บทคัดย่อ
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา ด้วยวิธีการสอนแบบ Total Communication and Cued Speech ให้แก่นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 12 คน
ผลการศึกษาก่อนวิจัยพบว่า
1. นักเรียนขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ไม่ค่อยใส่ใจเรียนเท่าที่ควร
2. นักเรียนยังไม่สามารถแสดงความคิดเห็นในเนื้อหาวิชาสังคมศึกษาได้
3. นักเรียนยังไม่สามารถสรุปเนื้อหาในวิชาที่ครูสอนได้
4. นักเรียนบางคนง่วงนอนขณะที่ครูสอน
5. นักเรียนบางคนยังไม่สามารถสะกดนิ้วมือจากคำศัพท์หรือประโยคที่ครูบอกได้
6. นักเรียนบางคนยังไม่สามารถอ่านเนื้อหาวิชาเรียนบางหน่วยการเรียนพร้อมทั้งยังไม่สามารถสรุปเนื้อหานั้นด้วยภาษามือได้
ผลการศึกษาหลังจากวิจัยพบว่า
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 จำนวน 12 คน มีการพัฒนาในด้านต่าง ๆก่อนการพัฒนา ดังนี้
1. นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียน มีความสุข และสามารถตอบสนองในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างดี
2. นักเรียนสามารถแสดงความคิดเห็นเชิงบวกและแสดงความคิดเห็นในเนื้อหาวิชาสังคมศึกษาได้ แต่ในบางหน่วยการเรียนครูจะต้องสอนเสริมทักษะให้แก่นักเรียน
3. นักเรียนสามารถสรุปเนื้อหาในวิชาที่ครูสอนได้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างในเนื้อหาหน่วยการเรียนได้
4. นายอิทธิพล กระจ่างรัตน์ ง่วงนอนขณะที่ครูสอนเป็นประจำ จากการหาสาเหตุจากครูหอพัก ไม่พบสาเหตุของอาการง่วงนอน เพราะนักเรียนเข้านอนตามเวลาที่ครูหอกำหนด แต่จากการไปเยี่ยมบ้านนักเรียนได้สอบถามผู้ปกครองพบว่านักเรียนนอนดึกเป็นประจำทุกวัน จึงทราบถึงสาเหตุการอาการง่วงนอนดังกล่าวแต่ก็ยังไม่สามารถสรุป
จาการจัดการเรียนการสอบแบบ Total Communication and Cued Speech พบว่านายอิทธิพล กระจ่างรัตน์ มีความกระตือรือร้นในการเรียน มีส่วนร่วมกับกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นอย่างดี อาการง่วงนอนขณะครูสอนก็ไม่เกิดขึ้น มีทักษะและองค์ความรู้เพิ่มเติมจากเดิม
5. นักเรียนร้อยละ 90 สามารถสะกดนิ้วมือไทยตามคำศัพท์หรือประโยคที่ครูบอกได้
6. นักเรียนร้อยละ 70 สามารถอ่านเนื้อหาวิชาเรียนบางหน่วยการเรียนได้แต่ในบางหน่วยยังจะต้องเพิ่มทักษะให้นักเรียนอย่างต่อเนื่อง