ชื่องานวิจัย ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Think Pair Share) ที่มีต่อ
ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กอายุ 3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้อย เทศบาลตำบลถาวร จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อผู้วิจัย นางสายฝน เศษสุวรรณ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
ปีที่วิจัย 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กอายุ 3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้อย เทศบาลตำบลถาวร จังหวัดบุรีรัมย์ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โดยการจัดกิจกรรม
เกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Think Pair Share) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Think Pair Share) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กอายุ 3 ปี โดยการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Think Pair Share)
ดำเนินการโดยใช้กลุ่มเป้าหมายคือ เด็กอายุ 3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้อย เทศบาลตำบลถาวร จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ คู่มือการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Think Pair Share) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบวัดความพึงพอใจของเด็กอายุ 3 ปี ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Think Pair Share) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test)
ผลการวิจัยพบว่า เด็กอายุ 3 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านน้อย เทศบาลตำบลถาวร จังหวัดบุรีรัมย์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Think Pair Share) มีความสามารถในการแก้ปัญหา ผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Think Pair Share) พบว่าหลังการจัดประสบการณ์เด็กมีคะแนนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เด็กมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาแบบร่วมมือ (Think Pair Share) อยู่ในระดับมาก