ชื่อผู้วิจัย นางสาววารุณี ทิพยะ
สอนวิชา ภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รหัสวิชา อ61101 ปีการศึกษา 2561
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดให้มีการวัดผลการเรียนรู้ของผู้เรียนไว้ 3 ระดับ คือ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา และระดับชาติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งในการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนที่จะต้องหาคำตอบว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทั้งด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ เนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใด ส่วนการประเมินผลระดับสถานศึกษาจะทำการประเมินเพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกคนที่เรียนในชั้นปีสุดท้ายของแต่ละช่วงชั้น คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET (Ordinary National Educational Test) เป็นการทดสอบเพื่อวัดความรู้และความคิดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประเมินตามมาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) เพื่อทดสอบความรู้และความคิดของนักเรียน 2) เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการจบการศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 3)เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน 4) เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชาติ และ 5) เพื่อนำผลการทดสอบไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น โดยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET นั้นทำการทดสอบจำนวน 4 กลุ่มสาระประกอบด้วย 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ และ 4) ภาษาอังกฤษ
ตามที่กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศ เรื่อง การใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2555 ให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ในสัดส่วน 80 : 20 และตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การปรับสัดส่วนการใช้ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนที่จบการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2556 ให้ใช้ผลการเรียนของผู้เรียนที่ประเมินโดยสถานศึกษาและผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ในสัดส่วน 70 : 30 ในปีการศึกษา 2557 และให้ใช้สัดส่วน 50 : 50 ในปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป รวมทั้งประกาศกระทรวงศึกษาธิการล่าสุด ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม 2559 เรื่องการปรับสัดส่วนการใช้ผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) เป็น 70 : 30
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) มีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งในการวัดและประเมินคุณภาพผู้เรียนและสถานศึกษา อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนามาตรฐานและคุณภาพของผู้เรียนตลอดจนนำไปสู่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ได้กำหนดค่าเป้าหมายในการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ในปีการศึกษา 2561 ได้แก่ 1) ผู้เรียนร้อยละ 70 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษบรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด และ 2) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3
จากสถิติผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนโรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ในปีการศึกษา 2552 -2558 มีค่าเฉลี่ยคะแนนอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ตามแผนภูมิด้านล่างนี้
แผนภูมิที่ 1 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2552 – 2560
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อให้ผู้เรียนมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง ในปีการศึกษา 2561 สูงขึ้นกว่าปีการศึกษา 2552 - 2559
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ประชากร
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การศึกษา 2561 โรงเรียนวัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง จำนวน 68 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนวัตกรรม
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบและแบบฝึก ดังนี้
1. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
2. แบบฝึกชุดที่ 1 ได้แก่ ทักษะการฟัง
3. แบบฝึกชุดที่ 2 ได้แก่ ทักษะการพูด
4. แบบฝึกชุดที่ 3 ได้แก่ ทักษะการอ่าน
5. แบบฝึกชุดที่ 4 ได้แก่ ทักษะการเขียน
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
ที่ รายการ วันที่ หมายเหตุ
1 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ชุด O-Net ปีการศึกษา 2560 29 พ.ย. 2561
การพัฒนาทักษะการฟัง
2 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ชุดทักษะการฟัง 3,6 ธ.ค. 2561
3 จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง 10 – 14 ธ.ค. 2561
4 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ชุดทักษะการฟัง 17 ธ.ค. 2561
การพัฒนาทักษะการพูด
5 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ชุดทักษะการพูด 19 ธ.ค. 2561
6 จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการพูด 20 – 21 ธ.ค. 2561
24 – 28 ธ.ค. 2561
7 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ชุดทักษะการพูด 2 ม.ค. 2561
การพัฒนาทักษะการอ่าน
8 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ชุดทักษะการอ่าน 3 ม.ค. 2561
9 จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน 7 – 11 ม.ค. 2561
14 – 15 ม.ค. 2561
10 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ชุดทักษะการอ่าน 16 ม.ค. 2561
การพัฒนาทักษะการเขียน
11 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ชุดทักษะการเขียน 17 ม.ค. 2561
13 จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน 21 – 23, 25 ม.ค. 2561
28 – 30 ม.ค. 2561
13 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ชุดทักษะการเขียน 31 ม.ค. 2561
14 นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ชุด O-Net ปีการศึกษา 2560 1 ก.พ. 2561
4. การวิเคราะห์ข้อมูล / สถิติที่ใช้ในการวิจัย
4.1 ใช้สถิติค่าเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหลักเรียน 4 ทักษะ ตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.2 การเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการพัฒนา 4 ทักษะ
ผลการวิจัย
การประเมินผลทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนของนักเรียนก่อนและหลังการพัฒนา จากเกณฑ์ที่กำหนดของแต่ละชุด
จากตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่าผลการประเมินผลทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนของนักเรียนหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นก่อนการพัฒนาทุกทักษะ โดยมีค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ ทักษะการอ่าน มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.24 รวม 4 ทักษะ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.32 ทักษะการเขียน มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.65 ทักษะการฟัง มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.82 และทักษะการพูด มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.32
อภิปรายผลการวิจัย
จากการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า หลังจากนักเรียนได้พัฒนาทักษะภาษอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ นักเรียนมีความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน มากยิ่งขึ้น โดยผลการประเมินผลทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนของนักเรียนหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นก่อนการพัฒนาทุกทักษะ
ทั้งนี้ เมื่อนำผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแล้ว ปีการศึกษา 2561 มาเปรียบเทียบกับผีการศึกษา 2552 – 2560 ปรากฎผล ดังนี้
โดยผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2561 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าทุกปีการศึกษา (2552 – 2560) ทั้งในระดับโรงเรียนและระดับชาติ ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2552 – 2560 และ ปีการศึกษา 2561
ปีการศึกษา 2561 ระดับโรงเรียน ระดับประเทศ
ปีการศึกษา 2552
- 2560 ค่าเฉลี่ย เทียบกับปี 2561 ปีการศึกษา 2552 - 2560 ค่าเฉลี่ย เทียบกับปี 2561
47.38 2552 26.05 +21.33 2552 31.75 +15.63
2553 14.96 +32.42 2553 20.99 +26.39
2554 25.36 +22.02 2554 38.37 +9.01
2555 29.15 +18.23 2555 36.99 +10.39
2556 28.35 +19.03 2556 33.82 +13.56
2557 31.78 +15.6 2557 36.02 +11.36
2558 34.69 +12.69 2558 40.31 +7.07
2559 29.45 +17.93 2559 34.59 +12.79
2560 36.63 +10.75 2560 36.34 +11.04
2561 - - 2561 39.24 +8.14
ข้อเสนอแนะ
ควรมีการศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์
การเผยแพร่/ การได้รับการยอมรับ/ รางวัลที่ได้รับ
ผู้วิจัยได้เผยแพร่ผลงานให้แก่ครูกลุ่มสาระภาษาอังกฤษและกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นนำไปปรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทั้งนี้ได้นำเสนอหลักการพัฒนาในวิจัยเล่มนี้แก่คณะครูและผู้บริหารในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2562