ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการเรียนรู้ทักษะงานซ่อมบำรุงเครื่องจักรกลเรื่อง การถอดประกอบชิ้นส่วน
เครื่องจักรกลโดยใช้ชุดสื่อการสอน วิชาซ่อมบำรุงเครื่องมือกลกลุ่ม ปวช 3/1 ,3/2
ชื่อผู้วิจัย : นาย จรัล สุตา
ประเภทผลงานวิชาการ : รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ปีที่จัดพิมพ์ : ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดสื่อการสอนวิชาซ่อมบำรุงเครื่องมือกล เรื่องวิธีการถอดการประกอบซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล สำหรับใช้ถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปวชปี่ที่ 3 กลุ่ม 3/1,3/2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาคปฏิบัติวิชาซ่อมบำรุงเครื่องมือกล เรื่อง การถอดประกอบซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของนักเรียนทั้งหมด (3 ) เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียน จากการใช้ชุดสื่อการสอนฝึกทักษะภาคปฏิบัติในรายวิชาซ่อมบำรุงเครื่องมือกล เรื่องการถอดประกอบซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกลสูงขึ้นและถอดประกอบอะไหล่อย่างถูกวิธี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ นักเรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช ) ชั้นปีที่ 3 กลุ่ม3/1 แผนกวิชาช่างกล
โรงงาน สาขางานเครื่องมือกล วิทยาลัยการอาชีพนครปฐมที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน
ที่ได้ จากการสุ่มแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่
1. ชุดสื่อการสอนวิชาซ่อมบำรุงเครื่องมือกล
2. แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ
3. เอกสารข้อมูลชุดสื่อการสอน ฝึกปฏิบัติในวิชาซ่อมบำรุงเครื่องมือกล
4. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่องการถอดประกอบซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล
5. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปวชปี่ที่ 3 กลุ่ม 3/1 ,3/2
ที่มีต่อรายการชุดสื่อการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า ( T-test )
ผลการวิจัย
1. ชุดสื่อการสอนวิชาซ่อมบำรุงเครื่องมือกล มีประสิทธิภาพ 83.62/83.70 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 80/80
2. การสรุปท้ายบทเรียนควรชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอไป เพราะการสรุป สาระสำคัญจะ
ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของบทเรียนมากยิ่งขึ้น
3. การนำเสนอด้านเนื้อหา ควรเป็นเรื่องของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ใช้ในระบบส่งกำลัง เช่น เฟือง โซ่ สายพาน เพลา
เป็นต้น ทั้งนี้เนื้อหาการนำเสนอควรคลอบคลุม และเป็นไปตามขั้นตอนที่เหมาะสม
4. ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองที่เรียนจากชุดสื่อการสอนฝึกปฏิบัติในวิชาซ่อมบำรุงเครื่องมือกลเรื่องการถอดประกอบ
ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปวชปีที่ 3 กลุ่ม 3/1 มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
5. ประสิทธิภาพของบทเรียนจากชุดสื่อการสอนฝึกปฏิบัติรายวิชาซ่อมบำรุงเครื่องมือกล สำหรับใช้ถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนระดับชั้นปวชปี่ที่ 3 กลุ่ม 3/1ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 85.00/81.50 ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการเรียนจากชุดสื่อการสอนค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.17 อยู่ใน ระดับดี