รายงานผลงานหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ในงาน Academic Symposium 2018
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1
1. ประเภทของผลงานหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
งานนโยบายที่หน่วยงานดำเนินการ √ ครูสอนดี สอนเก่ง
2. ชื่อผลงานหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์
3. ชื่อเจ้าของผลงานหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
นางรัตนา จามพฤกษ์ ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านดอยคำ
4. ที่มาและความสำคัญหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต วิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยี เครื่องมือเครื่องใช้และผลผลิตต่าง ๆ ที่มนุษย์ได้ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตและการทำงาน เหล่านี้ล้วนเป็นผลของความรู้วิทยาศาสตร์ ผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์และศาสตร์อื่น ๆ วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งคิดเป็นเหตุเป็นผลคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดวิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถใน การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและมีประจักษ์พยานที่ตรวจสอบได้ วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (knowledge-based society) ดังนั้นทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับ การพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ เทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นสามารถนำความรู้ไปใช้อย่างมีเหตุผลสร้างสรรค์และมีคุณธรรม (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551:92) แสดงให้เห็นว่าวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญวิชาหนึ่งที่นักเรียนทุกคนจะต้องเรียนรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในธรรมชาติและเทคโนโลยีสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีเหตุผล
ในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนบ้านดอยคำ จากการศึกษาข้อมูลของนักเรียนเมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การจัด การเรียนรู้ยังไม่สามารถที่จะพัฒนาผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ ทั้งนี้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนยังอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ โดยมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา (Local Assessment System : LAS) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2560 พบว่า นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 52.00 และจำนวนนักเรียนร้อยละ 90 ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งของคะแนนเต็ม ทั้งนี้จากผล การวิเคราะห์จุดพัฒนาของโรงเรียน พบว่า สารระสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิต นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 44.51 ซึ่งได้คะแนนต่ำที่สุด และยังพบว่า การจัดการเรียนรู้ยังไม่สนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน การจัดการเรียนรู้ยังเป็นลักษณะที่ให้นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ในรูปแบบเดียวกัน นักเรียนเก่ง ปานกลางและอ่อนไม่ได้รับการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพ
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ ซึ่งเป็นหน่วยการเรียนรู้ใน สารระสิ่งมีชีวิตและกระบวนการดำรงชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เพื่อมุ่งให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาให้เต็มตามศักยภาพและเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
5. วัตถุประสงค์ของผลงานหรือแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
1. เพื่อให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ผ่านตามเป้าหมายที่กำหนด
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การเจริญเติบโตและระบบอวัยวะภายในของมนุษย์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6