การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมด้านการมีวินัย ด้านความซื่อสัตย์และความสามัคคีของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น และความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากรและความเหมาะสมของกิจกรรม ประเมินกระบวนการของโครงการกิจกรรมที่ดำเนินการและการติดตามโครงการ ประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเรื่องการมีวินัยความซื่อสัตย์และความสามัคคี นักเรียนที่มีวินัยความซื่อสัตย์และความสามัคคี ตลอดจน ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานครูเทศบาลโรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดโพธาวาส) เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2560 จำนวน 52 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 274 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 274 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน รวม 615 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม จำนวน 8 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ รวม 11 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงที่ใช้ t-test แบบไม่อิสระ ซึ่งผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็นพบว่าตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทุกประเด็นเรียงตามลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ กระบวนการบริบท ปัจจัยนำเข้า และผลผลิต ผลการประเมินรายประเด็นและรายตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินกระบวนการ พบว่า มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่าทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมิน คือกิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมินและการติดตาม คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์ประเมิน
2. ผลการประเมินบริบท พบว่า มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับ ดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่าทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการและความเป็นไปได้ของโครงการ
3. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่าทุกตัวชี้วัดมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย คือ ความเหมาะสมของบุคลากร และความเหมาะสมของกิจกรรม
4. ผลการประเมินผลผลิต พบว่า มีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัด พบว่าทุกตัวชี้วัดเมื่อผ่านการพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่านักเรียนมีความรู้เรื่องการมีวินัย ความซื่อสัตย์และความสามัคคี นักเรียนมีวินัย มีความซื่อสัตย์ และมีความสามัคคี หลังจากเข้าร่วมโครงการมีคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผ่านเกณฑ์การประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง พบว่ามีความเหมาะสมและผ่านเกณฑ์เมื่อพิจารณาเป็นรายตัวชี้วัดพบว่า ทุกตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมิน เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือความพึงพอใจของครู ความพึงพอใจของกรรมการสถานศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียน และความพึงพอใจของผู้ปกครอง
ข้อเสนอแนะ
1. ควรกำหนดพฤติกรรมนักเรียนเกี่ยวกับความมีวินัย ความซื่อสัตย์ และความสามัคคีเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักเรียนหีมีระดับคุณภาพที่สูงขึ้นและควรจัดกิจกรรมสนองความต้องการและความสนใจของนักเรียนให้หลากหลายมากขึ้น เพื่อสร้างแนวร่วมในการรณรงค์และเสริมสร้างด้านนี้ เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนต่อไป โดยให้คุณครูและบุคลากรทุกคนทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการและควรทำโครงการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอจริงจัง
2. ควรมีการศึกษาทบทวนและปรับปรุงตัวชี้วัดและรายการด้านบริบทและด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการให้สูงขึ้นและดำเนินการอย่างยั่งยืนตลอดไป