ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบ RTI ร่วมกับจิตศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน นักเรียนที่มี
ความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล
ชื่อผู้ศึกษา วัชโรบล สัจจภิรมย์
สถานที่ โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบ RTI ร่วมกับจิตศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและคัดกรองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะเพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 3) เพื่อศึกษาผลการช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการใช้รูปแบบ RTI ร่วมกับจิตศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเกิ้งวิทยานุกูล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบคัดกรองนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ 1.1) แบบคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ของ ศ.ดร.ผดุง อารยะวิญญู 1.2) แบบคัดกรองนักเรียนที่มีสภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้และออทิซึม (KUS-Si Rating Scales) ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2) แบบประเมินการอ่าน การเขียนสื่อความ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่าน จำนวน 8 แผน 4) แบบตรวจสอบรายการพฤติกรรมของนักเรียน จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการพฤติกรรมของนักเรียนจากครูประจำชั้น แบบตรวจสอบรายการพฤติกรรมของนักเรียนจากครูประจำวิชา และแบบตรวจสอบรายการพฤติกรรมของนักเรียนจากผู้ปกครอง 5) แผนการจัดการศึกษาบุคคล (Individual Education Program : IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan : IIP) 6) แบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่าน โดยใช้ทฤษฎีเสาหลัก 5 ต้น จำนวน 1 ฉบับ 7) แบบประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการใช้รูปแบบ RTI ร่วมกับจิตศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่สถิติพื้นฐาน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาประสิทธิภาพของแบบฝึก E1/E2
ผลการศึกษา
1. ผลการศึกษาปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้ศึกษาได้ทดลองกับนักเรียน จำนวน 16 คน แบ่งได้เป็น 3 วิธี ดังนี้
1.1 ศึกษาโดยใช้ แบบคัดกรองเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ของ ผดุง อารยะวิญญูพบว่า นักเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ย ( ) ต่ำกว่า 2.51 ซึ่งมีปัญหาด้านการเรียนระดับมาก มีจำนวน 7 คน
1.2 ศึกษาโดยใช้ แบบคัดกรองนักเรียนที่มีสภาวะสมาธิสั้น บกพร่องทางการเรียนรู้ และออทิซึม (KUS-Si Rating Scales) ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่า นักเรียนที่ข้อความบ่งบอกพฤติกรรม อยู่ในกลุ่ม 3 ขึ้นไป ในแบบคัดกรอง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ควรได้รับการช่วยเหลือด้านการศึกษา มีจำนวน 7 คน
1.3 ศึกษาโดยใช้แบบประเมินการอ่าน การเขียนสื่อความ พบว่า นักเรียนที่มีค่าคะแนนต่ำกว่า 20 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน มีจำนวน 8 คน
2. ผลจากการสอนซ่อมเสิรมและสร้างแบบฝึกทักษะเพื่อแก้ปัญหานักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ผู้ศึกษาได้ทดลองกับนักเรียน 7 คน แบ่งเป็น พบว่า นักเรียนที่มีการตอบสนองต่อนวัตกรรมและวิธีการสอน จำนวน 4 คน นักเรียนที่ไม่มีการตอบสนองหรือมีการตอบสนองไม่สม่ำเสมอ จำนวน 3 คน
3. ผลการช่วยเหลือนักเรียนเป็นรายบุคคล ผู้ศึกษาได้ทดลองกับนักเรียน 3 คน โดยผู้ศึกษาเป็นผู้สอน 1 แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้
3.1 ศึกษาโดยใช้แบบตรวจสอบรายการพฤติกรรมนักเรียน จากครูประจำชั้น 3 คน ครูประจำวิชา 8 คน และผู้ปกครอง 3 คน พบว่า นักเรียนทั้งหมดมีคะแนนพฤติกรรมใกล้เคียงกัน อยู่ในช่วงมีปัญหาด้านการเรียน ในระดับปานกลางถึงระดับมาก
3.2 ข้อสังเกตเพิ่มเติมจาก แบบตรวจสอบรายการพฤติกรรมของนักเรียน มีดังนี้
ส่วนมากนักเรียนไม่สนใจการเรียนมาตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่ค่อยทำการบ้านสภาพครอบครัวยากจนมาก และมีสภาพแตกแยกของพ่อ-แม่ นักเรียนจะเงียบไม่ค่อยพูดหรือแสดงเหตุผลใด ๆ เมื่อครูให้ทำอะไรจะทำได้ทุกอย่าง สภาพครอบครัวที่นักเรียนประสบมาตั้งแต่เล็ก ๆ สภาพบ้านที่ขาดสุขลักษณะสภาพสังคมใกล้ตัว ส่งผลต่อความกระตือรือร้นของนักเรียน ความมุ่งมั่นในการเรียน
3.3 ศึกษาโดยการช่วยเหลือเป็นรายบุคคล ด้วยแผน IEP และ IIP พร้อมกับแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่าน ตามทฤษฎีเสาหลัก 5 ต้น พบว่า หลังจากการให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคล โดยผู้ศึกษาทำการสอนเอง จำนวน 3 คน เป็นการสอนที่ครูให้ความช่วยเหลือเป็นรายบุคคล การพูดคุยกันระหว่างครูและนักเรียน ใช้คำพูดเชิงสร้างสรรค์ เชิญชวนให้ปฏิบัติโดยไม่มีถูกมีผิด ทำให้นักเรียนรู้สึกสบายใจ มีความกล้าและมั่นใจที่จะปฏิบัติตามแบบฝึกพัฒนาทักษะการอ่านมีการตอบสนองที่ดี
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจการใช้รูปแบบ RTI ร่วมกับจิตศึกษา จำนวน 20 ข้อ จากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน พบว่า ภาพรวมความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ครู ผู้ปกครองและนักเรียน มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 3.89 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 ซึ่งอยู่ในระดับความพอใจ ในรายข้อ พบว่า ข้อ 12. ท่านคิดว่าการที่โรงเรียนใช้รูปแบบการสอนแบบอาร์ทีไอส่วนสำคัญมากที่สุดคือคุณครูที่สอนนักเรียน มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.41 ข้อ. 20. ท่านมีความพึงพอใจที่โรงเรียนใช้รูปแบบการสอนแบบอาร์ทีไอ มากน้อยเพียงใด มีค่าเฉลี่ย ( )เท่ากับ 4.16 และข้อ. 18 ท่านคิดว่าการที่โรงเรียนใช้รูปแบบการสอนแบบอาร์ทีไอทำให้นักเรียนที่เรียนดีและนักเรียนที่เรียนช้าได้ประโยชน์เท่ากัน มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.08 ตามลำดับ