การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชา ว30241 ชีววิทยา 1 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้ได้ประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังจากการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 7 แผนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ใช้แบบแผนในการวิจัยแบบ (One group pre-test post-test design) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสรุปผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.31/82.97 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80
2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 75.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 5.26 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์พัฒนาการระดับสูง
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.48