1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
จากผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน ระหว่างก่อนเรียนและภายหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภายหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียน สอดคล้องกับงานวิจัยของนักวิชาการอื่นๆ ที่ได้นำแบบฝึกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เช่น ผลงานการวิจัยของ ศรีสุข ชีพพานิชย์ (2553) ได้ศึกษาความคิดรวบยอด เรื่อง การคูณและการหารเศษส่วนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านในสอย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 16 คน ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนร้อยละ 87.50 มีความคิดรวบยอด เรื่อง การคูณและการหารเศษส่วน โดย ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 วราภรณ์ ระบาเลิศ (2552 : 108-109) ได้ศึกษาผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 91.09/81.60 ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 0.6950 ปวิตตรา แสงจันทร์ (2555 : 10-11) ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้รูปแบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ ซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียนก่อนการ จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มาลินี คำชมพู (2554: 181) ได้ศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การคูณ โดยใช้แบบฝึกกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การคูณ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่4 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ซึ่งเพิ่มขึ้น 9.79 กุหลาบ สีชาลี (2556 : 8-9) ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแก้โจทย์ปัญหา การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 วิทยา เผือกชาวนา (2556 : 10-11) ได้ศึกษาการสอนซ่อมเสริม เรื่อง สมการและการแก้สมการ โดยใช้แบบฝึกทักษะสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากคะแนนแบบทดสอบหลังเรียน ( 19.11 2  ) สูงกว่า คะแนนแบบทดสอบ ก่อนเรียน ( 4.25 1  ) ราชัญ กาไชย (2555 : 76) ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอัตราส่วนและ ร้อยละ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ผลการหาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เรื่องอัตราส่วน และร้อยละนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองงาย มีค่า E1/E2 เป็น 89.35 / 82.35 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ไว้คือ 80/80 คะแนนผลการทดสอบหลังเรียนเรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองงาย มีคะแนนค่าเฉลี่ยร้อยละระหว่าง 73.33 93.33 นักเรียนที่ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ( ร้อยละ 70 ) จำนวน 26 คน มีค่าเท่ากับร้อยละ 96.30 และนักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ กำหนด ( ร้อยละ 70 ) จำนวน 1 คน มีค่าเท่ากับร้อยละ 3.70
2. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน มีความพึงพอใจในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ วราภรณ์ ระบาเลิศ (2552 : 108-109) ได้ศึกษาผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่อง ตัวประกอบของจำนวนนับ โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ปวิตตรา แสงจันทร์ (2555 : 10-11) ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ โดยใช้รูปแบบซิปปาประกอบแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้วิธีสอนแบบซิปปาอยู่ในระดับมาก มาลินี คำชมพู (2554: 181) ได้ศึกษาการพัฒนาการเรียนรู้ เรื่อง การคูณ โดยใช้แบบฝึกกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ต่อการพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง การคูณโดยใช้ แบบฝึก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ราชัญ กาไชย (2555 : 76) ได้ศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องอัตราส่วนและ ร้อยละ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองงาย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะ คณิตศาสตร์เรื่องอัตราส่วนและร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านเมืองงาย โดย ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56
ข้อเสนอแนะ
จาการศึกษาวิจัย เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแร่วิทยา ซึ่งจากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้แบบฝึกทักษะ ในการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยน ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทำให้นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อควรคำนึงในการนำแบบฝึกดังกล่าวไปใช้ และข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1) การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ควรเป็นกิจกรรมที่สนุกสนานบ้าง กระชับ ไม่ควรเน้นวิชาการมากเกินไป
2) ควรใช้เวลาในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในระยะยาวเพื่อความเข้าใจและความคงทนในการใช้การคิดวิเคราะห์ของนักเรียน
2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1) ควรมีการศึกษาถึงผลที่เกิดขึ้นจากการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ด้านการทำงานกลุ่ม ความรับผิดชอบ และความมีระเบียบวินัยในการทำงาน
2) ควรนำรูปแบบการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ร่วมกับการสอนแบบ STAD ไปใช้กับเนื้อหาสาระอื่นๆ ในรายวิชาคณิตศาสตร์