บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานผลวิธีการปฏิบัติที่ดี ในการนิเทศ ติดตาม ระบบประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานเรียนรวม โรงเรียนต้นแบบเรียนรวม และโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาระยอง เขต 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิธีการในการในการนิเทศติดตาม ระบบประกันคุณภาพภายใน ตามมาตรฐานเรียนรวม เพื่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการจัดการเรียนรวม มีกระบวนการพัฒนา 6 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์ผลรายงานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวมของโรงเรียนต้นแบบเรียนรวม และโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 แหล่งข้อมูลที่ศึกษาได้แก่ รายงานผลการนิเทศ ติดตาม ระบบการประกันคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาเรียนรวม ของโรงเรียนต้นแบบเรียนรวมในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ด้วยวิธีการสังเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นตอนที่ 2 วางแผนพัฒนา ขั้นตอนที่ 3 สร้างเครื่องมือนิเทศ ติดตามระบบงานประกันคุณภาพภายในเพื่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเรียนรวม โรงเรียนต้นแบบเรียนรวม และโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม ขั้นตอนที่ 4 นิเทศติดตามงานประกันคุณภาพภายในเพื่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเรียนรวม โรงเรียนต้นแบบเรียนรวม และโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม โดยการนิเทศแบบกัลยาณมิตร ขั้นตอนที่ 5 สังเคราะห์ผลการนิเทศ ติดตามงานประกันคุณภาพภายในด้วยวิธีการวิเคราะห์แบบอภิมาน (Meta Analysis) และวิธีการสังเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ขั้นตอนที่ 6 การคัดเลือกผลงานวิธีการปฏิบัติที่ดี Best Practices จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการเรียนรวม 2) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเรียนรวม 3) ด้านสื่อ/นวัตกรรมโรงเรียนเรียนเรียน และ 4)
ด้านการวิจัยและพัฒนา การดำเนินงานทั้ง 6 ขั้นตอนปรากฎผลดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การสังเคราะห์รายงานผลการนิเทศ ติดตาม ระบบการประกันคุณภาพ ตามมาตรฐาน
การศึกษาเรียนรวม ของโรงเรียนต้นแบบเรียนรวมและโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม ในสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ในสังกัด
สรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม พบว่า โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม ได้แก่โรงเรียน
1) ร.ร.บ้านมาบช้างนอน 2) ร.ร.บ้านศรีประชา 3) ร.ร.บ้านน้ำใส 4) ร.ร.บ้านเขาชะอางคร่อมคลอง 5) ร.ร.บ้านมะเดื่อ 6) ร.ร.บ้านน้ำกร่อย 7) ร.ร.บ้านทุ่งเค็ด 8) ร.ร.ชุมชนวัดตะเคียนงาม 9) ร.ร.วัดไตรรัตนาราม 10) ร.ร.วัดเนินเขาดิน 11) ร.ร.บ้านหนองไทร 12) ร.ร.บ้านวังหิน 13) ร.ร.วัดสารนารถธรรมาราม 14)ร.ร.วัดบุนนาค 15)ร.ร.บ้านสองสลึง 16) ร.ร.ไทยรัฐวิทยา 43 และ 17) ร.ร.บ้านคลองบางบ่อ โรงเรียนต้นแบบเรียนรวม ได้แก่โรงเรียน 1) ร.ร.บ้านยางเอน 2) ร.ร.บ้านชำฆ้อ 3)ร.ร.บ้านชุมแสง และ4) ร.ร.วัดพลงช้างเผือก ในมาตรฐานที่ 1 ผู้เรียนมีผลการพัฒนาเต็มศักยภาพ อยู่ในระดับระดับคุณภาพ 5 (ดีเยี่ยม) มาตรฐานที 2 ครูปฏิบัติงานเรียนรวมอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล อยู่ในระดับระดับคุณภาพ 5 (ดีเยี่ยม) มาตรฐานที่ 3 มาตรฐานด้านการบริหารอยู่ในระดับระดับคุณภาพ 4 (ดีมาก) มาตรฐานที่ 4 สถานศึกษามีการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรวม อยู่ในระดับคุณภาพ 5 (ดีเยี่ยม) ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนพัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาได้แก่ 1. ผู้เรียนที่เรียนรวมร้อยละ 100 ต้องได้รับการพัฒนาตามศักยภาพและทักษะที่สอดคล้องตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 2. ครูร้อยละ 80 จัดการเรียนร่วมได้ตามมาตรฐานอยู่ในคุณภาพระดับ ดี 3. ผู้บริหารสถานศึกษาเรียนร่วมทุกโรงเรียนสามารถบริหารจัดการโดยใช้โครงสร้าง ซีท (SEAT FRAMEWORK)การบริหารแบบมีส่วนร่วม (SBM) การประยุกต์ระบบ แฟรช (FLASH Model)ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเรียนร่วม จัดสื่อสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับคุณภาพ ดี 4. ชุมชนร้อยละ 80 ร่วมแลกเปลี่ยนสังคมแห่งการเรียนรู้ อยู่ในระดับคุณภาพ ดี และ 5. โรงเรียนต้นแบบเรียนรวมและโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2 มี วิธีปฏิบัติที่ดี (Best Practices) 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริหารจัดการเรียนรวมและเรียนรวม 2) ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเรียนรวม 3) ด้านสื่อ/นวัตกรรมโรงเรียนเรียนเรียนรวม และ 4)ด้านการวิจัยและพัฒนา ขั้นตอนที่ 3 การสร้างเครื่องมือนิเทศติดตามใช้รวบรวมข้อมูล ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านการจัดการศึกษา ด้านสังคมแห่งการเรียนรู้ ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษาและด้านมาตรการส่งเสริม ใช้การประเมินค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) ขั้นตอนที่ 4 การนิเทศติดตามโดยใช้นิเทศแบบกัลยาณมิตรพบว่าสถานศึกษาทุกแห่งมีผลการประเมินทุกมาตรฐานอยู่ในระดับคุณภาพดีเยี่ยม ขั้นตอนที่ 5 ผลการสังเคราะห์ผลการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ได้พิจารณาตามมาตรฐาน 4 ด้านได้แก่ ด้านคุณภาพผู้เรียน ด้านการจัดการศึกษา ด้านสังคมแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา มาตรฐานด้านการส่งเสริม ประเมินภาพรวมสรุปดังนี้
ผลการประเมินด้านคุณภาพผู้เรียน
1.ด้านผู้เรียน
จุดเด่น
ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพแต่ละบุคคล สามารถอยู่ร่วมกับเพื่อนในห้องเรียนได้รวมถึงสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ผู้เรียนได้รับการพัฒนา ทักษะต่างๆ เช่น การอ่านการเขียน การคิดเลข ให้มากขึ้นด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียนแต่ละคน มีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลายตรงตามแผนการการสอนเฉพาะบุคคล (IEP) และใช้กระบวนการเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม
จุดที่ควรพัฒนา
ไม่มีเพราะผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น การอ่าน การเขียน การคิดเลข ให้มากขึ้นด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของผู้เรียน
2.ด้านการจัดการเรียนการสอน
จุดเด่น
ครูมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนร่วมกับครูที่ได้รับการอบรม และพัฒนาให้มีทักษะในการจัดการเรียนร่วม มีการจัดทำแผนการการสอนเฉพาะบุคคล (IEP)ที่สอดคล้องกับแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(IIP)
จุดที่ควรพัฒนา
ควรจัดหาผลิตสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก และใช้เทคโนโลยี ในการพัฒนาผู้เรียนที่มีความจำเป็นต้องการพิเศษอย่างเหมาะสม
3.ด้านการบริหารจัดการเรียนรวม
จุดเด่น
ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจ มีเจตคติและมีวิสัยทัศน์ที่ดี มีการส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการเรียนร่วม มีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SBM) และจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท(SEAT FRAMEWORK)
การประยุกต์ระบบ แฟรช (FLASH Model) ในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเรียนร่วม
จุดที่ควรพัฒนา
ผู้บริหารควรพัฒนากระบวนการเปลี่ยนผ่าน (Trasition)ให้เป็นระบบ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและต่อเนื่อง และเป็นแนวปฏิบัติของสถานศึกษา
4.ด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
จุดเด่น
บุคลากรในโรงเรียนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนรวม และผู้ปกครองให้ความร่วมมือและสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง
จุดที่ควรพัฒนา
การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้มีความหลากหลายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการเรียนรวม เพื่อให้ชุมชน ผู้ปกครองมีส่วนร่วม เข้าถึง และใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นแนวทางการพัฒนาในอนาคต
จากการพัฒนาการจัดการเรียนรวมของสถานศึกษา ได้มีการกำหนดแนวทางในการพัฒนางานด้านการจัดการศึกษาเรียนรวมในอนาคต ดังนี้
- ดำเนินการปรับกิจกรรม เนื้อหา และการวัดและประเมินผลให้เหมาะสมกับสภาพความ
ต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน และเน้นในการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะชีวิต
- มีการส่งเสริม สนับสนุน ยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรด้านการจัดการเรียนร่วมเพื่อให้เกิดขวัญและกำลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน
- ให้การสนับสนุนผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ความต้องการการช่วยเหลือ
- ต้องการให้ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการเรียนรวมจากศูนย์การศึกษาพิเศษ มาให้คำปรึกษาแนะนำด้านการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1.การทำงานแบบมีส่วนร่วมทั้งผู้บริหารระดับสูง ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ต่างให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
2. การนิเทศ ติดตามระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเรียนรวมมีความเป็นกัลยาณมิตร ผู้ให้การนิเทศ และผู้รับการนิเทศต่างให้ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
3. การได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2
บทเรียนที่ได้รับ
1. โรงเรียนสามารถดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนา ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาอยู่
ในระดับดีเป็นระดับดีมาก
2. โรงเรียนร้อยละ 100 มีระบบประกันคุณภาพภายในตามมาตรฐานเรียนร่วมที่เข้มแข็งและ
ยั่งยืน
3. ผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 90 มีความพึงพอใจ
4. โรงเรียนแกนนำจัดการเรียนรวม และโรงเรียนต้นแบบเรียนรวม มีวิธีการปฏิบัติที่ดี
(Best Practices) ดังนี้
ด้านที่ 1 ด้านการบริหารจัดการเรียนรวมและเรียนรวม
- โรงเรียนบ้านชำฆ้อ : การบริหารจัดการเรียนรวมโดยใช้โครงสร้างซีท(SEAT FRAMEWORK)
- โรงเรียนบ้านยางเอน:การบริหารจัดการเรียนรวมโดยใช้หลักคุณธรรม
ด้านที่ 2 ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนเรียนรวม
- โรงเรียนบ้านมะเดื่อ: การพัฒนานักเรียนเรียนร่วมด้วยการสอนแบบโครงการ
(Project Appoach)
- โรงเรียนบ้านชุมแสง: กระบวนการเสริมการอ่าน สร้างสรรค์จินตนาการ
ด้านที่ 3 ด้านสื่อ/นวัตกรรมโรงเรียนเรียนเรียนรวม
- โรงเรียนวัดพลงช้างเผือก:กระดานมหัศจรรย์
- โรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม: วงล้อมหัศจรรย์
- โรงเรียนวัดบุนนาค:พัฒนาสื่อแบบBBL
- โรงเรียนบ้านสองสลึง: ชุดฝึกประสมคำของหนู
- โรงเรียนวัดเนินเขาดิน: พัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาไทย
- โรงเรียนบ้านน้ำกร่อย: ชุดฝึกทักษะการอ่าน การสะกดคำสำหรับเด็กพิเศษ
- โรงเรียนบ้านทุ่งเค็ด: แบบฝึกการอ่าน การสะกดคำ การคิดคำนวณ
- โรงเรียนบ้านน้ำใส: การพัฒนาแบบฝึกการอ่านสำหรับเด็กพิเศษ
- โรงเรียนบ้านคลองบางบ่อ: เสริมการอ่าน การคิดคำนวณ
- โรงเรียนวัดไตรรัตนาราม : ชุดฝึกสะกดคำ สำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้
- โรงเรียนบ้านหนองไทร:ชุดสอนฝึก ย้ำคิด สำหรับเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้
- โรงเรียนบ้านเขาชะอางคร่อมคลอง: สื่อหลากหลาย
- โรงเรียนบ้านวังหิน: สื่อสอนคิด สำหรับเด็กพิเศษ
ด้านที่ 4 ด้านการวิจัยและพัฒนา
- โรงเรียนบ้านศรีประชา: การพัฒนาแบบฝึกทักษะโดยใช้เทคนิคการอ่านเลียนแบบสำหรับ
เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผลกระทบของการสังเคราะห์
หลังจากทราบผลการสังเคราะห์แล้ว ผู้รายงานได้จัดทำเอกสารเพื่อเผยแพร่ให้ทางโรงเรียนต้องเตรียมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษาต่อไป ด้านจุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะด้านผู้เรียนเสนอข้อมูลต่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 2
การนำไปใช้ต่อยอด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2 ร่วมกับโรงเรียนในสังกัดได้วางแผนพัฒนาคุณภาพโดยดำเนินการเป็นระบบกล่าวคือจัดทำแผนงาน/โครงการพัฒนาคุณภาพ ดำเนินการตามโครงการ นิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นโดยดำเนินการดังนี้
1. ติดตามคัดกรองนักเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งจะมีการทดสอบระดับชาติ (NT) และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 3 (O-Net) เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้ารับการทดสอบอีกทั้งยังเป็นการให้นักเรียนได้ภาคภูมิใจในคุณค่าของตนเอง
2. การวัดและประเมินผลต้องสร้างความตระหนักให้กับผู้บริหาร ครู ให้เห็นว่านักเรียนแต่ละคนสามารถพัฒนาได้และสร้างเกณฑ์วัดผลตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
3. ระบบเปลี่ยนผ่านการส่งต่อ ต้องจัดประชุมสัมมนาให้ผู้บริหาร ครูมีความรู้และทักษะในการทำแผนการส่งต่อ