จุฑามาศ ลีลาวัฒนพาณิชย์. 2562. การพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล โดยรูปแบบ Inquiry Cycle 5 E
บทคัดย่อ
การพัฒนาการเรียนการสอนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2/1 ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนนครราชสีมา ปัญญานุกูล มีทักษะการอ่านสูงขึ้นหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอน CIPPA MODEL Inquiry Cycle 5 E และ Concept Attainment Model 2) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนนักเรียนที่บกพร่องทางสติปัญญา โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนบกพร่องทางสติปัญญาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1โรงเรียนนครราชสีมาปัญญานุกูล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 14 คน โดยสอนเรื่องมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา แม่กง กม เกย เกอว การพัฒนาการเรียนการสอนในครั้งนี้ ใช้รูปแบบการสอน 3 รูปแบบคือ CIPPA MODEL Inquiry Cycle 5 E และ Concept Attainment Model
ผลการสอนพบว่า
1. นักเรียนมีความตั้งใจเรียนมากขึ้น มีความกล้าแสดงออกสามารถคิดด้วยตนเองและวางแผนการทำงานเป็นทีมได้
2. นักเรียนจดจำคำศัพท์พร้อมบอกความหมายของคำได้เร็วขึ้น สามารถอ่าน เขียน ได้ด้วยตนเองมากขึ้น
3. นักเรียนสนุกกับการเรียน และให้ความร่วมมือกับกิจกรรมที่ครูจัด
4. มีนักเรียนใหม่ มีลักษณะเป็นออทิสซึม ชื่นชอบการจัดการเรียนการสอนของครู ส่งผลให้รีบขึ้นห้องเรียน และมีความสุขกับการเรียนมาก
5. นักเรียนได้ทราบผลคะแนนของตัวเองที่ชัดเจน ส่งผลให้นักเรียนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนและการทำผลงานของตนเอง
6. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ CIPPA MODEL เป็นการจัดการเรียนการสอนี่เป็นขั้นตอนชัดเจน นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกคน ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่ดีของนักเรียนเป็นอย่างมาก
7. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ Inquiry Cycle 5 E เนื่องจากเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเน้นกระบวนการกลุ่ม จึงทำให้นักเรียนสนุกกับการเรียน การค้นหาคำตอบด้วยตนเอง อาจได้คำตอบที่ไม่ถูก แต่ส่งผลให้นักเรียนได้มีกระบวนการคิดที่มากขึ้นและจดจำสิ่งที่ถูกต้องได้เร็วขึ้น
8. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบ Concept Attainment Model เป็นกระบวนการที่ให้ผู้เรียนได้คิดด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ผู้เรียนขาดความมั่นใจในการตอบ และสับสนในคำตอบ เมื่อครูถามเพิ่มมากขึ้น นักเรียนจำนวน50% ที่เข้าใจและสามารถตอบคำถามครูได้ถูกต้อง แต่นักเรียนอีก 50% เกิดความสับสนนำเรื่องที่เรียนไปแล้วมาปนกับเรื่องใหม่ที่ครูจะสอน และตอบตามเพื่อน