ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญา
ของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม
ผู้วิจัย นางเจียมจิตร สีสันต์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา โรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ในการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 4) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) มีขั้นตอน 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ และความต้องการในการพัฒนา และข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตร และสภาพการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบัน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม การสังเคราะห์รูปแบบจากการศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยในระยะที่ 1 มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็นกรอบแนวคิดรูปแบบการสอนคิด และการประเมินรูปแบบการสอนคิด ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการสอนคิด โดยทดลองกับครู และนักเรียนโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ระยะที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญา
ของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม โดยผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหาร ครู จำนวน 32 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 6 ที่ร่วมกิจกรรม การสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 469 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้ผู้บริหาร ครู และนักเรียนทั้งหมดในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบฯ และคู่มือการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญา ของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 2.1) แบบประเมินสมรรถนะการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 27 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 - 0.84 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 2.2) แบบประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 25 ข้อ
มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
การวิจัยครั้งนี้ สรุปผลการวิจัยได้ดังต่อไปนี้
1. สภาพการจัดการเรียนรู้ในการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม พบว่า พหุปัญญา ประกอบด้วย 1) ด้านภาษา 2) ด้านตรรกะ 3) ด้านมิติสัมพันธ์ 4) ด้านดนตรี 5) ด้านร่างกาย 6) ด้านความเข้าใจผู้อื่น 7) ด้านการเข้าใจตนเอง 8) ด้านธรรมชาติ และ 9) ด้านการคงอยู่ของชีวิต ส่วนในการสอนคิดและการเสริมสร้างพหุปัญญา พบว่า โรงเรียนมีหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล แต่ยังไม่มีรูปแบบที่เป็นรูปธรรมที่สามารถนำไปปฏิบัติ ยังขาดการนำเนื้อหาและกิจกรรมในแต่ละสาระการเรียนรู้มาบูรณาการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School ครูยังขาดแรงจูงใจ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะ
ในการสอนคิด
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่
1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) กระบวนการจัดการเรียนรู้
ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 4.1) ขั้นการระบุปัญหา (Identify the problem) 4.2) ขั้นวางแผนพัฒนา (Plan) 4.3) ขั้นปฏิบัติการ(Do) และ 4.4) ขั้นสรุปองค์ความรู้และนำเสนองาน (Conclusion) และ 5) การวัดและประเมินผล มีผลการแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับ
มากที่สุด ( = 4.57, = 0.64)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้
3.1 ผลการประเมินสมรรถนะการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School
เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, = 0.63)
3.2 ผลการประเมินพหุปัญญาของนักเรียนโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ประกอบด้วย
1) ด้านภาษา 2) ด้านตรรกะ 3) ด้านมิติสัมพันธ์ 4) ด้านดนตรี 5) ด้านร่างกาย 6) ด้านความเข้าใจผู้อื่น 7) ด้านการเข้าใจตนเอง 8) ด้านการเข้าใจธรรมชาติ 9) ด้านการคงอยู่ของชีวิต ในภาพรวม
อยู่ในระดับมาก ( = 4.53, = 0.64)
4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการสอนคิดตามแนวทาง Thinking School
เพื่อเสริมสร้างพหุปัญญาของครูโรงเรียนกันทรอมวิทยาคม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, = 0.63)