ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) กลุ่มสาระการเรียนรู้
สุขศึกษาและพลศึกษาหน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา นางสารภี กาญจนะ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านป่ากอ
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านป่ากอ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ปีที่ทำการศึกษา ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและ พลศึกษา หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและ หาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สมมติฐานของการศึกษา บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านป่ากอ จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบทดสอบระหว่างเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คู่มือการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ ค่า t-test ผลการศึกษาสรุปได้ ดังนี้
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา หน่วยการเรียนรู้ความปลอดภัยในชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.44/83.89 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ค่าเฉลี่ยร้อยละ 47.78 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน ค่าเฉลี่ยร้อยละ 83.89 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.62