บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้แก่ (2.1) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ก่อนและ หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2.2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ (2.3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเทศบาล ๑ (บูรพาวิทยากร) สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครราชสีมา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (RFFPCP Model) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัด การเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามเกณฑ์ 80/80 ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t - test) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (RFFPCP Model) มีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 6 ขั้นตอน คือ 1) ทบทวนความรู้เดิม (Review : R) 2) ขั้นแสวงหาความรู้ (Finding of Knowledge : F) 3) ขั้นสรุปความรู้ (Finalized : F) 4) ขั้นฝึกทักษะ (Practice : P) 5) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ (Connections : C) 6) ขั้นแสดงผลงาน (Performance : P) และผลที่นักเรียนได้รับจากการเรียนรู้ ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยที่รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (RFFPCP Model) ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.44/82.15 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สรุปได้ดังนี้
2.1 ความสามารถในการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์หลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (RFFPCP Model) โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด