ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้
แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางประภาภรณ์ พงษ์สิน
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
ปีที่พิมพ์ 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน
จับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กาพย์เรื่อง
พระไชยสุริยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย 2 วิชาภาษาไทย 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน
ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3.2) เพื่อประเมินทักษะการอ่านจับใจความสำคัญที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะ
การอ่านจับใจความสำคัญ วิชาภาษาไทย 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
วิชาภาษาไทย 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี สภาพการปฏิบัติ และความต้องการการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 การสร้าง พัฒนา และทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ และระยะที่ 3 การทดลองการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนกลุ่มไตรพัฒนา อำเภอขุนหาญ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ศรีสะเกษ จำนวน 35 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ใช้ในการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนพรานวิบูลวิทยา จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง ( (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระยะที่ 4 การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้
แบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ
วิชาภาษาไทย 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้ t-test (Dependent Samples) และ t-test (Independent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอนภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปัญหาด้านครู พบว่า โรงเรียนมีกิจกรรมเสริมหลักสูตรมากทำให้มีเวลาสอนไม่เพียงพอและไม่มีเวลาในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน ครูได้รับมอบหมายให้ทำงานพิเศษมากทำให้การสอนไม่ต่อเนื่องส่วนสภาพปัญหาที่เกิดจากนักเรียน พบว่านักเรียนไม่ชอบเรียนเนื้อหาวรรณคดี ที่ต้องถอดคำประพันธ์จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนทำให้การเรียนไม่ต่อเนื่อง ความต้องการและข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาการจัดการเรียน การสอนวิชาภาษาไทย พบว่า ต้องการพัฒนาความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้จัด การเรียนการสอน ต้องการพัฒนาความรู้ด้านการวิเคราะห์หลักสูตร และ ต้องการพัฒนารูปแบบการสอนภาษาไทยที่เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและพื้นฐานของนักเรียน ปัญหาในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียน พบว่าครูให้อ่านเนื้อหาจับใจความสำคัญ แล้วถามรายบุคคลทุกครั้งทำให้เครียด ครูสอนบรรยาย ให้นักเรียนจดตามและครูให้ทำงานเดี่ยวมากเกินไปแต่ให้เวลาน้อย ความต้องการของนักเรียนในการเรียนวิชาภาษาไทยอย่างมีความสุขความสุข ควรใช้สื่อการสอนทางเทคโนโลยี เพื่อช่วยกระตุ้นความสนใจ ควรสร้างบรรยากาศในการเรียนให้สนุกสนาน เช่น เล่นเกม และ ควรพานักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน เช่น ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มี 8 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การเรียนรู้ด้วยการตั้งคำถาม (learning to Question) ขั้นที่ 2 ขั้นการเรียนรู้แสวงหาสารสนเทศ (Learning to Search) ขั้นที่ 3 ขั้นการเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ (Learning to Construct) ขั้นที่ 4 ขั้นการเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร (Learning to ommunicate) ขั้นที่ 5 ขั้นทดสอบย่อย (Test) ขั้นที่ 6 ขั้นหาคะแนนพัฒนาการ (Improvement score) ขั้นที่ 7 ขั้นการเสริมแรงด้วยการยกย่องทีมที่ได้รับรางวัล (Team Recognition) ขั้นที่ 8 ขั้นการเรียนรู้เพื่อตอบแทนสังคม (Learning to Service) โดยมีผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น บูรณาการกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีความเหมาะสมมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนแบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยชุดกิจกรรม วิชาภาษาไทย 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมประกอบการเรียน การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยชุดกิจกรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) เท่ากับ 82.69 และมีประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 82.57 ดังนั้น ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมประกอบการเรียนการจัดการเรียนรู้ แบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยชุดกิจกรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 82.69/82.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนแบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยชุดกิจกรรม วิชาภาษาไทย 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนแบบบันได 5 ขั้น โดยบูรณาการการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความสำคัญด้วยชุดกิจกรรม วิชาภาษาไทย 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก