovation) และการวิจัย (Research) เป็นองค์ประกอบในการพัฒนา ดังแผนภาพต่อไปนี้
L : Learn หมายถึง การเรียนรู้ ศึกษาแนวคิด หลักการใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน
A : Activators หมายถึง การริเริ่ม ค้นหา คิดค้น สร้างไอเดีย เลือกเพื่อวางแผนการสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน
I : Implementation หมายถึง การลงมือสร้างผลงาน/นวัตกรรม เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนตลอดจนทดสอบประสทธิภาพจนแน่ใจ
A : Avail หมายถึง การนำผลงาน/นวัตกรรมไปใช้เกิดประโยชน์ มีคุณค่าต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
D : Development หมายถึง การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
DLTV SCHOOL : โรงเรียนที่จัดกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
NB SCHOOL : โรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี) เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมยุคใหม่ ที่สามารถบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ระดับปฐมวัย สู่ความเป็นเลิศและเป็นแบบอย่างได้
๖. การนำไปใช้
การบริหารโรงเรียนตามรูปแบบ LAIAD MODEL เพื่อบริหารและจัดการกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ระดับปฐมวัย ของโรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต ๖ เน้นการปฏิบัติงานให้เกิดการดำเนินงานใน ๕ ขั้นตอนซึ่งการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนจะมีองค์ประกอบและรูปแบบที่แตกต่างกัน ตามบริบทและลักษณะของวิธีการดำเนินงาน ดังนี้
L : Learn หมายถึง การเรียนรู้ ศึกษาแนวคิด หลักการใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย ๕ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) สร้างความตระหนักแก่บุคลากรในโรงเรียนให้เห็นความจำเป็น และสำคัญในการสอนโดยใช้สื่อ DLTV
๒) วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ด้านการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน
๓) พัฒนาความรู้ความเข้าใจระบบ วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ DLTV อย่างชัดเจน
๔) ประชุมชี้แจงคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ
๕) โรงเรียนศึกษาแนวทางเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการใช้ DLTV
A : Activators หมายถึง การริเริ่ม ค้นหา คิดค้น สร้างและเลือก แนวคิดเพื่อวางแผนดำเนินงาน ประกอบด้วย ๕
ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) โรงเรียนจัดสภาพห้องเรียน บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยใช้ DLTV
๒) จัดหาคู่มือครูสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำหรับโรงเรียนปลายทางให้เพียงพอ
๓) โรงเรียนปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษาและโครงสร้างเวลาเรียนให้สอดคล้องกับการใช้ DLTV
๔) โรงเรียนจัดตารางสอนให้สอดคล้องกับการใช้ DLTV
๕) โรงเรียนจัดทำแผนการเรียนรู้รายชั่วโมงให้สอดคล้องกับการใช้ DLTV
๖) ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเพิ่มโรงเรียนออกแบบกิจกรรมทักษะแก่ผู้เรียนตามแนวทางการใช้ DLTV
๗) โรงเรียนการเลือกใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับเป้าหมาย
๘) โรงเรียนบูรณาการเนื้อหาที่จำเป็นให้สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
I : Implementation หมายถึง การลงมือดำเนินงาน ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) ครูใช้แผนการเรียนรู้ตามกำหนดและบันทึกผลหลังการสอนทุกครั้ง
๒) โรงเรียนจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามแผนและแนวทางการใช้ DLTV
๓) โรงเรียนดูแล กำกับ ช่วยเหลือนักเรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน
๔) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนเพื่อช่วยในการจัดการเรียนการสอนการใช้ DLTV
๕) ครูส่งเสริมให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียน
๖) ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติและร่วมกิจกรรมตามที่กำหนด
๗) ครูส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning)
๘) โรงเรียนจัดกระบวนการเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
A : Avail หมายถึง นำผลงานไปใช้โดยต้องผ่านการประเมินผลก่อน ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) โรงเรียนมีการประเมินผลก่อนเรียน ระหว่างเรียนและหลังเรียน
๒) โรงเรียนมีการประเมินและใช้ข้อมูลผลการเรียนมาวางแผนพัฒนา
๓) โรงเรียนใช้ข้อมูลผลระหว่างเรียนมาพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด
๔) โรงเรียนมีการประเมินผลหลังเรียนเพื่อตรวจสอบสัมฤทธิผลการจัดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่กำหนด
๕) โรงเรียนใช้เครื่องมือและวิธีการตรวจสอบประเมินผลการเรียนรู้ที่เหมาะสม
๖) ครูสอนเสริมรายบุคคลให้กับนักเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้
๗) โรงเรียนปรับการวัดผลและเกณฑ์การวัดให้สอดคล้องกับทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑
๘) ผู้บริหารตรวจสอบการปฏิบัติงานของครูจากบันทึกการสอน เพื่อเป็นแนวทางช่วยเหลือและพัฒนา
การเรียนรู้ของผู้เรียน
D : Development หมายถึง การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย ๘ ตัวบ่งชี้ ดังนี้
๑) โรงเรียนวิเคราะห์ผลจากรายงานประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูที่สอนโดยใช้ DLTV
เพื่อพัฒนาให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น
๒) ผู้บริหารให้คำปรึกษา แก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนแก่ครู ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ DLTV
๓) โรงเรียนใช้สื่อเทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
๔) โรงเรียนมีเครือข่ายออนไลน์ในการนิเทศ/การจัดการเรียนการสอน
๕) โรงเรียนนำสื่อเทคโนโลยี EDLTV (Electronic distance learning television) มาช่วยในการจัด
การเรียนรู้นอกตารางเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
๖) ครูนำผลจากการบันทึกการสอน ไปปรับปรุงการเรียนการสอน
๗) โรงเรียนประยุกต์ใชันวัตกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ
๘) โรงเรียนมีการพัฒนาระบบ DLTV อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
DLTV SCHOOL : โรงเรียนที่จัดกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV)
NB SCHOOL : โรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี) เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมยุคใหม่ ที่สามารถบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ระดับปฐมวัย สู่ความเป็นเลิศและเป็นแบบอย่างได้
๗. ปัจจัยความสำเร็จ
๗.๑ ด้านการสนับสนุนปัจจัย (Money and Material)
การสนับสนุนปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาตามรูปแบบ LAIAD MODEL เพื่อบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) นับเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญประการหนึ่ง เพราะห้องเรียน อาคารสถานที่ สื่ออุปกรณ์ ต้องมีความพร้อม จึงจะช่วยให้การบริหารเป็นไปด้วยความคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ LAIAD MODEL ในแต่ละขั้นตอนมีความต้องการการสนับสนุนที่แตกต่างกัน ทั้งองค์ความรู้ บุคลากร อาคารสถานที่ และงบประมาณ จึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องดำเนินการ
จัดหาและสนับสนุนให้เกิดความพร้อมในการดำเนินงานให้มากที่สุด
๗.๒ ด้านการบริหารจัดการ (Management)
การบริหารแบบมีส่วนร่วม ที่มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือรวมพลังอย่างเข้มแข็งระหว่างผู้บริหาร ครู และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะช่วยสนับสนุนให้การบริหารสถานศึกษาตามรูปแบบ LAIAD MODEL เพื่อบริหารจัดการกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย และแก้ปัญหาครูสอนไม่ตรงสาขาวิชาเอกโดยเด็กได้เรียนกับครูที่ตรงสาขาวิชาเอกและได้เรียนกับครู ๒ คน ทั้งจากโรงเรียนต้นทางและปลายทาง จึงแก้ปัญหาได้ได้อย่างแท้จริง ได้อย่างแท้จริง เนื่องจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่างมีหน้าที่ และมุมมองที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมลงมือปฏิบัติผ่านกระบวนการ PLC จะช่วยให้พัฒนาผู้เรียนได้อย่างครอบคลุม
๗.๓ ด้านการพัฒนาบุคลากร (Man)
การพัฒนาบุคลากร นับเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุด เพราะไม่ว่ารูปแบบการบริหาร หรือปัจจัยสนับสนุนมีความพร้อมมากเพียงใด หากผู้ปฏิบัติไม่มีศักยภาพเพียงพอในการนำไปปฏิบัติ ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย
๘. ประโยชน์ที่ได้รับ
๑) เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนากระบวนการจัดประสบการณ์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม โดยได้เรียนกับครูที่ตรงสาขาวิชาเอก และได้เรียนกับครู ๒ คนทั้งครูโรงเรียนต้นทางและปลายทาง ส่งผลให้ผ่านการประเมินพัฒนาการครบทุกด้านและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตร ส่งผลให้โรงเรียนผ่านการประเมินบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และนักเรียนได้รับรางวัลเหรียญทองชนะเลิศ ระดับอำเภอ ในการวิ่งผลัด ๔ X ๑๐๐ เมตร ผู้ปกครองเกิดความเชื่อมั่น ศรัทธาในโรงเรียน
๒) ครูสามารถจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการจัดห้องเรียน ได้เหมาะสมและเอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ระบบสัญญาณภาพและเสียง ใช้การได้ดี การจัดโต๊ะ เก้าอี้นักเรียนเหมาะสม ห้องเรียนสะอาด เป็นระเบียบ ครูเตรียมการสอนล่วงหน้าและมอบหมายงานครั้งต่อไป และจัดกิจกรรมไปพร้อมกับครูโรงเรียนต้นทางทุกครั้ง สรุปสาระสำคัญร่วมกับนักเรียนและบันทึกผลหลังการจัดการเรียนการสอนทุกครั้ง และนำผลการสอนไปใช้สอนซ่อมเสริม วัดผลและประเมินผลหลังการจัดการเรียนการสอนแต่ละหน่วยการเรียนรู้ จัดกิจกรรมสอน ซ่อมเสริมนอกตารางออกอากาศ มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้เพิ่มเติม จากการดำเนินการดังกล่าวสามารถเป็นแบบอย่างแก่สถานศึกษาอื่นได้ ส่งผลให้ครูได้รับการยอมรับ จากเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ โดยนางไสว สุตานนท์ ครูโรงเรียนบ้านหนองบัว (ชาลีราษฎร์สามัคคี) ได้รับรางวัลครูดีเด่น ระดับปฐมวัย จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต ๖
๓) ผู้บริหารสถานศึกษา มีแนวทางในการบริหารจัดกระบวนการเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) อย่างเป็นรูปธรรม สามารถบริหารจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการวางแผนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมอย่างจริงจัง อำนวยความสะดวก ให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นผู้นำที่มุ่งมั่น ตั้งใจ ตระหนักเห็นความสำคัญ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง บำรุงรักษาเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมและโทรทัศน์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ จัดหาคู่มือครูพระราชทานสอนทางไกลผ่านดาวเทียมสำหรับโรงเรียนปลายทางอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และนิเทศ ติดตาม การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมอย่างได้ผล ส่งผลให้เป็นที่ยอมรับได้รับรางวัลในระดับเขตพื้นที่ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
๔) โรงเรียนได้น้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่ได้พระราชทานให้โรงเรียนต่าง ๆ ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television: DLTV) มาใช้ในโรงเรียน ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอย่างรอบด้าน โรงเรียนได้รับการยอมรับ ศรัทธา จากผู้บังคับบัญชา ผู้ปกครอง ชุมชน สถานศึกษาอื่น ๆ โรงเรียนเป็นโรงเรียนแกนนำโรงเรียนจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television: DLTV) ระดับปฐมวัย ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต ๖ และเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานโรงเรียนจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television: DLTV นอกจากนี้โรงเรียนยังได้รับตราพระราชทาน บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยแห่งประเทศไทย วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ โดยมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูและบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน ได้รับรู้แนวทางการดำเนินงานและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มจัดทำนโยบาย แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนการวัดและประเมินผล โดยชุมชนได้สนับสนุนงบประมาณในการตกแต่งห้องเรียน เช่น สี ผ้าม่าน หญ้าเทียม แรงงานพัฒนาสภาพแวดล้อมคุณภาพ นอกจากนี้ยังได้เข้าเยี่ยมชั้นเรียนเพื่อชมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม ของโรงเรียน และชมนิทรรศการแสดงผลงานที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอน จากการมีส่วนร่วมดังกล่าวส่งผลให้ชุมชนเกิดความภาคภูมิใจ และยอมรับ ศรัทธา ในคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ขากการดำเนินการโครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television: DLTV)
บรรณานุกรม
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (๒๕๖๑). หน่วยที่ ๑ แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. ในประมวล
สาระชุดวิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ หน่วยที่ ๑- ๗. นนทบุรี: สาขาวิชา
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วาโร เพ็งสวัสดิ์ (๒๕๕๓). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร ปีที่ ๒ ; ฉบับที่ ๔ :
กรกฏาคม - ธันวาคม ๒๕๕๓.
Macmillan,T.T. ๑๙๗๑. The delphi technique. Paper Presented at the annual meeting of the
California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Monterey: California. (May ๑๙๗๑) : ๓-๕