ชื่อเรื่อง : รายงานการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์โดยใช้นิทานเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนา
ทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (3 ขวบ) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
บ้านคูสระ
ชื่อผู้ศึกษา : นางทัศนียา อรรคบุตร
หน่วยงานที่สังกัด : ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคูสระ องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ในระหว่างการจัดประสบการณ์การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยใช้นิทานเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนา
ทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (3 ขวบ) และเปรียบเทียบความพร้อมทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ โดยใช้นิทานเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1 กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 1 (3 ขวบ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคูสระ อำเภอราษีไศล องค์การบริหารส่วนตำบลไผ่ จำนวนทั้งหมด 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้นิทานเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนา
ทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 32 แผน 2) นิทานเสริมประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 8 เรื่อง 3) แบบทดสอบวัดความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ จำนวน 1 ชุด ที่มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.45 - 0.80 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.30 - 0.75 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ผลข้อมูลโดยการแจงนับคะแนน หาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางประกอบคำบรรยาย
ผลการศึกษาพบว่า
1. เด็กมีพฤติกรรมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ในระหว่างการจัดประสบการณ์
โดยใช้นิทานเสริมประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย คือ
มีพัฒนาการสูงขึ้นอยู่ในระดับคุณภาพดี ทั้งหมด 8 ด้าน ดังนี้
1) การจับคู่ มีค่าคะแนนเฉลี่ย (µ) 2.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 1.52
2) จำนวน มีค่าคะแนนเฉลี่ย (µ) 2.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 1.65
3) การจัดกลุ่ม มีค่าคะแนนเฉลี่ย (µ) 2.10 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 1.27
4) การเปรียบเทียบ มีค่าคะแนนเฉลี่ย (µ) 2.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 1.11
5) ตำแหน่ง มีค่าคะแนนเฉลี่ย (µ) 2.64 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 1.02
6) การแบ่ง มีค่าคะแนนเฉลี่ย (µ) 2.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 0.73
7) รูปทรง มีค่าคะแนนเฉลี่ย (µ) 2.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 0.83
8) การจัดลำดับเหตุการณ์ มีค่าคะแนนเฉลี่ย (µ) 2.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 0.57
2. หลังจัดประสบการณ์เด็กมีคะแนนความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัด
ประสบการณ์ทุกคน จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน กล่าวคือ ก่อนการจัดประสบการณ์ความพร้อมทางคณิตศาสตร์เด็กมีค่าคะแนนเฉลี่ย (µ) 16.72 หรือร้อยละ 69.68 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 1.56 หลังการจัดประสบการณ์ความพร้อมทางคณิตศาสตร์เด็กมีค่าคะแนนเฉลี่ย (µ) 22.55 หรือร้อยละ 93.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 1.18 คิดเป็นคะแนนความก้าวหน้า เฉลี่ย 5.83 หรือร้อยละ 24.28 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 0.71 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนพบว่า เด็กมีความพร้อมทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์