ชื่อผู้ประเมิน นางสาวพยัตติกา ห้วยจันทร์ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองนาเวียง
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีที่รายงาน 2561
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อรายงานการประเมินโครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ โรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) ของโครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ ทั้งนี้เพื่อนำผลการประเมินมาเป็นแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงการดำเนินงาน ตามโครงการ โดยทำการประเมินกับแหล่งข้อมูล ประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน ผู้สนับสนุน จำนวน 9 คน ผู้ปกครอง จำนวน 46 คน และนักเรียน จำนวน 46 คน รวมทั้งสิ้น 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสรุปข้อมูล จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็นของ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้สนับสนุน ตามโครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ เกี่ยวกับ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองตามโครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 3 แบบสัมภาษณ์ของนักเรียน ตามโครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนตามโครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ เกี่ยวกับ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ฉบับที่ 5 แบบสรุปผลการประเมินด้านทักษะภาษาอังกฤษเน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT) ตามแบบรายงานของงานส่งเสริมและพัฒนาด้านทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT) ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ และฉบับที่ 6 แบบบันทึกการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษ ที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา บรรยายสรุป ในเชิงพรรณนา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในด้านบริบทของโครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ โรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า โครงการ ได้กำหนดหลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโครงการนี้สามารถยกระดับคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษได้ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน การนำมัลติมิเดีย DynEd (ไดเนท) มาใช้ในการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูภาษาอังกฤษได้ ความเหมาะสมของกิจกรรมที่ใช้ในการดำเนินโครงการ และความเป็นไปได้ของการดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ระดับความคิดเห็นในด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ โรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการมีศักยภาพและความพร้อม ในการดำเนินโครงการ บุคลากรในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ รองลงมาคือ งบประมาณที่ใช้มีความเหมาะสม ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสม วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้เพียงพอในการดำเนินกิจกรรม และคู่มือดำเนินโครงการ มีรายละเอียดชัดเจน ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ
3.1 ในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน และผู้สนับสนุน พบว่า ระดับความคิดเห็นในด้านกระบวนการของโครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ โรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า โรงเรียนเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์การดำเนินการให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบอย่างทั่วถึง รองลงมาคือ แผนและปฏิทินการปฏิบัติงานของแต่ละกิจกรรมมีความชัดเจนและเหมาะสม โรงเรียนได้นำผลการประเมินมาปรับปรุง และแก้ไขพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และโรงเรียนได้ดำเนินโครงการตามแผนและปฏิทินปฏิบัติงานที่กำหนดไว้ ตามลำดับ
3.2 ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ระดับความคิดเห็นในด้านกระบวนการของโครงการการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ โรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์โครงการให้ผู้ปกครองได้รับทราบ รองลงมาคือ ผู้ปกครองเข้าร่วมประชุมชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์และการดำเนินการในกิจกรรมของโครงการ และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรมของโครงการ ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ
4.1 ด้านทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT)
ในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้สนับสนุน มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการพูดภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี รองลงมาคือ นักเรียนส่วนใหญ่ มีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษอยู่ในระดับดี และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาอังกฤษด้วยสื่อ ตามลำดับ
ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมทักษะการฟัง โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การ เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า การเรียนรู้จากสื่อมัลติมิเตีย DynEd (ไดเนท) รับรู้การออกเสียงและสำเนียงการพูด รองลงมาคือ กิจกรรมทักทาย สบายๆ ด้วยภาษาอังกฤษ (Say Hi By English Fun) เพื่อ (ฝึกทักษะการฟังและ การสนทนากลับ) และกิจกรรมฟังนิทานภาษาอังกฤษ ตามลำดับ
ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมทักษะการพูด โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า กิจกรรมทักทายภาษาอังกฤษหน้าเสาธง รองลงมาคือ การเรียนรู้จากสื่อมัลติมิเตีย DynEd (ไดเนท) รับรู้การออกเสียงและสำเนียงการพูด และกิจกรรมร้องเพลงเป็นภาษาอังกฤษ ตามลำดับ
ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า กิจกรรมทำคำศัพท์ และบทสนทนาที่สำคัญ ติดตามมุมห้อง มุมเสา ต้นไม้ หรือระหว่างทางเดินเข้าโรงเรียน รองลงมาคือ การเรียนรู้จากสื่อมัลติมิเตีย DynEd (ไดเนท) รับรู้การออกเสียงและสำเนียงการพูด จัดมุมภาษาอังกฤษน่ารู้ ตามลำดับ
ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมทักษะการเขียน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า กิจกรรมเขียนคำศัพท์ และสร้างประโยคอย่างง่าย รองลงมาคือ กิจกรรมเขียนคำศัพท์ และสร้างประโยคอย่างง่าย และกิจกรรมคัดลอกบทสนทนา หรือการเขียนตามต้นฉบับ ตามลำดับ
4.2 ด้านความพึงพอใจต่อผลผลิตของการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์
ในภาพรวม ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้สนับสนุน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การเมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า นักเรียนสามารถนำทักษะภาษาอังกฤษไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ รองลงมาคือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรมมีการฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ครูมีความรู้ และความสามารถออกแบบกิจกรรม ที่เสริมประสบการณ์ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ครูมีความรู้ ความเข้าใจ ด้านทักษะภาษาอังกฤษแนวใหม่ เพื่อการสื่อสาร (DynEd) และนักเรียนเกิดทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน และทักษะการเขียนด้านภาษาอังกฤษ ตามลำดับ
ในภาพรวม ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายข้อ 3 อันดับแรก พบว่า นักเรียนเกิดทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการอ่าน ทักษะและการเขียนด้านภาษาอังกฤษ รองลงมาคือ โรงเรียนมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการรู้นวัตกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ด้วยสื่อมัลติมิเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ และครูมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถออกแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแนวใหม่เพื่อการสื่อสาร (DynEd) ตามลำดับ
4.3 ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา โรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 6 ในปีการศึกษา 2559 - 2560
1) แบบสรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระภาษาอังกฤษ
พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างปีการศึกษา 2559 กับปีการศึกษา 2560 มีผลการเรียนอยู่ในระดับ 4 ปีการศึกษา 2559 ร้อยละ 31.11 เพิ่มเป็นร้อยละ 52.17 ในปีการศึกษา 2560
2) แบบสรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเทียบระหว่างปีการศึกษา 2559 กับ
ปีการศึกษา 2560 พบว่า ในสาระภาษาอังกฤษ มีคะแนนพัฒนาการเพิ่มขึ้น 4.59
3) แบบสรุปผลการทดสอบระดับทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT) ด้วยโปรแกรมสื่อมัลติมิเดีย (DynEd) ไดเนท
ผลการทดสอบระดับทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT) ด้วยโปรแกรมสื่อมัลติมิเดีย (DynEd) ไดเนทโรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อเทียบระหว่างปีการศึกษา 2559 กับ ปีการศึกษา 2560 พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่ มีผลการทดสอบอยู่ในระดับ Very good (ดีมาก) คิดเป็นร้อยละ 93.33 และ 93.48 ตามลำดับ
4) แบบสรุประดับความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT) ด้วยโปรแกรมสื่อมัลติมิเดีย (DynEd) ไดเนท ตามแนวทาง กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป หรือ CEFR
พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับความสามารถด้านทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสาร (Communicative Language Teaching : CLT) ด้วยโปรแกรมสื่อมัลติมิเดีย (DynEd) ไดเนท ตามแนวทาง กรอบอ้างอิงความสามารถทางภาษาของสหภาพยุโรป หรือ CEFR โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐานด้วยโปรแกรม (DynEd) ไดเนท ผ่านเกณฑ์ระดับความสามารถทางภาษาของผู้สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา (ป.6) A1 คิดเป็นร้อยละ 100
5) แบบสรุปการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์
พบว่า ครูและบุคลากรทางการศึกษา มีระดับความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ โรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ ส่วนมากอยู่ในระดับดี จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 57.14
6) แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลการนิเทศตามหัวข้อการประเมินนิเทศการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษา
พบว่า การประเมินนิเทศการสอนของครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทักษะภาษาอังกฤษที่เน้นการสื่อสารด้วยสื่อมัลติมีเดีย DynEd (ไดเนท) ผ่านสื่อการสอนแบบออนไลน์ โรงเรียนบ้านหนองนาเวียง อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณารายด้าน 3 อันดับแรก พบว่า บุคลิกภาพของครู รองลงมาคือ การเตรียมการจัดการเรียนรู้ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การใช้สื่อการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และการดำเนินการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ