การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนา
บทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อพัฒนาและ
หาประสิทธิภาพของบทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3) เพื่อทดลองใช้บทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงบทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 6
นครเชียงราย จำนวน 36 คน รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental) แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลังการทดลอง (One Group Pretest Posttest Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 เรื่อง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาปฏิบัติการชีววิทยา 1 ว31243 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 80 ข้อ 3) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 4) แบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ 5) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 18 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน รายวิชาวิทยาศาสตร์ (05) เนื้อหาวิชาชีววิทยา ร่วมกับรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างปีการศึกษา 2551-2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 150 ข้อ เป็นข้อสอบที่มีสถานการณ์การทดลอง จำนวน 83 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 55.33 เมื่อพิจารณาต่อว่าถ้าจะนำข้อสอบที่มีสถานการณ์การทดลองมาพัฒนาเป็นบทปฏิบัติการทางชีววิทยานั้นได้เพียง 49 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 32.67
2. บทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.12/84.48 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
3. บทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีดัชนีประสิทธิผล มีค่า 0.62
4. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยบทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 47.72 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 67.58 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยบทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 16.42 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 23.94 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเท่ากับ 23.71 แสดงว่ามีทักษะทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยบทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 75.36 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 134.67 แสดงว่ามีจิตวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
7. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนรู้โดยใช้บทปฏิบัติการทางชีววิทยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบ ATLAS ตามแนวคิด Active Learning เพื่อประเมินผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่าระดับความพึงพอใจของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X ̅) เท่ากับ 4.73 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.42