รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนวัดปากง่าม (ผ่องสอาดราษฎร์นุกูล) สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม ปีการศึกษา 2561 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดปากง่าม (ผ่องสอาดราษฎร์นุกูล) โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิป (CIPP Model) ของดี แอล สตัฟเฟิมบีม และคณะ (D.L.Stufflebeam and Others) ประชากรที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดปากง่าม (ผ่องสอาดราษฎร์นุกูล) สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม รวมทั้งสิ้น 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป (SPSS for Window) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบท (Context Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นต่อบริบทของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โรงเรียนมีการให้ความรู้
ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ รองลงมา คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน และวัตถุประสงค์ของโครงการนำไปสู่การปฏิบัติได้ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นต่อปัจจัยนำเข้าของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการ และกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพโรงเรียน รองลงมา คือ บุคลากรที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ และ
มีงบประมาณเพียงพอในการดำเนินโครงการ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ใน
การดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสม และการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการของโรงเรียนมี
การประสานงาน ร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานต่างๆ
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นต่อกระบวนการดำเนินงานของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ โครงการมีการวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน รองลงมา คือ บุคลากรผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ วางแผนการดำเนินงาน และการจัดกิจกรรมตามโครงการ และโรงเรียนได้ดำเนินการตามโครงการเป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ
การดำเนินงานครบทุกกิจกรรม และเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด มีการประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานของโครงการต่อโรงเรียนและหน่วยงานอื่นๆ และมีการนำผลการประเมินมาปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า ความคิดเห็นต่อผลผลิตของโครงการใน
ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ นักเรียนช่วยพ่อแม่ ผู้ปกครองหรือครูทำงานด้วยความเต็มใจ รองลงมา คือ นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ชุมชนและสังคม นักเรียนแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และนักเรียนร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมไทย ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นักเรียนชักชวน แนะนำให้ผู้อื่นเห็นคุณค่าของการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง
5. ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนวัดปากง่าม (ผ่องสอาดราษฎร์นุกูล) พบว่า ระดับความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ กิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติ รองลงมา คือ กิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้การปฏิบัติตนตามมารยาทชาวพุทธที่ดี และปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคม ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ กิจกรรมในโครงการส่งเสริมให้นักเรียนมีความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง