บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้
1. เพื่อศึกษาทางการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็ก (3 ขวบ) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
เทศบาลตำบลอัคคะคำ สังกัดเทศบาลตำบลอัคคะคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดแบบจิตปัญญา
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็ก (3 ขวบ)
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลอัคคะคำ สังกัดเทศบาลตำบลอัคคะคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดแบบจิตปัญญาประชาการที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็ก (3 ขวบ) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลอัคคะคำ สังกัด เทศบาลตำบลอัคคะคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 57 คนกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่เด็กปฐมวัยทั้งชายและหญิงอายุ 3-4 ปีที่กำลังเรียนอยู่ชั้นเด็กเล็ก (3 ขวบ) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลอัคคะคำ สังกัดเทศบาลตำบลอัคคะคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 29 คน ที่ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในคิดการแก้ปัญหาจำนวน 20 ข้อ แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดแบบจิตปัญญา จำนวน 24 แผน
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม สำเร็จรูปในการหา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนการความสามารถในการพูดสื่อความหมายก่อนและหลังจัดประสบการณ์การสร้างเรื่องด้วยภาพ โดยใช้ t - test แบบ Dependent Sample
ผลการศึกษา พบว่า
1. ความสามารถทางสังคมของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 ก่อนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดจิตปัญญามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ6.62 ( =6.62 , S.D. =1.44) คิดเป็นร้อยละ 33.08 หลังการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดจิตปัญญามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.96 ( =16.96, S.D = 1.22) คิดเป็นร้อยละ 84.81
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดจิตปัญญาความสามารถทางสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05