โรงเรียนโนนเจริญพิทยาคม จัดทำ Best Practice (แนวปฏิบัติที่ดี) เรื่อง การพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) โดยใช้รูปแบบ KTH MODEL สอดคล้องกับนโยบายของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 3 และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามนโยบาย No Child Left Behind ไม่มีเด็กคนใด ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง ซึ่งทางโรงเรียนได้ดำเนินการ โดยให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนทุกคน ติดตามผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทุกระดับชั้นในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีนักเรียนจำนวนหนึ่งซึ่งมีผลการเรียนเป็น 0, ร และ มส. ดังนั้น ผู้อำนวยการโรงเรียนโนนเจริญพิทยาคม เล็งเห็นถึงความสำคัญ เรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 3 โดยนักเรียนทุกคนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ปลอด 0, ร และ มส. ผู้อำนวยการโรงเรียนโนนเจริญพิทยาคม ได้ทำ Memorandum of Understanding (MOU ) กับ คณะครูและบุคลาการทุกคนในโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนทุกคนให้ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสง่างามและมีความสุข
1. ความสำคัญของ แนวปฏิบัติที่ดี ที่นำเสนอ
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (2552-2561) เพื่อให้คนไทยได้เรียนรู้อย่าง มีคุณภาพ และได้ประกาศจุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนเพื่อขับเคลื่อนหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผลภายใต้ยุทธศาสตร์การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา โดยเน้นความสำคัญของทักษะที่จำเป็นพื้นฐานที่ส่งผลสำเร็จในการเรียนรู้ของผู้เรียนในแต่ละช่วงวัย และจะเป็นการกระตุ้นเร่งรัดส่งเสริมสนับสนุน การนำบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และ สร้างความเข้มแข็งในการกำกับติดตามและประเมินผล ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาคุณภาพ
ตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสอดคล้องกับนโยบายของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 3 และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามนโยบาย No Child Left Behind ไม่มีเด็กคนใดถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง ซึ่งทางโรงเรียนได้ดำเนินการ โดยให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนทุกคน ติดตามผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทุกระดับชั้นในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีนักเรียนจำนวนหนึ่งซึ่งมีผลการเรียนเป็น 0, ร และ มส. ดังนั้น ผู้อำนวยการโรงเรียนโนนเจริญพิทยาคม จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 3 โดยให้นักเรียนทุกคนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ปลอด 0, ร และ มส. ผู้อำนวยการโรงเรียนโนนเจริญพิทยาคม ได้ดำเนินการทำ Memorandum of Understanding ( MOU ) กับคณะครูและบุคลาการทุกคนในโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนทุกคนให้ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างสง่างามและมีความสุข และใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม PAOR มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ PDCA และบริหารงานโดยใช้รูปแบบ KTH MODEL
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินการ
2.1 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนโนนเจริญพิทยาคม
2.2 เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนโรงเรียนโนนเจริญพิทยาคม
2.3 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนทุกคนให้ดีขึ้น
2.4 เพื่อประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน
3. กระบวนการดำเนินงาน
โรงเรียนโนนเจริญพิทยาคม นำเสนอกระบวนการ/วิธีการจัดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจด้วยวิธีการที่หลากหลาย ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีการบริหารจัดการเรียนรู้เชิงบวก สร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ รวมทั้งมีการประเมินผลการเรียนรู้ และนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลมาใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และมีการบริหารจัดการโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง รูปแบบ Active Learning ครูใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก โดยนำนโยบาย No Child Left Behind (NCLB) ไม่มีเด็กคนใดถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง มาสร้างความตระหนักแก่ครูผู้สอนโดยเน้นในเรื่องการมอบหมายงานและให้การบ้านนักเรียน การสอนซ่อมเสริม การบริหารจัดการชั้นเรียน และแหล่งเรียนรู้และการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา สอดคล้องกับความสนใจและความแตกต่างของนักเรียนโดยจัดกิจกรรมบูรณาการ 8 กลุ่มสาระ เช่น นวดแผนไทย กระเป๋าสานเส้นพลาสติก ไม้กวาด โครงงานศิราภรณ์ เกษตรอินทรีย์ โรงเรียนธนาคาร ภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS) สืบค้นข้อมูล ICT คีตะมวยไทย มวยไทยสมัครเล่น วงดนตรีสากล วงดุริยางค์ ฯลฯ ผู้บริหารและคณะครู มีการประชุมจัดทำแบบบันทึกข้อตกลง MOU ในการปฏิบัติงานในหน้าที่เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนระหว่าง ผู้อานวยการโรงเรียนกับครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาผู้เรียนมีการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบและนำผลมาพัฒนาผู้เรียน คณะครูมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิด และจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Professional Learning Community (PLC) และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับนโยบายของ สพม.32 และ สพฐ.
โรงเรียนมีเป้าหมายที่จะดำเนินการ ส่งเสริม สนับสนุน ให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนในการลดจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียน 0, ร และ มส ให้น้อยลง และเป็นโรงเรียนที่ปลอด 0, ร และ มส. คิดเป็น 100 % ด้วยความร่วมมือของคณะครูและบุคลากรในโรงเรียนโนนเจริญพิทยาคมทุกท่าน ซึ่งมีครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญ ในการดำเนินการ ติดตาม กำกับดูแลให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียน มีกระบวนการทำงานเชิงระบบโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม PAOR มีกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ PDCA และบริหารงานโดยใช้รูปแบบ KTH MODEL เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET) กระบวนการที่ใช้ในการดำเนินงาน ดังนี้
1. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม PAOR ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นที่ 2 การปฏิบัติการ
(Action) ขั้นที่3 การสังเกตการณ์ (Observing) และขั้นที่4 การสะท้อนผลการปฏิบัติ (Reflecting)
2. กระบวนการทำงานที่เป็นระบบ PDCA ได้แก่ ขั้นวางแผน (Plan) ขั้นดำเนินการตามแผน (Do)ขั้นการตรวจสอบ (Check) และขั้นการรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)
3. บริหารงานโดยใช้รูปแบบ KTH MODEL ซึ่งนายกิติศักดิ์ ไทวะกิรติ ผู้อำนวยการโรงเรียนโนนเจริญพิทยาคม เน้นระบบการนิเทศภายใน โดยใช้เป็นหลักในการบริหารจัดการระบบคุณภาพ ดังนี้
K = Knowledge : การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกกิจกรรมของผู้มีส่วนได้เสียกับโรงเรียน บูรณาการวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ กิจกรรม ทรัพยากร บุคลากร และเทคโนโลยี เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คิดใหม่ทำใหม่ให้ทันสมัยและนำเอาเทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้
T = Training : การฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องและทันสมัย
H = Happy : ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
การแก้ 0, ร และมส. มีการดำเนินงาน ดังนี้
1) ประชุมคระครูและบุคลากรทางการศึกษา รับนโยบายจากท่านผู้อำนวยการโรงเรียน เรื่องการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 3 ตามนโยบายของท่านผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 และนโยบายของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) ท่านผู้อำนวยการโรงเรียน ทำบันทึกข้อตกลง Memorandum of Understanding ( MOU ) กับครูและบุคลากรทุกคน
3) แจ้งให้ผู้ปกครองทราบและดำเนินการติดตาม ขณะนักเรียนอยู่ที่บ้าน
4) ครูที่ปรึกษาตรวจสอบจำนวนนักเรียนที่มีผลการเรียน 0, ร และ มส.
5) แจ้งให้นักเรียนทราบและให้นักเรียนรีบดำเนินการติดต่อลงทะเบียนแก้ไขผลการเรียน 0, ร และ มส.
6) ครูที่ปรึกษาติดตามให้นักเรียนดำเนินการซ่อมเสริมในแต่ละรายวิชาจนแล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
7) ให้มีการดำเนินการแก้ไขผลการเรียน ภาคเรียนละ 2 ครั้ง ในช่วงเวลาพักเที่ยงและหลังเลิกเรียน
8) สรุปรายงานผลเสนอผู้บริหารทราบ
การติวเติมเต็มความรู้ให้ก่อนสอบ O-net ดังนี้
1) ประชุมคณะกรรมการ เพื่อวางแผนการติวเติมเต็มความรู้ก่อนสอบ O-net
2) ดำเนินการจัดติวเติมเต็มความรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในระหว่างธันวาคม 2561- มีนาคม 2562
3)ครูที่รับผิดชอบสอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เข้าติวเติมเต็มความรู้ตามชั่วโมงที่ฝ่ายบริหารงานวิชาการจัดให้
4) ครูมีการเตรียมข้อสอบและเนื้อหาในการติวเอง และเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้แก่นักเรียนมากยิ่งขึ้น
5) ทดสอบย่อยทุกครั้งที่จบเนื้อหาแต่ละตัวชี้วัด
6) นิเทศ กำกับ ติดตาม สร้างขวัญและกำลังใจให้ครูและนักเรียน ระหว่างการติวเติมเต็ม O-net
7) ประเมินความพึงพอใจ และสรุปรายงานผลเสนอผู้บริหารทราบ
๔. ผลการดำเนินงาน
จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2561 เทียบกับปีการศึกษา 2560 พบว่าปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ย 31.97 ปีการศึกษา 2561 มีคะแนนเฉลี่ย 34.66 คะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย +2.69 ทำให้ผู้ปกครองและนักเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (O-NET ) โดยการจัดติวเติมเต็มความรู้ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 6 ในระหว่างเดือนธันวาคม 2561- เดือนมีนาคม 2562 ซึ่งครูที่รับผิดชอบสอนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เข้าติวเติมเต็มความรู้ตามชั่วโมงที่ทางฝ่ายบริหารงานวิชาการได้จัด ครูมีการเตรียมข้อสอบและเนื้อหาในการติวเอง และเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้และติวเข้มเพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับนักเรียนมากยิ่งขึ้น จากผลการดำเนินการได้รับความร่วมมือจากคณะครูเป็นอย่างดี
จากการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประจำปีการศึกษา 2561 เทียบกับปีการศึกษา 2560 พบว่าปีการศึกษา 2561 มีคะแนนเฉลี่ย 27.09 ปีการศึกษา 2560 มีคะแนนเฉลี่ย 27.37 คะแนนลดลงเฉลี่ย -2.28 เมื่อแยกคะแนนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้พบว่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีผลคะแนนสูงขึ้นจากปีการศึกษา 2560 ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้น +1.31 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้น +2.63 และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพิ่มขึ้น +0.83
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ดังกล่าวข้างต้น ทำให้ทราบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนโนนเจริญพิทยาคมเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน ยกระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนทุกคนดีขึ้น และมีผลการประเมินความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน อยู่ในระดับ ดีมาก