ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีสุขภาพดี
ผู้วิจัย นางปิยรัตน์ เรืองวงศ์วิทยา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ
โรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีสุขภาพดี 2) ศึกษาประสิทธิ
ภาพของรูปแบบการสอนสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีสุขภาพดี 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีสุขภาพดี 4) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีสุขภาพดี 5) สำรวจความพึงพอใจของครูและนักเรียนหลังการใช้รูปแบบการสอนสุขศึกษา เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่องปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีสุขภาพดี การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)
กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งแก้ว สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 คน เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์
2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 4) แบบ
สำรวจความพึงพอใจของครูและนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 5 เรื่อง ปฏิบัติตัวอย่างไรให้มีสุขภาพดี มีชื่อว่า OACA Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ ทักษะกระบวนการ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุน และหลักการตอบสนอง ซึ่งกระบวนการเรียนการสอนมี 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Orientation: O) 2) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Analysis: A) 3) ขั้นสร้างความรู้ (Construction: C) และ 4) ขั้นนำไปใช้ (Application: A)
2. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.25/88.14 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่
กำหนดไว้
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนตาม
รูปแบบการสอนสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์คิด
เป็นร้อยละ 88.24 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
5. ครูและนักเรียนมีความพึงพอใจหลังการใช้รูปแบบการสอนสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการ
คิดวิเคราะห์อยู่ในระดับมาก นอกจากนี้ยังพบว่า นักเรียนสามารถสร้างชิ้นงาน โดยใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์บนพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจด้วยตนเองส่งผลให้ชิ้นงานมีคุณภาพ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรายวิชาอื่นได้
คำสำคัญ รูปแบบการสอนสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์