รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง ศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์
โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
โดย
นางสาวศศิประภา สูงขาว
ตำแหน่ง ครู อันดับ คศ.1
โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก อำเภอเมือง น่าน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่อง ศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
ชื่อผู้วิจัย นางสาวศศิประภา สูงขาว
สอนวิชา การเขียนภาพลายเส้น รหัสวิชา ศ 31222 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในโลกยุคปัจจุบันนี้ได้ชื่อว่าเป็นโลกยุคของข้อมูลข่าวสารเนื่องมาจากการติดต่อเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยความเจริญก้าวทางด้านเทคโนโลยีนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นอย่างมากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนจากที่ครูเป็นศูนย์กลางมาสู่นักเรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องได้รับความรู้จากครูในห้องเรียนเท่านั้นแหล่งความรู้อยู่รอบตัวไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ชุมชน เพื่อน ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมหรือการเรียนรู้จากเทคโนโลยีสมัยใหม่
ถ้านำเทคโนโลยีมาใช้ทางด้านการศึกษา ก็จะเรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นต้น ซึ่งจะเห็นว่า เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีในด้านใดก็จะเรียกเทคโนโลยีด้านนั้น เมื่อมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานในส่วนต่างๆของวงการศึกษา การที่จะศึกษาถึง องค์ประกอบต่างๆในเทคโนโลยีการศึกษา จึงจำเป็นต้อง ทราบความหมายของคำต่างๆเหล่านี้ให้เข้าใจอย่างชัดเจนเสียก่อน รวมถึงพัฒนาการระยะต่างๆของเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อเป็นการศึกษาถึงความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านนี้ทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ รวมถึงความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี การศึกษา
เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
เทคโนโลยีสมัยใหม่การศึกษา ในปัจจุบันการดำเนินกิจการงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพจะใช้เทคโนโลยีเข้าไปช่วยเป็นส่วนใหญ่ เทคโนโลยีจึงมีความเกี่ยวข้องกับระบบงานด้านต่าง ๆทุกแขนง ถ้านำไปใช้แก้ปัญหาในแขนงใด จะเรียกเทคโนโลยีในด้านนั้น เช่น เทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีทางการเกษตร เทคโนโลยีทางการอุตสาหกรรม เป็นต้น ในวงการศึกษาก็เช่นเดียวกัน มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขจึงเกิดเทคโนโลยีทางการศึกษาขึ้น
การศึกษา หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้สึก การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างจรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต
ปัจจุบันจะเห็นว่าเทคโนโลยีมีอิทธิพลในทุกๆวงการรวมไปถึงวงการศึกษา ที่นักเรียนแต่ละคนล้วนมีเทคดนโลยีในมือ นั้นคือสมาร์ทโฟน หรือโทรศัพท์มือถือนั้นเอง ที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดดภายในระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดึงดูดให้ผู้เรียนอยากที่จะเรียนรู้ตลอดเวลาด้วยแอพริเคชั้นใหม่ๆ ทั้งภาพและเสียง เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวตอก๋ย่อมมีการแลกเปลี่ยน การแลกเปลี่ยยนนั้นก็คือ ตำรา หนังสือ คู่มือ วารสาร ที่เป็นสิ่งที่ถูกลืม และไม่น่าสนใจสำหรับผู้เรียนอีกต่อไป จึงมีการดึงเทคโนโลยีเข้ามาใช้ประกอบกับการจัดการเรียนรู้เพื่อกระตุ้น ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนในสังคมปัจจุบัน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้นมีความสำคัญและจำเป็นอย่ายิ่งที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผ่านเทคโนโลยี ที่ผู้วิจัยได้จัดทำและนำมาปรับใช้คือ QR code ย่อมากจาก Quick Response Code แปลว่า โค้ดที่มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว สามารถเก็บข้อมูล ได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข และ Binary เช่น ชื่อเว็บไซต์, เบอร์โทรศัพท์, ข้อความ, E-mail ฯลฯ และมีการแปลงข้อมูล (Encode) และถอดรหัส (Decode) ด้วยการใช้รูปแบบ 2D ด้วย ซอฟต์แวร์การถอดรหัสจากภาพหรือวีดีโอหลักการทำงานของ QR Code QR Code มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Barcode ที่อยู่บนกล่องหรือผลิตภัณฑ์ทั่วไป แต่การอ่าน Barcode จะต้องใช้เครื่องสแกนยิงเลเซอร์ จากนั้นเครื่องสแกนก็จะแปลง Barcode เป็นข้อมูลสินค้าชิ้นนั้นๆ ส่วนการอ่าน QR Code นั้นสะดวกกว่า เพียงใช้โทรศัพท์มือถือที่มีกล้องและโปรแกรม QR Code Reader เพื่อใช้ถ่ายภาพ QR Code จากนั้นโปรแกรมจะประมวลผล QR Code เป็นข้อมูลต้นฉบับ เช่น ชื่อเว็บไซต์ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อความ เป็นต้น แสดงผลบนโทรศัพท์มือถือได้โดยตรงประโยชน์ของ QR Codeปัจจุบันสามารถใช้งาน QR Code ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ใช้แปลง URL หรือชื่อเว็บเพจที่ยาวหรือยากต่อการจดจำในรูปแบบภาพ เมื่อถ่ายภาพ QR Code ดังกล่าวแทนการพิมพ์ URL ด้วยสมาร์ทโฟนก็จะลิงค์เข้าสู่หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ทันที หรือการเก็บบันทึกข้อมูลชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล บนนามบัตรลงในโทรศัพท์มือถือ จากเดิมที่ต้องพิมพ์ข้อมูล ก็เปลี่ยนมาเป็นการถ่ายภาพ QR Code แล้วข้อมูลก็จะบันทึกลงในโทรศัพท์ได้ทันที นอกจากนี้ QR Code ยังถูกนำไปใช้ในการโฆษณาอย่างกว้างขวาง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น)
ผู้วิจัยตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น และพร้อมที่จะหาแนวทางแก้ไข ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้คิดหาวิธีการเพื่อพัฒนาทักษะทางด้านศิลปะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้ดีขึ้น โดยใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้สมัยใหม่ มีความน่าสนใจ สอดแทรกรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีความหลากหลาย เช่น กิจกรรมกลุ่ม เพื่อนช่วยเพื่อน การฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง การนำเสนอหน้าชั้นเรียน เป็นต้น จัดทำสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาและตอบสนองความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไป ต่อยอดและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
2.1 เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code
2.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
3. ขอบเขตของการวิจัย
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
3.1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษกจำนวน 32 คน
3.1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่ม
3.2 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย คือ การใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code
3.3 สิ่งที่สนใจศึกษา
3.3.1 นวัตกรรมที่ใช้ ได้แก่ สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
3.3.2 ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
1) ทักษะการวาดเส้น
2) ความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
3) ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 (ระหว่าง เดือนตุลาคม ถึง เดือนมีนาคม)
4. วิธีดำเนินการวิจัย
4.1 ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
1) ประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ จำนวน 32 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
2) กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษกจำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่ม
4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1) สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
2) แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก
3) นวัตกรรม ได้แก่ สื่อการสอนผ่าน QR-code
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 แผนศิลป์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบสุ่ม ผู้วิจัยเริ่มดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 และสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2562 โดยการสอน สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง การสำรวจปัญหาเบื้องต้น พบว่า นักเรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียน และมักจะสอบถามถึงการสอนในเรื่องที่ผ่านไปแล้วแบบซ้ำๆ ขาดสมาธิในการเรียน และที่สำคัญนักเรียนขาดทักษะทางด้านการวาดเส้นซึ่งเป็นพื้นฐานทางด้านศิลปะ ผู้วิจัยจึงได้นำปัญหานี้มาวิเคราะห์หาสาเหตุโดยได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปศึกษา เพื่อช่วยกันหาแนวทางแก้ไข และเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาโดยใช้เทคโนโลยี QR-code มาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูล แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก จำนวน 15 คน ฉบับเพื่อนำสู่การประเมินผลการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อต่อยอดและพัฒนาปรับปรุงต่อไป
5. การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย
หลังจากเก็บรวบรวมข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยได้นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติดังต่อไปนี้
1. ค่าร้อยละ (Percentage) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 104)
P =
เมื่อ P แทน ร้อยละ
f แทน ความถี่ที่ต้องการให้เป็นร้อยละ
N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด
2. ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean: ) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 105)
=
เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ย
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
n แทน จำนวนคะแนนในกลุ่ม
3. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : S.D.) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 106)
S.D. =
เมื่อ S.D. แทน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง
X แทน ค่าของข้อมูลแต่ละตัวหรือจุดกลางชั้นแต่ละชั้น
n แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง
แทน ผลรวม
6. ผลการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก จำนวน 15 คน ผู้วิจัยขอเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. ผลการประเมินชิ้นงานการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก ผ่านเกณฑ์ 7/10 คิดเป็นร้อยละ 86.66
2. นักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก โดยรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.87 ซึ่งมีความพึงพอใจมากที่สุด
7. อภิปรายผลวิจัย
จากผลการวิจัยดังกล่าว มีประเด็นสำคัญที่สามารถนำมาอภิปราย ได้ดังนี้
1. ค่าเฉลี่ย ( ) ร้อยละ (%) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของคะแนนทักษะการวาดเส้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 8 ชิ้นงาน ผ่านเกณฑ์ 7/10 คิดเป็นร้อยละ 86.66 แสดงให้เห็นว่า สื่อการสอน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการทำงานตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้เรียนมีการแสวงหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ส่งผลให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในการสร้างสรรค์ผลงานการวาดเส้นต่อไป
2. นักเรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก โดยรวมมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.87 ซึ่งมีความพึงพอใจมากที่สุด โดยเรียงลำดับความพึงพอใจดังนี้
สื่อการเรียนรู้มีเนื้อหาที่ไม่ซับซ้อนเข้าใจง่าย นักเรียนมีความสนใจในการทำกิจกรรมผ่านการใช้สื่อ QR ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 5 ซึ่งมีความพึงพอใจมากที่สุด ลำดับต่อไปสื่อการเรียนรู้มีความหลากหลาย แปลกใหม่ และน่าสนใจ ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.93 นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขสนุกสนาน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.86 ซึ่งทั้ง 3 ลำดับนี้เป็นส่วนที่นักเรียนพึงพอใจมากที่สุดและอีก 7 ลำดับซึ่งนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดเช่นกันนั้น สรุปผลได้ว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก ระดับมากที่สุด
8. ข้อเสนอแนะ
จากงานวิจัย เรื่อง ความพึงพอใจในการใช้สื่อการสอนผ่าน QR-code เพื่อพัฒนาทักษะการวาดเส้น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนศิลป์ โรงเรียนไตรเขตประชาสามัคคีรัชมังคลาภิเษก ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
8.1 ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัย
8.1.1 การกำหนดเวลาในการทำกิจกรรมควรขึ้นอยู่กับสภาพความสามารถและความพร้อมของนักเรียนแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน นักเรียนบางคนอาจมีความสามารถในการเรียนรู้มาก แต่นักเรียนบางคนอาจมีน้อย อาจจะมีการยืดหยุ่นเวลาตามความเหมาะสม
8.1.2 ควรให้นักเรียนเขียนสะท้อนคิดสิ่งที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อให้ครูได้รับรู้ถึงข้อดีและข้อเสียของกิจกรรม แล้วนำมาปรับในกิจกรรมอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น