ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)
โรงเรียนสามัคคีศึกษา ปีการศึกษา 2561-2562
ผู้รายงาน นางสาวอุไรวรรณ ทองเสน่ห์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนสามัคคีศึกษา
ปีที่รายงาน 2561-2562
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนสามัคคีศึกษา ปีการศึกษา 2561-2562 มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพในการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนสามัคคีศึกษา ปีการศึกษา 2561 2562 2) การมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ในการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนสามัคคีศึกษา ปีการศึกษา 2561 2562 3) พฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนสามัคคีศึกษา ปีการศึกษา 2561 2562 และ 4) ความพึงพอใจของ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนต่อการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ(Zero Waste School) โรงเรียนสามัคคีศึกษา ปีการศึกษา 2561 2562 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 214 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 226 คน 2) ประชากรครู ปีการศึกษา 2561 จำนวน 28 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 31 คน 3) กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 214 คน ปีการศึกษา 2562 จำนวน 226 คน 4) กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 13 คน และ 5) กลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินรวมทั้งสิ้น จำนวน 9 ฉบับ มี 2 ลักษณะได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.970-0.989 และแบบสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน หลังการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โรงเรียนสามัคคีศึกษา และแบบบันทึกผลการประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ตามความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.71 ,  = 0.43) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.62 , S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมี ค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.81 ,  = 0.37) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.73 , S.D. = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทุกกลุ่ม และทุกประเด็นตัวชี้วัด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ด้านปัจจัยนำเข้าตามความคิดเห็นของครู ปีการศึกษา 2561 โดยรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านความพร้อมของบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.61 ,  = 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ย ( = 4.50 ,  = 0.50) อยู่ในระดับมาก และด้านผู้สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.04 ,  = 0.57) อยู่ในระดับมากเช่นกัน ปีการศึกษา 2562 โดยรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละตัวชี้วัด พบว่า ตัวชี้วัดด้านความพร้อมของบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.78 , = 0.46) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสมของการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ย ( = 4.72 ,  = 0.44) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านผู้สนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.45 ,  = 0.50) อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ด้านกระบวนการตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครูมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.56 ,  = 0.54) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.54 , S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.29 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.67 ,  S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.63 , S.D. = 0.53) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.54 , S.D. = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทุกกลุ่ม และทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ด้านผลผลิต จำแนกเป็น
4.1 ผลการประเมินระดับคุณภาพในการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.67 ,  = 0.53) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นักเรียน และเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.66 ,S.D. = 0.58 , 0.57) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.63 , S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ปีการศึกษา 2562 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.86 ,  = 0.45) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือนักเรียน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.77 , S.D. = 0.51) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.71 , S.D. = 0.49) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทุกกลุ่ม และทุกประเด็นตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินการมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.66 ,  = 0.52) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.60 , S.D. = 0.57) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.47 , S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.76 ,  = 0.47) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียนและ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.68 , S.D. = 0.51 ,0.53) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.59 , S.D. = 0.55) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทุกกลุ่ม และทุกประเด็นตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3 ผลการประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียน หลังการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ จำแนกเป็น
4.3.1 ผลการประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม ของนักเรียน หลังการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ตามความคิดเห็น ของนักเรียน และ ผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า นักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.57 , S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย ( = 4.56 , S.D. = 0.61) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า นักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.66 , S.D. = 0.53) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย ( = 4.64 , S.D. = 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทุกกลุ่ม และทุกประเด็นตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โดยครูเป็นผู้สังเกต ปีการศึกษา 2561 โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ( = 3.60 ,  = 0.59) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการนักเรียนช่วยกันดูแลรักษาและพัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน ให้มีความสะอาด สวยงาม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.68 ,  = 0.50) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมาคือ รายการนักเรียนคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง มีค่าเฉลี่ย (= 3.66 ,  = 0.63) อยู่ในระดับดีเยี่ยม และรายการนักเรียนจัดทำกองทุนขยะ ได้แก่ กระดาษ ขวดพลาสติก เพื่อจำหน่ายและสู่การแปรรูปต่อไป มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (= 3.54 ,  = 0.58) อยู่ในระดับดีเยี่ยมเช่นกัน ปีการศึกษา 2562 โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ( = 3.68 ,  = 0.53) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการนักเรียนช่วยกันดูแลรักษาและพัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของโรงเรียน ให้มีความสะอาด สวยงาม และ รายการนักเรียนคัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.74 ,  = 0.45 ,0.59) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมาคือ รายการนักเรียนทิ้งขยะลงถังในจุดที่กำหนด มีค่าเฉลี่ย (= 4.73 ,  = 0.55) อยู่ในระดับดีเยี่ยม และรายการนักเรียนใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ผลิตในโรงเรียนใส่บำรุงต้นไม้แทนการใช้ปุ๋ยเคมี มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (= 4.63 ,  = 0.57) อยู่ในระดับดีเยี่ยมเช่นกัน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.3.3 ผลการบันทึกพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนตามสภาพจริง หลังการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) โดยครูเป็นผู้บันทึกปีการศึกษา 2561 โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ( = 3.51 ,  = 0.55) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการนักเรียนร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียน ให้มีความสะอาด สวยงาม เช่น การรักษาความสะอาด การปลูกต้นไม้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.67 ,  = 0.47) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมาคือ รายการนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนด้วยจิตอาสาไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง/ภาคเรียน มีค่าเฉลี่ย (= 3.64 ,  = 0.43) อยู่ในระดับดีเยี่ยม และรายการนักเรียนใช้ขวดน้ำตนเองแทนแก้วน้ำพลาสติก และใช้ถุงผ้าใส่ของเพื่อลดการเกิดขยะในโรงเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (= 3..26 ,  = 0.63) อยู่ในระดับดีเยี่ยมเช่นกัน ปีการศึกษา 2562 โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีเยี่ยม ( = 3.72 ,  = 0.48) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า รายการนักเรียนร่วมกันพัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียน ให้มีความสะอาด สวยงาม เช่น การรักษาความสะอาด การปลูกต้นไม้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (= 3.83 ,  = 0.42) อยู่ในระดับดีเยี่ยม รองลงมาคือ รายการนักเรียนนำหลักการ Reduce Reuse Recycle ไปใช้ในการพัฒนาบรรยากาศสภาพแวดล้อมของห้องเรียนตนเองให้น่าเรียน น่าอยู่ มีค่าเฉลี่ย (= 4.78 ,  = 0.47) อยู่ในระดับดีเยี่ยม และรายการนักเรียนถอดบทเรียนกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ เชื่อมโยงและสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของโรงเรียน รักษ์สิ่งแวดล้อม น้อมนำวิถีพอเพียง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (= 4.59 ,  = 0.48) อยู่ในระดับดีเยี่ยมเช่นกัน ทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจในการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ปีการศึกษา 2561 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.63 ,  = 0.56) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.61 , S.D. = 0.57) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.54 , S.D. = 0.59) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ปีการศึกษา 2562 โดยรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่ม พบว่า ครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.72 ,  = 0.50) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย ( = 4.68 , S.D. = 0.52) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.61 , S.D. = 0.54) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทุกกลุ่ม และทุกประเด็นตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 สถานศึกษาอื่นควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการ/สอดแทรกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียนในกระบวนการจัดการเรียนรู้และให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้จากห้องเรียนสู่การฝึกปฏิบัติจริงด้วยกิจกรรมที่เป็นไปได้ มีความหมายต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อปลูกฝังคุณลักษณะที่ดีและสามารถแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่เหมาะสม
1.2 สถานศึกษาอื่นควรให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกที่ดีและความมีวินัยให้เกิดกับนักเรียนเพื่อเป็นคุณสมบัติพื้นฐานในการสร้างความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม สามารถควบคุมตนเองให้ปฏิบัติตนในทางที่ชอบจนเป็นนิสัย (Habit) มีลักษณะนิสัย ( Character)
1.3 สถานศึกษาอื่น ควรให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการโรงเรียนปลอดขยะเพื่อร่วมกันสร้างสังคมไร้ขยะในอนาคตต่อไป
1.4 สถานศึกษาอื่นควรให้ความสำคัญและนำผลการประเมินมาปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุประสิทธิผล
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรศึกษารูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมที่สะท้อนจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
2.2 ควรศึกษาแนวทางการปลูกจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับผู้เรียนโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม