โรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก ตำบลศรีเตี้ยอำเภอบ้านโฮ่ง
จังหวัดลำพูนสังกัดสำนักงานพื้นที่เขตการศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓๕ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีนักเรียนในโรงเรียนที่มีพื้นฐานความรู้ระดับกลางถึงต่ำ จากผลการทดสอบระดับชาติของ นักเรียน (O-Net) ทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีผลการทดสอบต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยของประเทศทั้ง 2 ระดับ สภาพแวดล้อมภายนอกมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางบวกต่อโรงเรียนคือ ชุมชนมี วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ มีแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีมีถนนลาดยางเชื่อมโยง ทุกหมู่บ้าน นอกจากนี้ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เปิดโอกาสให้ชุมชนและองค์กรภายนอก มีส่วนในการจัดการศึกษาของโรงเรียน รวมทั้งกำหนดนโยบาย การจัดการศึกษาส่งผลให้โรงเรียนจัดการศึกษาที่สนองต่อความต้องการของท้องถิ่น อุปสรรคที่สำคัญคือ สถานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครองซึ่งมีอาชีพรับจ้างทั่วไปและเป็น เกษตรกร ผู้ปกครองต้องหาเช้ากินค่ำ ปัญหาจากสภาพสังคมในปัจจุบันมีแหล่งบันเทิง สถานบริการที่ไม่เหมาะสม การแพร่ระบาดของสารเสพติด ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกใช้สื่อที่ไม่เหมาะสม และนโยบายทางด้านการเมือง ที่ทำให้โรงเรียนมีงบประมาณในการจัดการศึกษาลดน้อยลง ส่วนปัจจัยทางด้าน เศรษฐกิจที่มีผลกระทบกับโรงเรียนคือ ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีโดยทั่วไป ทำให้มีเวลาอยู่กับลูกน้อย และมักทิ้งลูกให้อยู่กับปู่ย่า ตายาย ซึ่งดูแลไม่ทั่วถึง ทำให้ความประพฤติของนักเรียนเบี่ยงเบนไปง่ายยากต่อการ ควบคุมดูแล สภาพแวดล้อมภายในที่เป็นจุดแข็งของโรงเรียนคือ โครงสร้างและแผนนโยบายของโรงเรียนในด้าน สัมพันธภาพที่ดีกับชุมชน มีการบริหารงานภายในโรงเรียนอย่างมีระบบ มีการส่งเสริมการพัฒนาครูและบุคลากร จัด กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย อย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพทางด้าน การเงิน มีระบบการบริหารงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ด้านการบริหารจัดการ มีการจัดกิจกรรมสวัสดิการ และการสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากรตามโอกาสอย่างเหมาะสมทำให้บุคลากร เกิดความสมัครสมานสามัคคี ส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพ จุดอ่อนที่เป็นประเด็นปัญหา คือ โรงเรียนไม่สามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่หลากหลาย ครูยังไม่ค่อยปรับพฤติกรรมการสอน ครูมีภาระงานมาก ทำให้มีปัญหาในการจัดการเรียนการสอน นอกจากนี้งบประมาณในการบริหารจัดการไม่เพียงพอ ระบบการนิเทศและติดตามผลยังไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้การบริหารงานการดำเนินงานขาดประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าจึงได้ระดมสมองกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กับการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านโฮ่งรัตนวิทยา ได้วิเคราะห์ สังเคราะห์ร่วมกันของผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการชมรมศิษย์เก่า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นทางการศึกษาในสังคมแห่ง ศตวรรษที่ 21 ที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง โดยการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นั้น สถานศึกษาต้องพัฒนาผู้เรียนทั้งในด้านสาระวิชาหลัก และทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งประกอบด้วยทักษะการเรียนรู้และ นวัตกรรม ทักษะชีวิตและอาชีพ ทักษะด้านสารสนเทศ เทคโนโลยี ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารจึงเป็นภาระที่สำคัญต่อการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้บริหาร จะต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง พัฒนาตนเองให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันสมัย พัฒนาทีมงานให้ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ พัฒนากระบวนทัศน์ใหม่ให้เกิดขึ้นในองค์กรขับเคลื่อนด้วยยุทธศาสตร์การบริหารจัดการใหม่ๆ ส่งเสริมสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณสื่ออุปกรณ์ อย่างเพียงพอให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ของผู้ปฏิบัติ งานในองค์กรและนอกองค์กรให้ความสนใจต่อวัฒนธรรม องค์กรที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ปรับเปลี่ยนวิธีสอนของครูให้มีเทคนิคใหม่ๆ พัฒนาหลักสูตรส่งเสริมด้านเทคโนโลยีและการบูรณาการทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต รวมทั้งปรับ บทบาทในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เครือข่ายผู้ปกครอง ชมรมศิษย์เก่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในชุมชนท้องถิ่น สถานประกอบการ ที่จะส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
ข้าพเจ้าและทีมงานจึงได้คิดค้น นวัตกรรม Smart School Model ซึ่งเป็นรูปแบบ การบริหารงานโรงเรียนให้เกิดคุณภาพอย่างสมดุลรอบด้าน เพื่อให้ทั้ง ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน และนักเรียนได้มีการพัฒนาตนเองให้บรรลุตามเป้าหมายของสถานศึกษา อันจะส่งผลให้ผู้เรียนที่เป็นผลผลิต เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีความสามารถ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
Smart School Model ประกอบด้วย
๑. Smart Director ผู้บริหารก้าวไกลด้านวิชาการ
๒. Smart Teacher ครูเชี่ยวชาญด้านการสอน
๓. Smart Student นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์และมีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย
Smart Director
S = Supervision มีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ และนำผลการนิเทศ
ภายในมาพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน
M = Management มีระบบการบริหารจัดการภายในโรงเรียน และมีระบบการประกัน
คุณภาพในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
A = Academic เป็นผู้นำทางวิชาการ และมีการวางแผนด้านงานวิชาการอย่างเป็นระบบ
R = Research ใช้การวิจัยเป็นฐานในการบริหารโรงเรียน ส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน
T= Teamwork การทำงานเป็นทีม เป็นการทำงานโดยผู้บริหารโรงเรียนกระจายอำนาจ ให้ครู บุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงาน มีบรรยากาศในการทำงานที่เป็นแบบเปิด สร้างทีมงานที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีคุณภาพและสมรรถนะสูง ส่งเสริมการเรียนรู้ของทีมงานเพื่อขับเคลื่อน สู่โรงเรียนคุณภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
Smart Teacher
S = Skills มีทักษะและเทคนิคในการจัดการเรียนรู้ ใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตาม
หลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียน มีการใช้สื่อการเรียนการสอน
M = Mind มีจิตวิญญาณความเป็นครู มุ่งมั่น เสียสละ และมีความรับผิดชอบ
A = Assessment มีการวัดและประเมินผลอย่างเหมาะสมและหลากหลาย และ
มีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล
R = Research มีการวิจัยในชั้นเรียน มีนวัตกรรมในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
อย่างน้อย ๑ นวัตกรรม
T= Technology ใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีใน
การพัฒนาตนเอง เพื่อนำไปสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
Smart Student
S = Skills มีทักษะในการแสวงหาความรู้ ทักษะการทำงาน ทักษะการสื่อสาร
M = Moral มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
A = Achievement มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นตามเป้าหมาย
R = Reading Writing & Thinking มีทักษะการอ่าน การเขียน และคิดวิเคราะห์
T= Technology ใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้
ส่งผลให้ ผู้บริหารโรงเรียน ครู และนักเรียน มีการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี ได้รับรางวัลจากหน่วยงานต่างๆ และได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครอง ชุมชนโดยการส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนต่อในโรงเรียน และหน่วยงานภายนอก เช่น ผู้อำนวยการโรงเรียนมีการนิเทศภายในอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ มีระบบการบริหารจัดการภายในโรงเรียนที่มีคุณภาพ มีภาวะผู้นำทางวิชาการ ใช้การวิจัยเป็นฐานในการบริหารโรงเรียนและใช้ มีการทำงานเป็นทีม เป็นการทำงานโดยผู้บริหารโรงเรียนกระจายอำนาจ ให้ครู บุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงาน มีบรรยากาศในการทำงานที่เป็นแบบเปิดสร้างทีมงานที่มีความเข้มแข็ง ทางวิชาการ มีคุณภาพและสมรรถนะสูง ส่งเสริมการเรียนรู้ของทีมงานเพื่อขับเคลื่อนสู่โรงเรียนคุณภาพเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นต้น ส่วนครู ก็มีการพัฒนาตนเองให้มีทักษะและเทคนิคในการจัดการเรียนรู้ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีการวัดและประเมินผลอย่างเหมาะสมและหลากหลาย มีการวิจัยในชั้นเรียน และ ใช้สื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ส่วนนักเรียนก็มีการพัฒนาตนเองส่งผลให้ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีทักษะการอ่านการเขียน และคิดวิเคราะห์และใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้ในด้านต่างๆ จนเกิดประสิทธิผลกับโรงเรียนดังนี้
1) นักเรียนเป็นคนดี มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษา 8
ประการ มีจิตสำนึกสุจริต 5 ประการตามคุณลักษณะนักเรียนของโรงเรียนสุจริต และมีค่านิยมพื้นฐาน 12 ประการ
2) นักเรียนมีผลงานด้านศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ กีฬา นันทนาการ
3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกชั้นเรียน ผลการทดสอบระดับชาติ O-NET
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
4) โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับนักเรียนและประชาชน สามารถ
เรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่เพื่อพัฒนาการเรียนรู้อาชีพ วิถีชีวิตความเป็นไทย การพึ่งพาตนเอง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง
5) นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ที่เป็นสากล มีความพร้อมในการ
เป็นประชาคม อาเซียน มีการดำเนินงานตามกิจกรรมโรงเรียนอาเซียนสอนภาษาจีน ภาษาอังกฤษ
6) ผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นมืออาชีพ มีคุณภาพ
มาตรฐาน เป็นที่ยอมรับของชุมชนและสังคม ใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพงาน PDCA มีการกระตุ้นการทำงาน นิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงาน ครูทุกคนผ่านการอบรมและพัฒนาทั้งระบบ และผ่านการอบรมพัฒนาเพื่อพัฒนาตนเองมากกว่าคนละ ๒0 ชั่วโมงต่อปี
7) โรงเรียนได้รับการพัฒนาให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน มีบรรยากาศที่สะอาด ร่มรื่น
สวยงาม ปลอดภัย และเป็นโรงเรียนปลอดยาเสพติด พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ และลานกีฬาของชุมชน
8) โรงเรียนสร้างภาคีเครือข่ายร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่หลากหลายจาก
ทุกภาคส่วน
9) โรงเรียนมีการพัฒนาระบบบริหาร ระบบประกันคุณภาพภายใน สร้างและพัฒนา
นวัตกรรม การบริหารจัดการสู่การสู่การเป็นโรงเรียนคุณภาพ โดยใช้ Smart School Model มีผลงานเป็นที่พึงพอใจของชุมชน