ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของ
โรงเรียนสหัสหงษ์มหาคุณ ปีการศึกษา 2560
ผู้รายงาน ว่าที่ร้อยตรีธนาโชค แก้วประทีป
ปีที่รายงาน 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนสหัสหงษ์มหาคุณ ปีการศึกษา 2560 โดยประยุกต์รูปแบบจาลองซิป (CIPP Model) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมหรือบริบท ความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต พร้อมทั้งเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ระหว่าง ครู นักเรียน และผู้ปกครอง
ประชากรในการศึกษา ได้แก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสหัสหงษ์มหาคุณ จำนวน 269 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู นักเรียนผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสหัสหงษ์มหาคุณ รวม 81 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางของเคอร์ซี่แอนมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามประเมินผลการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุข ฉบับที่ 2 เป็นแบบสัมภาษณ์ และมีการจัดทำ Focus Group หนึ่งครั้ง การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความคิดเห็นโดยใช้สถิติทดสอบ One way ANOVA โดยเปรียบเทียบภายหลังหาความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffes test) และวิเคราะห์ความเรียงจากแบบสัมภาษณ์และจากการทำ Focus Group
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. การดำเนินโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนสหัสหงษ์มหาคุณ ปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก
2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการดำเนินงานโครงการสถานศึกษา สีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียนสหัสหงษ์มหาคุณ ปีการศึกษา 2560 ระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครอง พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อทดสอบรายคู่ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกคู่
3. แนวทางในการพัฒนาโครงการสถานศึกษาสีขาวปลอดยาเสพติดและอบายมุขของโรงเรียน สหัสหงษ์มหาคุณ มีดังนี้
3.1 ครูที่ปรึกษาต้องให้ความสำคัญกับการคัดกรองนักเรียน และการช่วยเหลือนักเรียนในเบื้องต้นให้มากกว่านี้
3.2 การส่งต่อนักเรียนระหว่างครูที่ปรึกษากับครูแนะแนวจะต้องทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้
3.3 ครูต้องช่วยกันแจ้งพฤติกรรมนักเรียนที่ไม่พึงประสงค์ไปยังฝ่ายปกครองไม่ควรปล่อยปละละเลย
3.4 ควรเพิ่มบุคลากรต้านงานป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด
3.5 ควรจัดให้มีวิทยุสื่อสารระหว่างบุคลากรฝ่ายปกครอง
3.6 ควรปรับตู้แดงเสมารักษ์เป็นไลน์เสมารักษ์ เนื่องจากนักเรียนไม่กล้าแจ้งเบาะแสและไม่
รวดเร็ว
3.7 ควรพัฒนางานคลินิกเสมารักษ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.8 การอบรมหน้าเสาธงควรมีการสอดแทรกเรื่องยาเสพติดให้บ่อยขึ้น
3.9 ควรจัดให้มีใบเขียวใบแดง (การเพิ่ม และการหักคะแนนความประพฤติ)
3.10 ควรให้ครอบครัวมีส่วนรับทราบปัญหามากขึ้นทั้งนี้ส่วนใหญ่นักเรียนอยู่กับตายายซึ่งดูแล
นักเรียนไม่ค่อยได้
3.11 รณรงค์ไม่ให้ร้านค้าขายบุหรี่และสิ่งเสพติดให้กับนักเรียน
3.12 ประสานหน่วยงานภายนอกให้เข้ามาดูแลเรื่องสิ่งเสพติดในชุมชนโดยรอบ
3.13 พัฒนาสถานที่โดยรอบบริเวณโรงเรียนให้สะอาดไม่ให้มีมุมอับ ไม่ให้มีป่ารก
3.14 ครูทุกคนควรช่วยกันทางานอาศัยเฉพาะครูปกครองจะทาให้งานล่าช้าไม่ทันเหตุการณ์
3.15 การแจ้งเรื่องราวครูต้องแจ้งเรื่องราวไปที่ฝ่ายปกครองทันทีที่พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่
พึงประสงค์หากละเลยจะทาให้ปัญหาบานปลาย
3.16 ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลนักเรียน
3.17 จัดให้มีห้องคลินิกเสมารักษ์
3.18 ผู้บริหารต้องมีการสร้างขวัญกาลังใจให้กับผู้ปฏิบัติงานด้านนี้มากขึ้น
3.19 การออกเยี่ยมบ้านต้องทำ 100 เปอร์เซ็นต์
3.20 ให้ความรู้ผู้ปกครองในการดูแลและตักเตือนนักเรียน
3.21 ให้มีการประสานงานกันมากขึ้นภายในโรงเรียนเนื่องจากยังมีลักษณะต่างคนทำ
3.22 ควรมีมาตรการที่เด็ดขาด เอาจริงกับนักเรียนกลุ่มค้า