ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายอิทธินันท์ พันธ์รัตน์
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research and development)
4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบ
การสอน ขั้นที่ 2 การสร้างรูปแบบการสอน ขั้นที่ 3 การทดลองรูปแบบการสอน ขั้นที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ความต้องการและแนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 20 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์ เรื่อง สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความเหมาะสมของร่างรูปแบบการสอนตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 34 ข้อ 2) แบบสอบถามความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์
เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบทดสอบทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ข้อ
3. เพื่อทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือ
ที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ข้อ 3) คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์
เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจ
ของนักเรียนต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 ข้อ
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ พบว่า
1.1 องค์ประกอบของรูปแบบมี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์
3) กระบวนการสอน 4) หลักการตอบสนอง 5) ระบบสังคม 6) ระบบสนับสนุน กระบวนการสอน
ตามรูปแบบของผู้วิจัย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการสอน (Preparing) ขั้นศึกษาความรู้ (Educating) ขั้นแก้ปัญหา (Solving) ขั้นสรุปความรู้ (Concluding)
1.2 ความต้องการในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.3 การจัดการเรียนรู้ที่ใช้ส่วนมากจะใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้โดยการบรรยาย ปัญหาคือนักเรียนยังยึดติดกับการเรียนการสอนที่เน้นการบอกให้จำให้จด มากกว่าการเรียนการสอนที่เน้นทักษะกระบวนการ ครูผู้สอนไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน มีเทคนิคการสอนไม่หลากหลาย เน้นให้นักเรียนท่องจำสูตร มิได้ปลูกฝังให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา ครูต้องการพัฒนาตนเองในด้านการสอนและเทคนิคการสอนใหม่ๆ โดยเฉพาะการเรียนรู้จากการกระทำและการปฎิบัติ หรือการสอนแบบ Active Learning
2. การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการสอน 4) หลักการตอบสนอง 5) ระบบสังคม 6) ระบบสนับสนุน กระบวนการสอนตามรูปแบบของผู้วิจัย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมการสอน (Preparing) ขั้นศึกษาความรู้ (Educating) ขั้นแก้ปัญหา (Solving) ขั้นสรุปความรู้ (Concluding)
ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของคู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)
เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของกลุ่มทดลองใช้ ทดลองแบบรายบุคคล มีค่าประสิทธิภาพ 62.08/61.11
การทดลองแบบกลุ่มเล็ก มีค่าประสิทธิภาพ 72.25/71.33 การทดลองแบบภาคสนาม มีค่าประสิทธิภาพ 81.38/80.33 เป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้คือ 80/80
3. ผลการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะ
การคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
3.1 ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีค่าเท่ากับ 84.14/83.44 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 นักเรียนมีทักษะในการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active learning) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาโลโก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก