ผู้วิจัย นายจรัส ที่รัก
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สังกัด โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 (80/80) 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2.2 เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในช่วงเวลาระหว่างเรียน 3 ระยะ 2.3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 44 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการขยายผล คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีบริบทใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ 3) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้ 3.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3.2 แบบประเมินวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน 3.3 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
สรุปผลการวิจัย
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย มีชื่อว่า (PEPEP Model) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) การวัดและประเมินผล 5) ปัจจัยสนับสนุน และ 6) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 ตระหนักถึงปัญหา (Problem) ขั้นที่ 2 สำรวจและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Exploration and Information Search) ขั้นที่ 3 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา (Planning and Implement Solution) ขั้นที่ 4 ประเมินผลและปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา (Evaluation and Improvement) และขั้นที่ 5 นำเสนอผลการแก้ปัญหา (Presentation) โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PEPEP Model) ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 80.21/82.05 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลการประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21
ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในช่วงเวลาระหว่างเรียน 3 ระยะ มีพัฒนาการสูงขึ้น
2.3 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. หลังเรียนตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนกลุ่มขยายผล มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ในช่วงเวลาระหว่างเรียน 3 ระยะ มีพัฒนาการสูงขึ้น และมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด