|
|
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ARA MODEL: E-PBL MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะ
การแก้ปัญหาของผู้เรียน รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
5 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ARA MODEL: E-PBL MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2)เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ARA MODEL: E-PBL MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ARA MODEL: E-PBL MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4)เพื่อประเมินผลละปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ARA MODEL: E-PBL MODEL เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาของผู้เรียน รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4.1)เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 4.2)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4.3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4.4)เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหา ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4.5)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Developmet) 3 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 A: Analyze needs and design learning (วิเคราะห์ความต้องการและออกแบบการเรียนรู้) ขั้นที่ 2 R: Research to improve learning (วิจัยเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้) ขั้นที่ 3 A: Assessment of learning design (การประเมินการออกแบบการเรียนรู้) กำหนดการวิจัยเป็นขั้นตอน 4 ระยะ คือ 1) ระยะศึกษาวิเคราะห์ (Analysis) = Research : (R1) เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) ระยะการออกแบบ (Design) และการพัฒนา (Development) = Development : (D1) เป็นการออกแบบและพัฒนารูปแบบและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ 3) ระยะการนำไปใช้ (Implement) = Research : (R2) เป็นการทดลองใช้รูปแบบ และ4 )ระยะการประเมินผล(Evaluation) = Development : (D2) ประเมิน ประสิทธิผลรูปแบบ นอกจากนี้ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Methods) และเสริมด้วยการวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) เพื่อตอบคำถามการวิจัยให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนโคกก่อพิทยาคม
ผลการศึกษาพบว่า
รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (ARA MODEL: E-PBL MODEL) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสมและสอดคล้องเชิงโครงสร้าง สามารถนำไปทดลองใช้หาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.70/89.40 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.6963 ซึ่งแสดงว่านักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 69.63
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน เท่ากับ 24.44 และ 35.76 คะแนน ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่าคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูงมาก และคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียน เท่ากับ 8.76 และ 17.04 คะแนนตามลำดับ สูงกว่าก่อนเรียน อย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ E-PBL ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.44
โดยสรุป รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (ARA MODEL: E-PBL MODEL) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถช่วยให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหารายวิชาเคมีเพิ่มเติม 3 เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี มากขึ้น ทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาแก่ผู้เรียน ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะการแก้ปัญหา ตลอดจนพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นต่อไป
|
โพสต์โดย ครูสุกัญญา ทิพรักษ์ : [27 มี.ค. 2563 เวลา 12:15 น.] อ่าน [5135] ไอพี : 101.51.187.155
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡ เปิดอ่าน 19,693 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,946 ครั้ง
| เปิดอ่าน 148,204 ครั้ง
| เปิดอ่าน 42,825 ครั้ง
| เปิดอ่าน 20,051 ครั้ง
| เปิดอ่าน 47,990 ครั้ง
| เปิดอ่าน 14,003 ครั้ง
| เปิดอ่าน 9,592 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,053 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,260 ครั้ง
| เปิดอ่าน 94,307 ครั้ง
| เปิดอ่าน 10,883 ครั้ง
| เปิดอ่าน 77,590 ครั้ง
| เปิดอ่าน 12,858 ครั้ง
| เปิดอ่าน 4,164 ครั้ง
| |
|
เปิดอ่าน 80,428 ครั้ง
| เปิดอ่าน 36,998 ครั้ง
| เปิดอ่าน 13,886 ครั้ง
| เปิดอ่าน 17,989 ครั้ง
| เปิดอ่าน 36,814 ครั้ง
|
|
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|