ชื่อเรื่อง : การส่งเสริมกระบวนสร้างความรู้ด้วยตนเอง
เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบผังมโนทัศน์
ผู้วิจัย : นางกานต์นารี ธรรมครบุรี
ประเภทงานวิจัย : การวิจัยในชั้นเรียน
(กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ สาขาชีววิทยา 2561)
บทคัดย่อ
การส่งเสริมกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบผังมโนทัศน์ ได้ทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ทำการวิจัยในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 41 คน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยตรง จากแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมการเรียน แบบบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะทำกิจกรรม แบบประเมินผลงานนักเรียน และ การทำแบบทดสอบ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้สถิติหาค่า ร้อยละค่าเฉลี่ย และการบรรยายจากข้อมูล
ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่าสามารถจัดนักเรียนเข้ากลุ่มรายวิชาชีววิทยา เรื่อง โครงสร้างและ
หน้าที่ของพืชดอก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 สามารถแบ่งนักเรียนอกเป็น 3 กลุ่ม คือ นักเรียนที่เรียนเก่ง นักเรียนที่เรียนปานกลาง และ นักเรียนที่เรียนอ่อน และจัดนักเรียนเข้ากลุ่มแบบคละกันเป็นจำนวน 12 กลุ่ม และเมื่อสังเกตนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ของห้องให้ความร่วมมือใน การทำ กิจกรรม และพฤติกรรมในการทำงานกลุ่ม นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมินการทำงานกลุ่ม ถือว่าเป็นการส่งเสริม คุณลักษณะอันพึงประสงค์นักเรียนในด้านความเป็นผู้นำ รู้จัก ตัดสินใจ สร้างความไว้วางใจ รู้จักติดต่อสื่อสารและแก้ไขปัญหา และเรียนรู้อย่างมีความสุข
ผลการวิจัยค่าเฉลี่ยคะแนนของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเมื่อใช้การ
ส่งเสริมกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ รูปแบบการสอนแบบผังมโนทัศน์ พบว่าคะแนนของนักเรียนมีค่าเพิ่มขึ้น โดยในกลุ่มเก่งมีค่าเฉลี่ยของคะแนน อยู่ในช่วง 7.08 กลุ่มที่มีคะแนนปานกลาง มีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 7.63 และกลุ่มอ่อน มีคะแนนเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นอยู่ในช่วง 10.07 และค่าเฉลี่ยคะแนนของนักเรียนทั้งหมดมีค่าเพิ่มขึ้น 8.26 คะแนน
ดังนั้นการส่งเสริมกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืช
ดอกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบผังมโนทัศน์ เป็นพัฒนาการเรียนการสอนให้นักเรียนได้รู้จักรวบรวมวามคิดและสรุปความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติเอง ทำให้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องโครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอกสูงขึ้นและยังเป็นการส่งเสริมการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ในด้านการรู้จักวิเคราะห์ สังเคราะห์ความรู้ และเรียนรู้อย่างมีความสุข