รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถการรู้ค่าของเงิน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล โดยชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
ชื่อผู้วิจัย นายชาญณรงค์ ทองรักษ์
ทักษะ วิชาการ รหัสทักษะ 22105 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 10 วรรคสาม ระบุว่า การจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง นอกจากนี้ยังได้ระบุความมุ่งหมาย หลักการ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา รูปแบบการศึกษา การบริหารและการจัดการศึกษา มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา ทรัพยากรการลงทุน และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งกำหนดให้จัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือบุคคลทุพพลภาพซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โดยรัฐต้องจัดให้ตั้งแต่แรกเกิดหรือเมื่อพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ได้รับบริการทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงตามศักยภาพ (ราชกิจจานุเบกษา, 2542 : 4)
จากกฎหมายดังกล่าว การพัฒนาคนพิการในปัจจุบันจึงดำเนินการภายใต้หลักของสิทธิและความเสมอภาคในการได้รับการพัฒนาอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นเฉพาะบุคคลและหลักของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการจึงได้กำหนดแผนการดำเนินงานและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการจึงมอบหมายให้ศูนย์การศึกษาพิเศษ จัดการศึกษาแก่เด็กพิการ รวมทั้งการจัดสื่อ เทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาสำหรับเด็กพิการ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2552 : 23)
ในปัจจุบันการดำเนินชีวิตความเป็นต้องมีการซื้อขายสินค้าและบริการเข้ามาเพื่อให้ได้ความต้องการ สินค้าและบริการ ซึ่งการที่จะได้สินค้าต้องให้เงินมาแลกกับความต้องการสินค้าต่าง ๆ ดังนั้น การรู้ค่าของเงินจึงมีความจำเป็นที่ต้องให้นักเรียนที่ความบกพร่องทางสติปัญญา สามารถที่จะนำเงินไปใช้จ่ายเพื่อแลกกับความต้องการ และช่วยในการดำเนินชีวิต
ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษานวัตกรรมชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร เข้ามาใช้ใน การเรียนรู้ค่าของเงินของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนภูเก็ตปัญญา นุกูล ให้เพิ่มสูงขึ้น
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการรู้ค่าของเงิน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล ก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล จำนวน 4 คน
ตัวแปรที่ใช้ศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถการรู้ค่าของเงิน
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล จำนวน 4 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
ประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบ
1.1 กำหนดแบบทดสอบ จำนวน 20 ข้อ
1.2 แบบทดสอบก่อนการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบ ก่อนการนำชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรเข้ามาใช้
1.3 แบบทดสอบหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบ หลังการนำชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
1.4 เกณฑ์การตัดสินในการประเมินคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร ดังนี้
คะแนน 16 20 หมายถึง ดีมาก
คะแนน 11 15 หมายถึง ดี
คะแนน 6 10 หมายถึง พอใช้
คะแนน 0 5 หมายถึง ปรับปรุง
1.5 แบบทดสอบหลังกิจกรรมจำนวน 3 ชุด
2. แผนการจัดกิจกรรม
- แผนการจัดกิจกรรมการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
ประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน จำนวน 3 แผนกิจกรรมแต่ละกิจกรรมใช้เวลา 50 นาที จัดกิจกรรมทั้งหมดเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน
ซึ่งในแผนการจัดกิจกรรมจะมีความสอดคล่องกับชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร มีจำนวน 3 ชุด ๆ ละ 1 กิจกรรม รวมเป็น 3 กิจกรรม
3.ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
ชุดที่ 1 ชุดเงินเหรียญ จะประกอบด้วยแผนกิจกรรม 1 แผน
ชุดที่ 2 ชุดเงินธนบัตร จะประกอบด้วยแผนกิจกรรม 1 แผน
ชุดที่ 3 ชุดเงินเหรียญและธนบัตร จะประกอบด้วยแผนกิจกรรม 1 แผน
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้แบบการวิจัยในการทดลองครั้งนี้เป็นแบบวิจัยเชิงทดลอง ผู้วิจัยจะดำเนิน การทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ 2538) ดังนี้
E T1 X T2
เมื่อ
E แทน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนภูเก็ตปัญญา นุกูล
T1 แทน แบบทดสอบก่อนเรียน
X แทน การสอนโดยใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
T2 แทน แบบทดสอบหลังเรียน
3.2 ขั้นดำเนินการทดลอง
3.1 การทดลองนี้เป็นกระบวนการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร โดยการใช้แผนจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาการรู้ค่าของเงิน
3.2 ผู้วิจัยให้เด็กทำแบบทดสอบการรู้ค่าของเงินก่อนการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
3.3 เริ่มทำการทดลองโดยผู้วิจัยตั้งเวลาในการทดลองเป็นเวลา 50 นาที
3.4 ดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรม
3.3 ขั้นหลังการทดลอง
เป็นการนำผลการทดลองมาพิจารณา หากมีข้อบกพร่อง ผู้วิจัยจะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป
4. การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. นำผลที่ได้ก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรมาทำการเปรียบเทียบผลที่ได้ ว่าอยู่ในระดับใด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ
1. ร้อยละ
2. ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545)
เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ย
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
แทน จำนวนคนทั้งหมดในกลุ่มเป้าหมาย
ผลการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1.ภายหลังจากที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลและผลการทำแบบทดสอบการรู้ค่าของเงินและผลการการใช้ ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ดังต่อไปนี้
2.นำข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบการรู้ค่าของเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 4 คน นำมาเปรียบเทียบหาความแตกต่างของการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
3.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 4 คน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา นักเรียนมีความสามารถในการรู้ค่าของเงินเหรียญและธนบัตรได้ มีความสนใจตั้งใจและมีความขยันเรียนเป็นอย่างดี
4.ผลการวิจัยการพัฒนาความสามารถด้านวิชาการ เรื่อง การรู้ค่าของเงิน โดยชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร นักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล
5.แบบทดสอบ กำหนดแบบทดสอบ จำนวน 20 ข้อ
5.1 แบบทดสอบก่อนการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
ผู้วิจัยและดำเนินการทดสอบการรู้ค่าของเงิน จากแบบทดสอบก่อนการนำชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรเข้ามาใช้
5.2 แบบทดสอบหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
ผู้วิจัยและดำเนินการทดสอบการรู้ค่าของเงิน จากแบบทดสอบหลังการนำชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรเข้ามาใช้
เกณฑ์การตัดสินในการประเมินคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน ดังนี้
คะแนน 16 20 หมายถึง ดีมาก
คะแนน 11 15 หมายถึง ดี
คะแนน 6 10 หมายถึง พอใช้
คะแนน 0 5 หมายถึง ปรับปรุง
ตารางที่ 1 แสดงคะแนนการทดสอบจากชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 3 ครั้ง รวม 9 ครั้ง พร้อมการใช้แผนการจัดกิจกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2
คนที่ แบบทดสอบ 1
เงินเหรียญ (5) แบบทดสอบ 2
เงินธนบัตร (24) แบบทดสอบ 3
เงินเหรียญและธนบัตร (14)
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1 1 2 4 7 16 20 5 8 12
2 2 2 5 8 18 21 6 7 12
3 1 3 4 6 19 22 5 8 11
4 1 3 4 9 21 22 5 11 13
1.25 2.5 4.25 7.5 18.5 21.25 5.25 8.5 12
จากตารางที่ 1 เป็นการแสดงผลการทำแบบทดสอบระหว่างการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 3 ครั้ง รวม 9 ครั้ง ซึ่งผลการทดสอบพร้อมการใช้แผนนักเรียนมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
พบว่า นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาทั้ง 4 คนมีผลการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจาก การนำชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรเข้ามาใช้ ส่งผลให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าเรื่องค่าของเงินเพิ่มมากขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ภาพที่ 1 แสดงคะแนนความสามารถในเรียนรู้ค่าของเงินหลังจากการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร ชุดที่ 1 เงินเหรียญ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน
จากแผนภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่า คะแนนความสามารถการเรียนรู้ค่าของเงิน ชุดที่ 1 เงินเหรียญ ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการเรียนรู้ค่าของเงิน ดีขึ้นเห็นได้จากคะแนนรายบุคคลและภาพรวมจากคะแนนของทุกคนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ภาพที่ 2 แสดงคะแนนความสามารถในเรียนรู้ค่าของเงินหลังจากการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร ชุดที่ 2 เงินธนบัตร นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน
จากแผนภาพที่ 2 แสดงให้เห็นว่า คะแนนความสามารถการเรียนรู้ค่าของเงิน ชุดที่ 2 เงินธนบัตร ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการเรียนรู้ค่าของเงิน ดีขึ้นเห็นได้จากคะแนนรายบุคคลและภาพรวมจากคะแนนของทุกคนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ภาพที่ 3 แสดงคะแนนความสามารถในเรียนรู้ค่าของเงินหลังจากการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร ชุดที่ 3 เงินเหรียญและธนบัตร นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน
จากแผนภาพที่ 3 แสดงให้เห็นว่า คะแนนความสามารถการเรียนรู้ค่าของเงิน ชุดที่ 3 เงินเหรียญและธนบัตร ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการเรียนรู้ค่าของเงินดีขึ้นเห็นได้จากคะแนนรายบุคคลและภาพรวมจากคะแนนของทุกคนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ภาพที่ 4 แสดงคะแนนความสามารถในเรียนรู้ค่าของเงินหลังจากการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร ชุดที่ 1-3 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน
จากแผนภาพที่ 4 แสดงภาพรวมให้เห็นว่า คะแนนความสามารถการเรียนรู้ค่าของเงินทั้ง 3 ชุด ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการเรียนรู้ค่าของเงินดีขึ้นเห็นได้จากคะแนนรายบุคคลและภาพรวมจากคะแนนของทุกคนมีพัฒนาการด้านการรู้ค่าของเงินเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบระดับคะแนนการทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
คนที่ ทดสอบก่อน T1
(20 คะแนน) ทดสอบหลัง T2
(20 คะแนน) ผลต่าง
1 8 18 10
2 7 17 10
3 7 18 11
4 9 19 10
7.75 18
จากตารางที่ 2 เป็นการแสดงผลการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 หลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรสูงกว่าก่อนใช่ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร มีค่าเฉลี่ยก่อนการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน 7.75 หลังการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน 18
ภาพที่ 5 แสดงผลการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 หลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรสูงกว่าก่อนใช่ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน
จากแผนภาพที่ 4 แสดงให้เห็นว่า คะแนนความสามารถการเรียนรู้ค่าของเงิน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา จำนวน 4 คน มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการเรียนรู้ค่าของเงินดีขึ้นเห็นได้จากคะแนนรายบุคคลและภาพรวมจากคะแนนของทุกคนมีพัฒนาการด้านการรู้ค่าของเงินก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรเพิ่มขึ้น
อภิปรายผลวิจัย
จากการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาความสามารถในการรู้ค่าของเงิน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โดยการนำการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรร่วมกับแผนการจัดกิจกรรม เข้ามาใช้ในการเพิ่มความสามารถในการรู้ค่าของเงิน
นักเรียนคนที่ 1 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 มีความสามารถใน การรู้จักตัวเลข สามารถซื้อสินค้าได้ แต่ไม่รู้ราคาและจำนวนเงินที่ต้องจ่าย ทางผู้วิจัยจึงสร้างนวัตกรรมชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรร่วมกับแผนการจัดกิจกรรมเข้าใช้ในการพัฒนาการรู้ค่าของเงิน ผลการวิจัยปรากฏว่านักเรียนมีความสามารถในการรู้ค่าของเงินเพิ่มสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร และยังสามารถซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้อง
นักเรียนคนที่ 2 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 มีความสามารถใน การอ่าน การเขียน พูดโต้ตอบได้ดี สามารถซื้อสินค้าได้แต่ไม่สามารถรู้จักการทอนเงินได้ ทางผู้วิจัยจึงสร้างนวัตกรรมชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรร่วมกับแผนการจัดกิจกรรมเข้าใช้ในการพัฒนาการรู้ค่าของเงิน ผลการวิจัยปรากฏว่านักเรียนมีความสามารถในการรู้ค่าของเงินเพิ่มสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
นักเรียนคนที่ 3 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 มีความสามารถใน การอ่านตัวเลข อ่านค่านาฬิกา ไม่รับเงินทอนตอนซื้อสินค้า ทางผู้วิจัยจึงสร้างนวัตกรรมชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรร่วมกับแผนการจัดกิจกรรมเข้าใช้ในการพัฒนาการรู้ค่าของเงิน ผลการวิจัยปรากฏว่านักเรียนมีความสามารถในการรู้ค่าของเงินเพิ่มสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร และยังสามารถซื้อสินค้าและรับเงินทอนได้อย่างถูกต้อง
นักเรียนคนที่ 4 นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 มีความสามารถใน การรู้จักตัวเลข การบวก สามารถซื้อสินค้าได้ ไม่สามารถรับเงินทอนเมื่อซื้อสินค้าได้ ทางผู้วิจัยจึงสร้างนวัตกรรมชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรร่วมกับแผนการจัดกิจกรรมเข้าใช้ในการพัฒนาการรู้ค่าของเงิน ผลการวิจัยปรากฏว่านักเรียนมีความสามารถในการรู้ค่าของเงินเพิ่มสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร และยังสามารถซื้อสินค้าได้อย่างถูกต้อง
ซึ่งจะเห็นได้ว่าแบบทดสอบก่อนการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร นักเรียนมีผลการทดสอบ ที่ต่ำกว่าและการทำแบบทดสอบหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรที่มีระดับคะแนนเพิ่มสูงขึ้น แสดงในเห็นว่านักเรียนมีความพัฒนาการรู้ค่าของเงิน เพิ่มสูงขึ้นหลังการใช้ชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตรแผนการจัดกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
การเพิ่มความสามารถในการรู้ค่าของเงิน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ควรจะต้องมีการทำวิธีการสร้างนวัตกรรมที่มีความแปลกใหม่ที่หลากหลาย ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้และความเข้าใจ รวมถึงความสนใจที่ต้องการใช้นวัตกรรมชุดกล่องหรรษาเงินเหรียญและธนบัตร
ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัย
ผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลของนักเรียนให้มากเพื่อเพิ่มความรู้และสร้างความเข้าใจในวิธีการวิจัยมากขึ้น
ผู้วิจัยจะต้องศึกษารูปแบบของการจัดเรียงข้อมูลในการวิจัยให้ถูกต้องเพื่อจะทำให้ผู้อ่านเข้าขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในงานวิจัยมากขึ้น