เรื่อง การเงิน
ในระบบเศรษฐกิจหนึ่ง ๆ จำเป็นต้องอาศัยเงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
ใช้ชำระเป็นค่าซื้อสินค้าและบริการ หรือชำระเพื่อซื้อสินทรัพย์ที่มีค่า หรือชำระหนี้สิน รัฐบาลแต่ละประเทศจึงต้องมีบทบาทในการกำกับตรวจตราการหมุนเวียนของปริมาณเงิน รวมทั้งอนุญาตให้มีการจัดตั้งสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งสถาบันการเงินอื่น ๆ เพื่อทำหน้าที่ทางด้านการเงินต่าง ๆ เช่น การรับฝากเงิน ถอนเงิน การให้กู้ยืม รวมทั้งการประกอบธุรกรรมที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ
1) ความหมายของเงิน
เงิน คือ สิ่งที่ทุกคนในสังคมยอมรับกันในขณะนั้นให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และใช้วัดมูลค่าของสินค้าและบริการทุกชนิด
2) หน้าที่ของเงิน เงินมีหน้าที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ ดังนี้
เงินเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
เงินจะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการต่าง ๆ ทำให้
ทุกคนมีเสรีภาพในการเลือก เพราะการมีเงินทำให้เกิดอำนาจซื้อ
เงินเป็นมาตรฐานในการเทียบค่าสมัยที่มนุษย์ใช้ระบบแลกเปลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของ มนุษย์ต้องยุ่งยากอยู่มาก เช่น นำข้าวสาร 1 ถัง ไปแลกวัวได้เพียง 1 ขา และเจ้าของวัวก็จะไม่ยอมแลก เพราะ
ต้องตัดขาวัว
3) ปริมาณเงิน
ปริมาณเงินหรือในทางเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า อุปทานของเงิน หมายถึง เงินที่รัฐบาลผลิตออกมาและหมุนเวียนอยู่ในมือประชาชน เอกชน ห้างร้าน และบริษัทต่าง ๆ รวมทั้งเงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ และเงินฝากประจำของประชาชน ในระยะเวลาหนึ่ง