ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้วิจัย กฤษณ์ จันทร์ทับ
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์)โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานศิลปะ 2)เพื่อร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 63)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 64)เพื่อประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้วิธีจับฉลากได้ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 27 คนภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนผาสุกมณีจักรมิตรภาพที่ 116 นครปากเกร็ด 2เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย1) แบบสอบถามความคิดเห็น 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 63) แบบประเมินความเหมาะสม4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ 6) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้โครงงานศิลปะและ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) โดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานศิลปะ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงพื้นที่
การจัดการเรียนการสอนควรให้ผู้เรียนเกิดความท้าท้ายสู่การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้ผู้เรียนอยากเรียนโดยแสวงหาความรู้จากการสืบค้นข้อมูล จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆโดยใช้การเรียนแบบโครงงานเป็นกิจกรรมเน้นการมีส่วนร่วมในการเลือกและตัดสินใจ ช่วยเพิ่มความสนใจและแรงจูงใจให้นักเรียนซึ่งมีความรู้ต่างกัน ได้แสดงออกอย่างเท่ากัน นักเรียนซึ่งอ่อนในด้านใดด้านหนึ่งอาจใช้ความสามารถพิเศษด้านอื่นของตนช่วยให้งานสำเร็จได้ไม่แพ้ผู้อื่นอีกทั้งการเรียนการสอนสาระที่ 1 ทัศนศิลป์ ควรใช้การเรียนสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และสอดคล้องกับบริบทของชุมชน โดยให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน การเรียนการสอนควรมุ่งที่ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ โดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกัน และความคิดสร้างสรรค์นี้ประกอบด้วย ความคล่องในการคิด ความคิดยืดหยุ่น และความคิดที่เป็นของตนเองโดยเฉพาะหรือความคิดริเริ่ม การเรียนมุ่งส่งเสริมทักษะกระบวนการทำงาน การลงมือทำงานด้วยตนเองโดยมุ่งเน้นการฝึกวิธีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการทำงานเป็นรายบุคคล การทำงานเป็นรายกลุ่ม ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ การวิเคราะห์งาน การวางแผนในการทำงาน การปฏิบัติงานและการประเมินผลงาน
2. การร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ใช้รูปแบบ PAT Modelประกอบด้วย1) ขั้นเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ (Preparing : P) 2) การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning : A) 3) การถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation : T)ส่วนการตรวจสอบรูปแบบมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก การทดสอบค่าประสิทธิภาพขั้นทดลองภาคสนาม พบว่ามีประสิทธิภาพ80.14/80.67สามารถนำรูปแบบไปใช้เป็นเครื่องมือในการทดลองขั้นต่อไป
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6ได้ค่าประสิทธิภาพ82.41/83.46
4.การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานศิลปะ เรื่อง เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์เชิงพื้นที่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (สาระทัศนศิลป์) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
1) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) การประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนในการสร้างผลงานอยู่ระดับมาก
3) การประเมินทักษะการเรียนรู้โครงงานศิลปะ ของนักเรียนอยู่ระดับมาก
4) การประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก