บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน บ้านแจงงาม มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อ (1) ประเมินสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation:C)ของการประเมินโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแจงงาม (2) ประเมินปัจจัยนำเข้า(Inputs Evaluation:I)ของการประเมินโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแจงงาม (3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluatio:P)ของการประเมินโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแจงงาม และ(4) ประเมินผลผลิต(Products Evaluation:P)ของการประเมินโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแจงงาม ในครั้งนี้ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 37 คน และนักเรียน จำนวน 37 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านแจงจำนวน 89 คน ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 6 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน ( ไม่นับรวมผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน และตัวแทนครู จำนวน 2 คน ) จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 37 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 23 คน ซึ่งมีความสามารถในการตอบแบบสอบถามได้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการประเมินและการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าความเชื่อมั่น ค่าความเที่ยงตรงเนื้อหาและ วิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผล
ผลการวิเคราะห์การประเมินโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแจงงาม สรุปผลการประเมินดังต่อไปนี้
การประเมินโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน บ้านแจงงาม พบว่า โดยภาพรวมความคิดเห็นของครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านลำดับสูงสุด ได้แก่ ผลผลิต (Products Evaluation) อยู่ในระดับมาก รองลงมากระบวนการ (Process Evaluation) อยู่ในระดับมาก ปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) อยู่ในระดับมาก และ ลำดับต่ำสุด สภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) อยู่ในระดับมากและโดยภาพรวมความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านลำดับสูงสุด ได้แก่กระบวนการ(Process Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) อยู่ในระดับมาก ผลผลิต(Products Evaluation) อยู่ในระดับมากและลำดับต่ำสุดสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) อยู่ในระดับมาก สรุปผลการประเมินรายด้านดังรายละเอียดต่อไปนี้
การประเมินสภาวะแวดล้อม(Context Evaluation:C)ของโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแจงงาม พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
การประเมินปัจจัยนำเข้า(Inputs Evaluation:I)ของโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแจงงาม พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
การประเมินกระบวนการ(Process Evaluation:P)ของโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแจงงาม พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากสุด
การประเมินผลผลิต (Products Evaluation:P) ของโครงการกินดี อยู่ดี ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านแจงงาม พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากความพึงพอใจของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก