ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไข้เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มาตรา 22 ระบุไว้ว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคน มีความสามารถเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ และมาตรา 24 ระบุว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้ มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ จากประสบการณ์จริงฝึกการปฏิบัติให้ทำได้คิดเป็นทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้ อย่างต่อเนื่องจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้ทำการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งผู้สอน และผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมจากสื่อการเรียนการสอน และแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีสาระสำคัญที่มุ่งเน้นการศึกษาให้จัดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สถานศึกษานำไปใช้เป็นกรอบทิศทางในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาเด็ก และเยาวชนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีคุณภาพด้านความรู้ และทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลง และแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต วิชาประวัติศาสตร์ตามกรอบหลักสูตรส่งเสริมกระบวนการคิด การสืบเสาะหาความรู้การแก้ปัญหา ความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ การนำไปใช้ในชีวิต ร่วมทั้งส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตในสังคมไทย (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551: 3)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (2546 : 26) มีสาระสำคัญที่มุ่งเน้นการศึกษาให้เป็นไปเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และมีวัฒนธรรมที่ดีงาม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ในมาตราที่ 27 ได้ระบุให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ และให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ แนวคิดนี้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นครูจึงต้องหาแนวทางให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างองค์ความรู้โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน การปฏิบัติกิจกรรมอย่างมีความสุข เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถนำไปสู่การค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิตของผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนที่จะสามารถส่งเสริมคุณภาพนั้นจึงถูกกำหนดไว้ในหมวด 4 แนวการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งสำนักนโยบายและแผนการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม (2542 : 12) กล่าวไว้ว่า การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษา ในเรื่องของความรู้เรื่องเกี่ยวกับตน และความสัมพันธ์ของตนกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่เน้นให้การศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิต และสอดคล้องกับจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ที่มุ่งเน้นให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี มีทักษะการทำงานอาชีพสุจริต มีทักษะการจัดการ ทำงานเป็นระบบ และมีกลยุทธ์ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เห็นคุณค่าของงานอาชีพสุจริต เห็นแนวทางในการประกอบอาชีพ เลือกใช้เทคโนโลยี และเทคโนโลยีสารสนเทศได้เหมาะสมกับงาน และอย่างถูกต้อง มีคุณธรรม สามารถคิดออกแบบ สร้าง และพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือวิธีการใหม่ในการทำงาน ทำงานด้วยความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดออม มุ่งมั่น อดทน ใช้พลังงาน ทรัพยากรธรรม และสิ่งแวดล้อมอย่างคุ้มค่า และถูกวิธี
จากสภาพปัญหาที่พบดังกล่าวผู้รายงานจึงเห็นสมควรที่จะดำเนินการแก้ปัญหาโดยการใช้ สื่อการเรียน การสอน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจ เกิดการเรียนรู้และเพื่อต้องการให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหา วิชา งานเกษตร ได้ดียิ่งขึ้น ข้าพเจ้าจึงจัดทำเอกสารประกอบการเรียนที่มีเนื้อหา กิจกรรม มีภาพที่แสดงถึงเรื่องต่างๆได้อย่างชัดเจน การจัดการเรียน การสอนในปัจจุบันนี้ต้องมีการนำสื่อการเรียน การสอนเข้ามาช่วยให้การเรียนรู้ของนักเรียนได้เกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้การเลือกสื่อและนำสื่อมาใช้ในการเรียน การสอนจึงมีความสำคัญมาก เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการใช้สื่อการสอนจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น การใช้สื่อการสอนนั้นมุ่งทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นการศึกษาเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางให้ครูอาจารย์ และผู้สอนสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้บังเกิดผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน (วรวุธ เหล็กหมื่นไวย. 2551: 1- 2)
วัตถุประสงค์ของการพัฒนา
1. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระหว่างก่อนเรียน และหลังเรียน จากการใช้เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ วิชา การงานอาชีพ 6 (งานเกษตร 2 ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
2. เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ วิชา การงานอาชีพ 6 (งานเกษตร 2) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เรื่อง ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80
3. ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนเอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ วิชา การงานอาชีพ 6 (งานเกษตร 2) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
สมมติฐาน
1. การจัดการเรียน การสอนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ วิชา การงานอาชีพ 6 (งานเกษตร 2 ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เรื่อง ที่ผู้รายงานจัดทำขึ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน
2. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ วิชา การงานอาชีพ 6 (งานเกษตร 2 ) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน8 เรื่อง ที่ผลิตและพัฒนาขึ้น มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ : ประสิทธิผลลัพธ์สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80
3. ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ วิชา การงานอาชีพ 6 (งานเกษตร 2) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เรื่อง ในคุณลักษณะ ที่กำหนดไว้มีค่าเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 %